Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1419
Title: Language characteristics and Social Ideology Presentations in Isan Ancient Laws
ลักษณะทางภาษากับการนำเสนออุดมการณ์ทางสังคมในกฎหมายโบราณอีสาน
Authors: Anchalee Rattanatham
อัญชลี รัตนธรรม
Rachan Nilawanapa
ราชันย์ นิลวรรณาภา
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: ภาษา
อุดมการณ์ทางสังคม
กฎหมายโบราณอีสาน
Language
social ideologies
Isan ancient laws
Issue Date:  14
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This study of social ideologies in Isan ancient laws aimed to 1) study patterns and contents in the Isan ancient laws 2) to study social ideologies appeared in the laws and 3) to study methodologies used in presenting the ideologies in the laws. Critical Discourse Analysis Methodology was used in analyzing the 21 translated Isan ancient laws in this study. Results of the study concluded that the Isan ancient laws consisted of 3 parts: introduction, body of content and the closing. Introduction of the laws were divided into 5 patterns: 1) beginning with effective date 2) beginning with name of law 3) beginning with a blessing 4) beginning with rationale and 5) beginning with penalty. The body of contents of the laws were divided into 4 categories according to their reinforcement: 1) privilege class and nobility related 2) monkhood related 3) civilian related and 4) penalty related. 6 closing patterns were found in the closing part of the Isan ancient laws: 1) closing with name of recorder 2) closing with number of palm leaf manuscripts 3) closing with importance of reinforcement remarks 4) closing with name of places the laws were made 5) closing with date, month, year the laws became effective, and 6) closing with part of a content of the laws. Language methodologies found in the Isan ancient laws were lexical choice, explanation, discourse practice and rhetoric. The lexical choice was categorized into 3 categories. The first one was of those 7 lexical implementations found in the introduction part of the laws 1) using of names and name calling 2) referring 3) using of blessing-related words 4) using of happiness-related words 5) using of justice-related words 6) using of royal command-related words and 7) using of penalty-related words. The second was of those 10 found in the body of content part of the laws 1) name calling and assigning 2) referring 3) mentioning newly-made law clauses 4) using of fair governance-related words 5) using of action-related words 6) using of words related to religious beliefs 7) using of words related to sacred items 8) using of words implying being respectful to elders 9) using of words accordingly to the calendar and 10) using of Pali and Sanskrit quotations. The third one was of those 7 lexical implementations found in the closing part of the laws 1) referring, 2) no additional closing 3) closing with number of palm leaf manuscripts used to record the laws 4) closing with indicative remarks for law implementation 5) using of words related to moral vows keeping and 7) closing with date the laws became affective. For the explanation of the laws, 4 methods were used: 1) narration 2) Buddhism principles implementation 3) background explanation and 4) detailed explanation. Discourse practices were implemented using 4 methods: 1) background-related 2) using of metaphors, storytelling, using of intertextuality. Lastly, the rhetoric was implemented in the Isan ancient laws through 3 methods: 1) punning, 2) using of proverbs, and 3) rhyming. The results of the study of social ideology presentations in the Isan ancient laws found 7 types of social ideologies: 1) ruler and subject related 2) religious 3) natural conservation 4) roles of gender 5) adult-child relation 6) supernatural and 7) nationalism. 3 discourse practices were found in the Isan ancient laws. They involved justice, goodness, and politics and governance. Social and cultural practices in the laws were related to 3 issues: beliefs of Isan people, their politics and governance, and ways of the people’s living.
การศึกษาอุดมการณ์ทางสังคมในกฎหมายโบราณอีสานมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบและเนื้อหาในกฎหมายโบราณอีสาน 2) เพื่อศึกษาอุดมการณ์ทางสังคมที่ปรากฏในกฎหมายโบราณอีสาน 3) เพื่อศึกษากลวิธีการนำเสนออุดมการณ์ในกฎหมายโบราณอีสาน จากกฎหมายโบราณอีสานที่ปริวรรตแล้วจำนวน 21 ฉบับ โดยใช้แนวคิดหลัก คือ แนวคิดวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ ผลการศึกษาพบว่ากฎหมายโบราณอีสานมีรูปแบบการนำเสนอตัวบทกฎหมายโดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การนำเสนอตัวบทส่วนต้น การนำเสนอตัวบทส่วนเนื้อหา และการนำเสนอตัวบทส่วนท้าย การนำเสนอตัวบทส่วนต้นพบว่ามี 5 ลักษณะ ได้แก่ 1) การขึ้นต้นด้วยการกล่าวถึงวันที่ตราของกฎหมาย 2) การขึ้นต้นด้วยการกล่าวถึงชื่อกฎหมาย 3) การขึ้นต้นด้วยการกล่าวถ้อยคำมงคล 4) การขึ้นต้นด้วยการกล่าวถึงมูลเหตุของเรื่อง และ 5) การขึ้นต้นด้วยการกล่าวถึงบทลงโทษ สำหรับ การนำเสนอตัวบทส่วนเนื้อหาจัดแบ่งเนื้อหาของกฎหมายโบราณอีสานโดยแบ่งตามลักษณะของการใช้งานได้เป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ 1) เนื้อหากฎหมายเกี่ยวกับเจ้านายและชนชั้นสูง 2) เนื้อหากฎหมายเกี่ยวกับพระสงฆ์ 3) เนื้อหากฎหมายเกี่ยวกับประชาชน 4) เนื้อหาเกี่ยวกับบทลงโทษ และการนำเสนอตัวบทส่วนท้ายพบว่ามีลักษณะการปิดท้าย 6 ลักษณะ ได้แก่ 1) ส่วนท้ายที่ระบุชื่อของผู้บันทึกกฎหมาย 2) ส่วนท้ายที่ระบุข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนใบลานที่ใช้บันทึกกฎหมาย 3) ส่วนท้ายที่เน้นย้ำให้ทุกคนปฏิบัติตามกฎหมาย 4) ส่วนท้ายที่ระบุสถานที่ตรากฎหมาย 5) ส่วนท้ายที่ระบุวัน เดือน ปี ที่ตรากฎหมาย และ 6) ส่วนท้ายที่กล่าวถึงเนื้อหากฎหมาย กลวิธีทางภาษาในกฎหมายโบราณอีสาน พบว่ามี กลวิธีทางศัพท์ กลวิธีการขยายความ กลวิธีทางวัจนปฏิบัติศาสตร์และวาทกรรม และกลวิธีทางวาทศิลป์ โดยแบ่งกลวิธีทางศัพท์ออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะที่ 1 กลวิธีทางศัพท์ที่ปรากฏในส่วนต้น พบว่ามี 7 วิธี ได้แก่ 1) การใช้ชื่อและการเรียกชื่อ 2) การอ้างถึง 3) การใช้ถ้อยคำมงคล 4) การใช้คำเกี่ยวกับความสุข 5) การใช้คำเกี่ยวกับความเป็นธรรม 6) การใช้คำเกี่ยวกับการรับสั่ง 7) การใช้คำเกี่ยวกับบทลงโทษ ลักษณะที่ 2 กลวิธีทางศัพท์ที่ปรากฏในส่วนเนื้อหา พบว่ามี 10 วิธีได้แก่ 1) การใช้ชื่อและการเรียกชื่อ 2) การอ้างถึง 3) การใช้คำเกี่ยวกับข้อกฎหมายใหม่ 4) การใช้คำเกี่ยวกับการปกครองอย่างเป็นธรรม 5) การใช้คำเกี่ยวกับการกระทำ 6) การใช้คำเกี่ยวกับความเชื่อทางพุทธศาสนา 7) การใช้คำเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ 8) การใช้คำเกี่ยวกับการให้ความเคารพผู้สูงกว่า 9)การใช้คำตามเวลาปฏิทิน 10) การใช้คำบาลี-สันสกฤต ลากเข้าความ และลักษณะที่ 3 กลวิธีทางศัพท์ที่ปรากฏในส่วนท้าย พบว่ามี 7 ลักษณะ ได้แก่ 1) การอ้างถึง 2) การจบอย่างสมบูรณ์ 3) การบอกจำนวนใบลาน 4) การบ่งชี้ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย 5) การใช้คำเกี่ยวกับการรักษาศีล 6) การใช้คำสรรเสริญกฎหมาย 7) การระบุวันที่ตรากฎหมาย กลวิธีการขยายความ พบว่ามี 4 วิธี ได้แก่ 1) การขยายความด้วยการเล่าเรื่อง 2) การขยายความด้วยการใช้หลักธรรมพระพุทธศาสนา 3) การขยายความด้วยการบอกมูลเหตุ และ 4) การขยายความด้วยการอธิบายความให้ชัดเจน กลวิธีทางวัจนปฏิบัติศาสตร์และวาทกรรม พบว่ามี 4 วิธี ได้แก่ 1) การใช้มูลบท 2) การใช้อุปลักษณ์ 3) การเล่าเรื่อง 4) การใช้สหบทและกลวิธีทางวาทศิลป์พบว่ามี 3 วิธี ได้แก่ 1) การเล่นคำ 2) การใช้สำนวนสุภาษิต 3) การใช้คำสัมผัสคล้องจอง ผลการนำเสนออุดมการณ์ทางสังคมในกฎหมายโบราณอีสาน พบว่า มีการนำเสนออุดมการณ์ทางสังคม 7 อุดมการณ์ ได้แก่ 1) อุดมการณ์เกี่ยวกับผู้ปกครอง-ผู้ใต้ปกครอง 2) อุดมการณ์เกี่ยวกับศาสนา 3)อุดมการณ์เกี่ยวกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ 4) อุดมการณ์เกี่ยวกับบทบาทชายหญิง 5) อุดมการณ์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก-ผู้ใหญ่ 6) อุดมการณ์เกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติ และ 7) อุดมการณ์เกี่ยวกับชาตินิยม ในส่วนของวิถีปฏิบัติทางวาทกรรมในกฎหมายโบราณอีสานพบว่า มี 3 วาทกรรม ได้แก่ วาทกรรมความยุติธรรม วาทกรรมความดี และวาทกรรมการเมืองการปกครอง และวิถีปฏิบัติทางสังคมและวัฒนธรรมในกฎหมายโบราณอีสานพบว่ามี 3 ลักษณะ ได้แก่ ความเชื่อของคนอีสาน การเมืองการปกครองและวิถีชีวิตความเป็นอยู่
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1419
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010161001.pdf5.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.