Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1421
Title: The Outstanding Characteristics of Thai Textbook Used for High Vocational Certificate Students, Curriculum B.E. 2557 and B.E. 2563
ลักษณะเด่นของหนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทย ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หลักสูตร ปี พุทธศักราช 2557 และ หลักสูตร ปี พุทธศักราช 2563
Authors: Piyapoung Yourdinne
ปิยะพงษ์ ยอดอินทร์
Nutkritta Nammontree
ณัฐกฤตา นามมนตรี
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: ลักษณะเด่น
หนังสือภาษาไทย
อาชีวศึกษา
outstanding characteristic
Thai textbook
vocational education
Issue Date:  11
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objective of this thesis was to study the outstanding characteristics of Thai textbook content and format used for High Vocational Certificate students Curriculum B.E. 2557 and B.E. 2563 by using a concept of the content and a format of data analysis from 14 Thai textbooks of 5 book publishers used in vocational schools. The finding of this thesis revealed that there were five outstanding characteristics of Thai textbook used for High Vocational Certificate students, Curriculum B.E. 2557 and B.E. 2563: (1) appearances of the textbook which consisted of a book cover, a preface or a foreword of the book, and the lists of reference books, (2) academic contents consisted of the consistency between the content and curriculum and the additional contents, (3) literary style and language writing which was used in the textbook, (4) content materials were composed of photographs, diagrams, and charts, and (5) suggested activities and exercises which consisted of student development activities, other sources of learning, supplementary worksheets, and post-tests. The comparison between the format and the content of the textbook revealed that both were respectively similar and different. The following are (1) the appearances were similar to the book cover images which reflected the main point of communication and Thai identity., (2) for the academic contents, there were eleven units in the communicative Thai textbook for careers and eight units in occupational Thai language skills textbook. The five units were similar, but the nine were different., (3) the literary style and language writing were alike by using concise, clear, and appropriate language to the age of the students including using the literary style from the poems harmonized with the contents of the learning unit. (4) the identical format of the content materials which the author used was photographs, diagrams, and charts helping the contents to become slightly clearer, and (5) the contents in the suggested activities and the exercises were close because of using the comparing books from the same publisher. The showing of each kind of the outstanding characteristics would help teachers to choose the textbooks with all entire elements as a teaching material for their students effectively. 
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเด่นของเนื้อหา และรูปแบบหนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทย ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหลักสูตรปีพุทธศักราช 2557และหลักสูตรปีพุทธศักราช 2563 โดยใช้แนวคิดเรื่องเนื้อหาและรูปแบบวิเคราะห์ข้อมูลจากหนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทยในสถานศึกษาอาชีวศึกษา จำนวน 5 สำนักพิมพ์ จำนวน 14 เล่ม ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะเด่นของเนื้อหาในหนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทย ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง หลักสูตร ปีพุทธศักราช 2557 และหลักสูตร ปีพุทธศักราช 2563 มีลักษณะเด่น 5 ประการ ได้แก่ 1. รูปเล่มหนังสือเรียนภาษาไทย ประกอบด้วย หน้าปกหนังสือเรียน คำนำหรือคำชี้แจงหนังสือเรียน และรายชื่อหนังสืออ้างอิง 2. เนื้อหาทางวิชาการ ประกอบด้วย เนื้อหาที่สอดคล้องกับหลักสูตร และเนื้อหาเพิ่มเติม 3. การเขียน สำนวนและภาษา 4. เครื่องช่วยประกอบเนื้อหา ประกอบด้วย ภาพ แผนผัง แผนภูมิ 5. กิจกรรมเสนอแนะได้แบบฝึกหัด ประกอบด้วย กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม ใบงานเสริมความรู้ และแบบทดสอบหลังเรียน ส่วนการเปรียบเทียบรูปแบบ เนื้อหา หนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทยพบว่า รูปแบบและเนื้อหาเนื้อหามีความมีความคล้ายคลึงกันและมีความแตกต่างกันตามลำดับดังนี้ 1. รูปเล่มหนังสือเรียน มีความคล้ายกันในด้านของรูปภาพหน้าปกที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญเรื่องของการสื่อสารและเอกลักษณ์ความเป็นไทย 2. เนื้อหาทางวิชาการ หนังสือเรียนภาษาไทยเพื่อสื่อสารในงานอาชีพ มีจำนวน 11 หน่วย หนังสือเรียนทักษะภาษาไทยเชิงวิชาชีพ มีจำนวน 8 หน่วย โดยมีเนื้อหาที่คล้ายกัน 5 หน่อย และแตกต่างกัน 9 หน่วย 3. การเขียนและสำนวนภาษา มีความคล้ายคลึงกัน คือ ใช้ภาษาที่กระชับชัดเจนเหมาะสมต่อวัยของนักศึกษา รวมถึงการใช้สำนวนภาษาที่เกิดจากบทประพันธ์หรือบทกวีที่สอดคล้องกับเนื้อหาหน่วยการเรียนรู้ 4. เครื่องช่วยประกอบเนื้อหา ผู้เรียบเรียงใช้รูปแบบเดียวกันคือ รูปภาพ แผนผัง แผนภูมิ สนับสนุนให้เนื้อหามีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น และ 5. กิจกรรมเสนอแนะและแบบฝึกหัด เนื้อหามีความใกล้เคียงกันอันเนื่องมาจากหนังสือที่ใช้เปรียบเทียบคือหนังสือที่เกิดจากสำนักพิมพ์เดียวกันลักษณะเด่นของหนังสือเรียนที่ปรากฏแต่ละประเภทจะช่วยให้ผู้สอนเลือกสรรหนังสือที่มีองค์ประกอบครบถ้วนเป็นสื่อการสอนให้กับนักเรียนนักศึกษาต่อไปอย่างมีคุณภาพ
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1421
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010182012.pdf5.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.