Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1422
Title: | Comparison between Thai Language Textbooks and Myanmar Language Textbooks in Elementary level การเปรียบเทียบหนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทยและหนังสือเรียนรายวิชาภาษาพม่าในระดับชั้นประถมศึกษา |
Authors: | May Shwe Sin May Shwe Sin Nutkritta Nammontree ณัฐกฤตา นามมนตรี Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences |
Keywords: | การเปรียบเทียบ โครงสร้างและเนื้อหา หนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทย หนังสือเรียนรายวิชาภาษาพม่า ชั้นประถมศึกษา Comparison structures and contexts Thai Language Textbooks Myanmar Language Textbooks elementary level |
Issue Date: | 17 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The purpose of conducting this research is 1) to identify the structures of the elementary Thai language textbooks and Myanmar language textbooks. 2) to identify the context of the elementary Thai language textbooks and Myanmar language textbooks 3). To make the comparison between the structures and contexts of elementary Thai and Myanmar language textbooks with the limitation of using the 12 basic Thai language textbooks PHA SA PHA THI and WANNAKHADEE LAMNAM which is published in 2008 according to core courses of the Ministry of Education and 5 Myanmar Language textbooks which is printed cording to the national education strategic plan of the government. There are altogether 17 textbooks to implement the conceptual frameworks in terms of educational structures, contexts and the comparison analysis between two languages.
My research findings indicate that in both Thai and Myanmar Language Textbooks, there are morality and ethics which youths require to be educated to love patriotism, to support to become good citizens for the country, to know the value of unity, to have kindness, honesty, and to perform duties and rights as a good citizen. To help other people in the country, youths also needs to maintain that their morality, ethics, culture, and classic tradition help to grow forward, to have stability and to be proud of their mother country. There also in line completely with the purpose of the courses which is set in the course as per following: 1) Accuracy 2) Sort from easiest to hardest based on age of the students 3) The structures do not have to be repeated and each unit has to be connected 4) Give knowledge and intelligence 5) Have explanations that shows the good way of thinking to society and country 6) Motivate to develop thinking ability by guiding the right framework which is suitable for age and level of the students. Structures and contexts have not only similarities but also difficulties so they can be compared in terms of the purposes of both Thai and Myanmar basic Textbooks for Grade 1-6. The important facts are as follows: 1) In terms of contexts and presentation 2) In terms of using languages 3) In terms of booklet 4) In terms of desired values and morality วิทยานิพนธ์นี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาโครงสร้างของหนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทยและรายวิชาภาษาพม่าในระดับชั้นประถมศึกษา 2) เพื่อศึกษาเนื้อหาของหนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทยและรายวิชาภาษาพม่าในระดับชั้นประถมศึกษา และ 3) เพื่อเปรียบเทียบโครงสร้างและเนื้อหาของหนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทยและรายวิชาภาษาพม่าในระดับชั้นประถมศึกษา โดยกำหนดขอบเขตของศึกษาค้นคว้าจากหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย ชุดภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาทีและวรรณคดีลำนำ ในระดับชั้นประถมศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2551 จำนวน 12 เล่ม และหนังสือเรียนรายวิชาภาษาพม่าในระดับชั้นประถมศึกษา ตามแผนการพัฒนาแบบเรียนของรัฐบาลพม่า จำนวน 5 เล่ม รวมจำนวนทั้งสิ้น 17 เล่ม รวมถึงได้ประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดด้านการศึกษาโครงสร้างและเนื้อหาของหนังสือเรียน และกรอบแนวคิดด้านการเปรียบเทียบหนังสือเรียนมาเป็นแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า โครงสร้างของหนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทยและหนังสือเรียนรายวิชาภาษาพม่ามีเนื้อหาที่แทรกคุณธรรมจริยธรรมที่ต้องการอบรมปลูกฝังให้แก่เยาวชน ให้มีความรักชาติ การเสริมสร้างให้เป็นพลเมืองที่ดีของสังคมประเทศชาติ รู้รักสามัคคี มีน้ำใจไมตรี ซื่อสัตย์ สุจริต และมีวัฒนธรรม ปฏิบัติตนตามหน้าที่และสิทธิในฐานะพลเมืองดี บำเพ็ญประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง ดำรงไว้ซึ่งคุณธรรมจริยธรรมและวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของชาติ ส่งเสริม สนับสนุนหรือช่วยเหลือ สร้างความเจริญก้าวหน้า ความมั่นคงและรักเกียรติภาคภูมิใจในประเทศชาติ อีกทั้งเนื้อหาที่ปรากฏในหนังสือเรียนยังมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของรายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ได้แก่ 1) ความถูกต้องเที่ยงตรง 2) เรียงลำดับจากง่ายไปยาก ตามวัยของผู้เรียนแต่ละระดับชั้น 3) การแบ่งเนื้อหาไม่ซ้ำซ้อน มีความต่อเนื่องในแต่ละบท 4) ให้สาระความรู้และสติปัญญา 5) มีบทอภิปรายแสดงความคิดเห็นในทางที่ดีต่อสังคมและประเทศ 6) กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทางด้านความคิดให้แนวคิดที่ถูกต้องเหมาะสมกับวัยและระดับชั้นของนักเรียน ซึ่งโครงสร้างและเนื้อหานั้นมีความคล้ายคลึงกันและมีความแตกต่างกัน ส่วนการเปรียบเทียบด้านจุดประสงค์การเรียนรู้ของหนังสือเรียนรายวิชาภาษาไทยและหนังสือเรียนรายวิชาภาษาพม่าในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 พบมีประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ 1) ด้านเนื้อหาและการนำเสนอ 2) ด้านการใช้ภาษา 3) ด้านรูปเล่ม และ 4) ด้านคุณค่าคุณธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ |
Description: | Master of Education (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1422 |
Appears in Collections: | The Faculty of Humanities and Social Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
61010182014.pdf | 2.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.