Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1434
Title: Comparation study on continuous Hang rice process production
การศึกษาเปรียบเทียบกระบวนการผลิตข้าวฮางงอกแบบต่อเนื่อง
Authors: Sitthiphon Sriwiset
สิทธิพล ศรีวิเศษ
Juckamas Laohavanich
จักรมาส เลาหวณิช
Mahasarakham University. The Faculty of Engineering
Keywords: การอบแห้ง
เครื่องอบแห้งอินฟราเรดเเบบถังหมุน
เครื่องอบแห้งลมร้อนเเบบไหลคลุกเคล้า
ข้าวฮาง
Drying
Hang rice
Mixed flow hot air dryer
Rotary infrared dryer
Issue Date:  23
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objective of this research is to design a mixed flow hot air dryer for use in rice production. The experiment was carried out with the conventional method of farmer's group for drying  Hang rice by using a single stage infrared rotary dryer compared to a continuous infrared rotary dryer with a mixed flow hot air dryer. The dryer designed with a drying chamber size of 120×50×40 centimeters (width × length × height) can continuously dry 240 kilograms of paddy per hour. The study of the temperature of paddy in the drying chamber during the drying process revealed that it could be explained by a mathematical equation in the form of quadratic polynomial equation with the variation of the response variable (R2) .The temperature on the top, middle and bottom floors of the drying chamber were measured with values of 78.84%, 75.57% and 71.18%, respectively. For the drying process test, the farmers' working conditions were used by drying with two cycles of  infrared rotary dryers at 750 °C infrared burner. Then, the comparative test was carried out by continuous drying with a mixed flow hot air dryer. The test factors were hot air temperatures of 50, 60 and 70 degrees Celsius, respectively. The results showed that the production process using the two dryers in sequence reduced the drying faster than the process using only the rotary drum infrared dryer. As a result, the production time during the rainy season can be reduced from the usual 3-4 days of production time to only 2-3 days per production cycle. Finally, this also resulted in a statistically significant reduction in the percentage of broken rice grains in Hang rice yield
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบเครื่องอบแห้งลมร้อนแบบไหลคลุกเคล้าสำหรับนำไปเสริมใช้ในกระบวนการผลิตข้าวฮาง โดยทดสอบเปรียบเทียบกระบวนการลดความชื้นข้าวเปลือกฮางของกลุ่มเกษตรกรโดยใช้เครื่องอบแห้งอินฟราเรดแบบถังหมุนเพียงขั้นตอนเดียว กับการใช้เครื่องอบแห้งอินฟราเรดแบบถังหมุนต่อเนื่องด้วยเครื่องอบแห้งลมร้อนแบบไหลคลุกเคล้า  เครื่องอบแห้งที่ออกแบบมีขนาดถังอบแห้ง 120×50×40 เซนติเมตร (กว้าง×ยาว×สูง) สามารถอบแห้งข้าวเปลือกแบบต่อเนื่องได้ 240 กิโลกรัมต่อชั่วโมง โดยจากการศึกษาระดับอุณหภูมิของข้าวเปลือกภายในถังอบระหว่างทำการอบแห้งพบว่าสามารถอธิบายโดยใช้สมการทางคณิตศาสตร์ในรูปสมการพหุนามกำลังสอง (Quadratic Polynomial Equation) ที่มีค่าความผันแปรของตัวแปรตอบสนอง (R2) เมื่อวัดค่าอุณหภูมิที่ชั้นบน ชั้นกลาง และชั้นล่างของถังอบ โดยมีค่าอยู่ที่ 78.84%  75.57 % และ 71.18 % ตามลำดับ สำหรับการทดสอบเปรียบเทียบกระบวนการลดความชื้นข้าวเปลือกฮางด้วยเครื่องอบแห้งอินฟราเรดแบบถังหมุน ได้ใช้เงื่อนไขการทำงานของเกษตรกรจำนวน 2 รอบการอบแห้ง ใช้อุณหภูมิหลอดกำเนินรังสีอินฟราเรดที่ 750 องศาเซลเซียส เปรียบเทียบโดยอบแห้งต่อเนื่องร่วมกับการใช้เครื่องอบแห้งลมร้อนแบบไหลคลุกเคล้าที่อุณหภูมิลมร้อน 50 60 และ 70 องศาเซลเซียส ตามลำดับ ผลการทดสอบพบว่าการใช้เครื่องอบแห้งทั้งสองเครื่องต่อเนื่องกัน สามารถลดความชื้นได้เร็วกว่าการใช้เครื่องอบแห้งแบบอินฟราเรดถังหมุนเพียงอย่างเดียว และสามารถลดระยะเวลาการผลิตในช่วงฤดูฝนจาก 3-4 วันเหลือเพียง 2-3 วันต่อรอบการผลิต อีกทั้งมีเปอร์เซ็นต์ข้าวแตกหักน้อยลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Description: Master of Engineering (M.Eng.)
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1434
Appears in Collections:The Faculty of Engineering

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61010350004.pdf3.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.