Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1439
Title: Effect of Cutting Blade Geometry on Forming Rice Mixed with Konjac Flour
ผลของลักษณะใบมีดต่อการขึ้นรูปข้าวผสมแป้งบุก
Authors: Pinmanee Buasri
ปิ่นมณี บัวศรี
Lamul Wiset
ละมุล วิเศษ
Mahasarakham University. The Faculty of Engineering
Keywords: ข้าวผสมแป้งบุก
ขึ้นรูป
ใบมีดตัด
rice mixed with konjac flour
forming
blade
Issue Date:  12
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this study was to develop a machine to produce a forming rice mixed with konjac flour. This study was divided into four experiments. Firstly, the study was concerned with the characteristics of knife edge for cutting rice mixed with konjac flour. Three characteristics of the knife edge were studied: (1) a front curve of the knife edge, (2) a back curve of the knife edge, and (3) a straight shape of the knife edge. Secondly, the angle of the blade were examined, i.e. angles of 30, 45, and 60 degrees. Thirdly, different blade speeds were examined, i.e. 135, 145, 155 and 165 rpm. Lastly, analysis of the quality of rice mixed with konjac flour. The results showed that a backward curvature of the blade edge with an angle of 30 degrees can cut the flour piece to obtain the completely shape grain as rice with the maximum amount of 34.26 g/min. At a motor speed of 145 rpm, the completely konjac-rice shape can be produced with the maximum amount of 39.80 g/min. The analysis of the quality of konjac-rice was compared with brown rice. The results showed that the color values L* a* b* were not significantly difference. Hardness and stickiness of konjac-rice after cooking were lower than brown rice. For economic analysis, if the product is sold at 400 baht per 1 kilogram when the project life is fixed at 5 years, the internal rate of return will be 18%.
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องขึ้นรูปข้าวผสมแป้งบุก แบ่งการทดลองออกเป็น 4 การทดลอง ได้แก่ การทดลองที่ 1) ศึกษาลักษณะใบมีดตัดสำหรับตัดแป้งผสมบุก ออกแบบลักษณะใบมีดตัด 3 รูปแบบ ได้แก่ ใบมีดตัดโค้งหน้า ใบมีดตัดโค้งหลัง และใบมีดตัดตรง การทดลองที่ 2) ศึกษามุมของใบมีดตัด โดยศึกษามุมของคมตัดที่ 30 45 และ 60 องศา การทดลองที่ 3) ศึกษาความเร็วรอบของใบมีดตัดสำหรับตัดแป้งผสมบุก ที่ 135 145 155 และ 165 รอบ/นาที และการทดลองที่ 4) วิเคราะห์คุณภาพของข้าวขึ้นรูป พบว่าใบมีดตัดโค้งหลังสามารถตัดท่อนแป้งได้ปริมาณเม็ดข้าวบุกที่มีรูปทรงข้าวเม็ดสมบูรณ์มากที่สุด ที่มุมของคมตัด 30 องศา สามารถตัดท่อนแป้งได้ปริมาณเม็ดข้าวบุกที่มีรูปทรงข้าวเม็ดสมบูรณ์มากที่สุด คือ 34.26 กรัม/นาที สำหรับความเร็วรอบของมอเตอร์ใบมีดตัด 145 รอบ/นาที สามารถผลิตเม็ดข้าวบุกมีรูปทรงสมบูรณ์มากที่สุด คือ  39.80 กรัม/นาที ทำการวิเคราะห์คุณภาพข้าวขึ้นรูปเปรียบเทียบกับข้าวกล้อง พบว่าค่าสี L* a* b* ของข้าวผสมแป้งบุกและข้าวกล้องไม่แตกต่างกันทางสถิติ ข้าวผสมแป้งบุกหลังการหุงสุกค่าความแข็งและความเหนียวต่ำกว่าข้าวกล้อง เมื่อวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ หากขายผลิตภัณฑ์ ในราคา 400 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม เมื่อกำหนดอายุโครงการ 5 ปี จะได้ร้อยละอัตราผลตอบแทนเท่ากับ 18
Description: Master of Engineering (M.Eng.)
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1439
Appears in Collections:The Faculty of Engineering

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010382005.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.