Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1443
Title: The Relationships between Life Experiences, Sense of Coherence, Coping Strategies, and Depressive Severity of Suicide Attempt Survivor​s
ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ชีวิต ความเข้มแข็งในการมองโลก การเผชิญปัญหา และความรุนแรงของอาการซึมเศร้า ในบุคคลที่เคยพยายามฆ่าตัวตาย  
Authors: Warinmad Kedthongma
วรินท์มาศ เกษทองมา
Darunee Rujkorakarn
ดรุณี รุจกรกานต์
Mahasarakham University. The Faculty of Nursing
Keywords: ประสบการณ์ชีวิต
ความเข้มแข็งในการมองโลก
การเผชิญปัญหา
ความรุนแรงของอาการซึมเศร้า
การพยายามฆ่าตัวตาย
ทฤษฎีความผาสุก
life experience
sense of coherence
coping strategies
depressive severity
suicide attempt
salutogenic theory
Issue Date:  31
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Background: Suicide is a mental health problem that affects many people in all countries of the world.  Understanding those who have attempted suicide and survived is important for initiating strategies to prevent unwanted consequences. Antonovsky’s salutogenic theory, a psychological model, is widely used to depict the mental health-disease continuum in which its main construct, a sense of coherence, plays the role of mediator. Objectives: To study the relationship between negative life experiences, sense of coherence, coping strategies, and depressive severity in suicide attempt survivors. Methods: The study, using a correlational research design. Data were collected using the Negative Event Scale (NES), Sense of Coherence questionnaire (SOC), Coping Strategies Questionnaire (CSQ), and Depression Rating Scale Their reliabilities were 0.9, 0.8, 0.7, and 0.8, respectively. All data were analyzed by using descriptive statistics and Spearman rank correlation coefficient. Results: The results revealed that the average age of suicide attempt survivors was 36.5 years (S.D. = 10.0), a majority of females (63.7%), and no medical conditions (43.2%). The main methods of attempting suicide were taking drugs, pesticides, and chemicals (87.7%). The causes of attempted suicide were stress and anxiety (82.2%). The average number of times suicide was attempted was twice. The correlations between negative life experiences and sense of coherence, coping strategies, and depressive severity were rs = - 0.368; rs = - 0.324 and rs = 0.266, respectively, and statistically significant, p ≤ .01. The correlation between coping strategies and sense of coherence was not statistically significant (rs = 0.071), whereas sense of coherence was significantly related to depressive severity (rs = - 0.768, p ≤ .01). There was negatively significant of the relationship between coping strategies and depressive severity (rs = -0.242, p ≤ .01). Conclusion: These findings support the salutogenic theory that the sense of coherence is important for understanding the phenomena of attempted suicide survivors, including those with depressive severity.
เหตุผลของการทำวิจัย:  การฆ่าตัวตายเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่ส่งผลกระทบต่อคนจำนวนมากในทุกประเทศทั่วโลก การทำความเข้าใจผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายและรอดชีวิตเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเริ่มต้นกลยุทธ์เพื่อป้องกันผลที่ไม่พึงประสงค์ ทฤษฎีความผาสุกของแอนโทนอฟสกี ซึ่งเป็นแบบจำลองทางจิตวิทยา มีการใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่ออธิบายการเกิดปัญหาด้านสุขภาพจิต โดยที่โครงสร้างหลักคือความเข้มแข็งในการมองโลกซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางประสานเชื่อมโยง วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ชีวิต ความเข้มแข็งในการมองโลก การเผชิญปัญหา และความรุนแรงของอาการซึมเศร้า ในบุคคลที่เคยพยายามฆ่าตัวตาย วิธีการทำวิจัย:  การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามเหตุการณ์ในชีวิตเชิงลบ  แบบสอบถามความเข้มแข็งในการมองโลก แบบประเมินการเผชิญปัญหา  และแบบประเมินอาการซึมเศร้า  ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.9 , 0.8, 0.7 และ 0.8 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการศึกษา: พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 36.5 ปี (S.D. = 10.0) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 63.7 ไม่มีโรคประจำตัวร้อยละ 43.2 วิธีการฆ่าตัวตายโดยการกินยา ยาฆ่าแมลง สารเคมี ร้อยละ 87.7  สาเหตุของการฆ่าตัวตายเกิดจากความเครียด วิตกกังวล ร้อยละ 82.2 จำนวนครั้งของการฆ่าตัวตายเฉลี่ย 2.0 ครั้ง โดยประสบการณ์ชีวิตเชิงลบกับความเข้มแข็งในการมองโลก การเผชิญปัญหา และความรุนแรงของอาการซึมเศร้ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = - 0.368; rs = - 0.324 and rs = 0.266 ตามลำดับ, p ≤ .01) การเผชิญปัญหามีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งในการมองโลก แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = 0.071)  ในทางตรงกันข้ามความเข้มแข็งในการมองโลกมีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของอาการซึมเศร้า (rs = - 0.768, p ≤ .01)  รวมทั้ง พบความสัมพันธ์เชิงลบระหว่างการเผชิญปัญหาและความรุนแรงของอาการซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs = -0.242, p ≤ .01). สรุป: ข้อค้นพบนี้สนับสนุนทฤษฎีความผาสุกที่มีความเข้มแข็งในการมองโลกเป็นแนวคิดที่สำคัญสำหรับการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ของผู้รอดชีวิตจากการพยายามฆ่าตัวตาย รวมทั้งผู้ที่มีภาวะซึมเศร้ารุนแรง
Description: Master of Nursing Science (M.N.S.)
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พย.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1443
Appears in Collections:The Faculty of Nursing

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010480008.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.