Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1444
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorNattapon Yothaen
dc.contributorณัฐพล โยธาth
dc.contributor.advisorSongsak Phusee - ornen
dc.contributor.advisorทรงศักดิ์ ภูสีอ่อนth
dc.contributor.otherMahasarakham University. The Faculty of Educationen
dc.date.accessioned2022-03-24T11:21:59Z-
dc.date.available2022-03-24T11:21:59Z-
dc.date.issued18/11/2021
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1444-
dc.descriptionDoctor of Philosophy (Ph.D.)en
dc.descriptionปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)th
dc.description.abstractThe purposes of the current study were 1) to study current situation, problems, and need in the development of learning management assessment based on STEM education, 2) to construct a learning management assessment based on STEM education, 3) to implement the learning management assessment based on STEM education, and 4) to evaluate the learning management assessment based on STEM education. The study was divided into 4 phases. Phase 1 was to study the current situation, problems, and needs in the development of learning management assessment based on STEM education. The target group included 7 experts in the area. The instrument was a semi-structured interview. The data were analyzed by content analysis. Phase 2 was to develop a learning management assessment based on STEM education. The target group included 7 experts taking part in a focus group discussion and 5 experts taking part in the assessment drafting. The instruments were 1) an appropriateness and feasibility evaluation form and 2) the assessment evaluation form. The data were analyzed using content analysis, mean score, and standard deviation. Phase 3 was to implement the learning management assessment based on STEM education. The target group included 30 STEM education teachers. The instrument was a set of 4 learning management assessments based on STEM education. The data were analyzed by mean score and standard deviation. Phase 4 was to evaluate the learning management assessment based on STEM education. The target group included 1) 30 department heads, 30 self-evaluated teachers, 30 peer teachers, and 300 students. The instrument was an evaluation form for the learning management assessment based on STEM education. The data were analyzed mean score and standard deviation. The results of the study were as follows. 1. In terms of the current situation, problems, and need in the development of learning management assessment based on STEM education, the results of the study can be concluded as follows. 1.1 In the current situation, there is no direct local follow-up process of STEM education assessment in teacher learning management design. However, the National STEM Education Center as a part of The Institute for the Promotion of Teaching Sciences and Technology takes has its own follow-up assessment system. The assessment is based on 1) protocol development, 2) teacher assessment, 3) supervision, and 4) STEM Health Check by school administrators. The evaluation of the 4 based systems indicates that there is still a lack of clear assessment in terms of learning management design. 1.2 In terms of problems in developing STEM education assessment, it was found that teachers in some areas could not use STEM education assessment properly. This might be an account of ineffective assessment from department heads, school administrators, or even external supervisors from the educational area office. In detail, the assessment focused only on using interviews to evaluate the holistic outcomes of the projects. Meanwhile, insightful assessment regarding STEM education principle was ignored. 1.3 In terms of needs in developing STEM education assessment, it was found that there is a need for a clear assessment designed to evaluate learning management based on STEM education. To clarify, the assessment should be systematic, easy to use, feasible in real practice, flexible, and usable in teacher evaluation. 2. The developed learning management assessment based on STEM education included 1) the purposes of the assessment, 2) expected outcomes of 3 major components, 11 indicators, and 33 minor components, 3) processes of assessment including 3 stages of pre-assessment, assessment, and summary of the assessment, 4) assessment personnel including department heads, self-evaluated teachers, peer teachers, and students, 5) absolute criteria, and 6) the reflection of assessment. 3. The learning management assessment based on STEM education for high school teachers was found to be in construct validity. 4. The learning management assessment based on STEM education for high school teachers was found to be beneficial, feasible, appropriate, and correct. The average score of the 4 the evaluation was found at a high level. In detail, the assessment was also evaluated at high levels for each aspect of evaluation.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา 2) สร้างรูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาของครูระดับมัธยมศึกษา 3) ทดลองใช้รูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา และ 4) ประเมินรูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา วิธีการดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยแบ่งขั้นตอนวิธีดำเนินการวิจัย เป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ 7 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษากลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญในการสนทนากลุ่ม 7 คน และผู้เชี่ยวชาญยกร่างคู่มือ 5 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ และ 2) แบบประเมินคู่มือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ 1) การวิเคราะห์เนื้อหา และ 2) ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนสะเต็มศึกษา 30 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา 4 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 4 ประเมินรูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 1) หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 30 คน 2) ครูผู้สอนประเมินตนเอง 30 คน 3) เพื่อนครู 30 คน และ 4) นักเรียน 300 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบประเมินรูปแบบการประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับครูระดับมัธยมศึกษาพบว่า 1.1 ปัจจุบันการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษายังไม่มีการติดตามประเมินการจัดการเรียนการสอนของครูที่เข้าร่วมโครงการจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง แต่จะมีระบบติดตามและประเมินผลของศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติที่เป็นหน่วยงานในกำกับดูแลของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีคณะทำงานฝ่ายสนับสนุนและติดตามผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาได้ติดตามและประเมินผลโดย 1) การพัฒนา Protocol 2) ครูผ่านการทดสอบสะเต็มศึกษาตามเกณฑ์ที่กำหนด 3) ศึกษานิเทศก์ ออกนิเทศติดตามผลครูและประเมินโครงการเก็บข้อมูล สัมภาษณ์ผู้บริหาร ครู นักเรียนและวิเคราะห์ความสำเร็จของโครงการ 4) ผู้บริหารใช้แบบประเมิน STEM HEALTH CHECK ประเมินโรงเรียนตนเองเพื่อวิเคราะห์ผลการพัฒนา จากการติดตามและประเมิน 4 ข้อข้างต้นเป็นการประเมินโดยภาพรวม ซึ่งยังไม่มีรูปแบบหรือแนวทางที่ชัดเจนในมิติของการประเมินการจัดการเรียนรู้ของครู 1.2 ปัญหาของการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาพบว่า ครูไม่มีรูปแบบหรือขั้นตอนในการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาโรงเรียนบางแห่งอาจจะได้รับการประเมินโดยการนิเทศภายในจากครูหัวหน้าวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้หรือผู้บริหาร บางโรงเรียนอาจจะได้รับการประเมินภายนอกจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาและบางโรงเรียนอาจจะไม่ได้รับการประเมินตั้งแต่มีการจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษา ซึ่งจากการสัมภาษณ์การประเมินส่วนมากจะเป็นการประเมินผลการดำเนินการตามโครงการ ส่วนการนิเทศภายในและภายนอกที่กล่าวข้างต้นมักจะเป็นการสัมภาษณ์ สอบถามภาพรวมไม่ได้พิจารณารายละเอียดอย่างลึกซึ้งเนื่องจากยังไม่มีรูแบบการประเมินที่ชัดเจน 1.3 ความต้องการในการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาพบว่ามีความต้องการรูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่มีความชัดเจน มีขั้นตอนในการประเมินที่เป็นระบบ สะดวกต่อผู้ประเมิน รูปแบบการประเมินมีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ประเมินในสถานการณ์จริง มีความยืดหยุ่นไม่เฉพาะเจาะจง สามารถนำผลการประเมินไปพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูได้จริง 2. รูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับครูระดับมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 1) วัตถุประสงค์ของการประเมิน 2) สิ่งที่มุ่งประเมินซึ่งประเมินจาก 3 องค์ประกอบ 11 ตัวบ่งชี้หลักและ 33 ตัวบ่งชี้ย่อย 3) วิธีการประเมิน ซึ่งแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเตรียมการประเมิน ขั้นดำเนินการประเมินและขั้นสรุปรายงานผลการประเมิน 4) แหล่งผู้ประเมิน จำนวน 4 แหล่ง ประกอบด้วย หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูผู้สอนประเมินตนเอง เพื่อนครูและนักเรียน 5) เกณฑ์การประเมิน และ 6) การสะท้อนผลการประเมิน 3. รูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับครูระดับมัธยมศึกษามีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (Construct Validity) 4. รูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษาสำหรับครูระดับมัธยมศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความถูกต้องโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน และเมื่อพิจารณาผลการประเมินเป็นรายด้าน ปรากฏว่า ทั้ง 4 ด้านมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากเช่นกันth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectการวิจัยเเละพัฒนาth
dc.subjectการประเมินการจัดการเรียนรู้th
dc.subjectสะเต็มศึกษาth
dc.subjectResearch and Developmenten
dc.subjectLearning Management Assessmenten
dc.subjectSTEM Educationen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleThe Development of Learning Management Assessment Based on STEM Education for High School Teachersen
dc.titleการพัฒนารูปแบบการประเมินการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา สำหรับครูระดับมัธยมศึกษาth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010562001.pdf9.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.