Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1453
Title: The Development of Guidelines for the Management with the Teachers’ Participation in The Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham
การพัฒนาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครู สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
Authors: Suraphop Nakonchom
สุรภพ นาคนชม
Napatsawan Thanaphonganan
ณภัสวรรณ ธนาพงษ์อนันท์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การพัฒนา
แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครู
The Development
Guidelines for the Management with the Teachers
Issue Date:  28
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aims to 1) Study the current condition and the Need Assessment for the development of the Management with the teachers’ participation for the schools in The Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham 2) To present guidelines of development of the Management with the teachers’ participation for the schools in The Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham, the research was divided into 2 phases. Phase 1 : Study the current condition and the Need Assessment for the development of the Management with the teachers’ participation in The Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham. The sample consisted of 318 teachers were sampled by multiple random sampling. Steps based on the number of tables compared to Krejcie and Morgan and Stratified Random Sampling Technique was used for finding the example groups. The tools used in the research were questionnaires. The used Statistics were percentage, average and standard deviation. Phrase 2 : The Development of Guidelines for the Management with the teachers’ Participation for the schools in The Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham, 7 informants were used. The instruments used in the research were interviews, statistics, percentage, mean and standard deviation. The research found that: 1. Current status, teachers’ participation in administration was a high level (x̅ = 3.6) and after the consideration in each aspect found that there were in high level and medium level, sort by average to 3 descending order : Participatory Academic Management (x̅ = 3.78), Participatory General Management (x̅ = 3.73) And Participatory Personal Management (x̅ = 3.52), Desirable status, participation in administration of teachers was at a highest level (x̅ = 4.95) And after the consideration in each aspect found that it was the highest level, sort by average to 3 descending order: Participatory General Management (x̅ = 4.97), Participatory Academic Management (x̅ = 4.96) And Participatory Personal Management (x̅ = 4.96). 2. Participatory Management of teachers for the schools in The Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham following the duties of 4 branches of works : Participatory Academic Management, Participatory Budget Management, Participatory Personal Management and Participatory General Management that can be concluded  1) Participation planning 1.1) Teachers have access to information and activities. 1.2) Teachers participate in budget and resources planning. 1.3) Teachers participate in division of responsibility. 2.) Participation in operation. 2.1) Teachers can work for their responsibilities. 2.2) Teachers participated in volunteer activities. 2.3) Teachers have integration for working and feel involved in the ownership of the activities. 3.) Participation in maintenance of benefits. 3.1) Teachers participate in the approval process of projects and activities. 3.2) Teachers are satisfied with their work. 4.) Participation in monitoring and evaluation. 4.1) Teachers jointly investigate in measuring and analyzing the result of operations.4.2) Teachers participate in feedback the result of operation to develop and work effectively.
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครู สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม 2) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครู สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครู สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนจำนวน 318 คน ได้มาโดยการเทียบจำนวนประชากรทั้งหมดกับตารางกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie และ Morgan และใช้เทคนิคการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling Technique) ให้ได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครู สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.6) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากและปานกลาง โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ ด้านการบริหารงานวิชาการ (x̅ = 3.78) ด้านการบริหารงานบริหารทั่วไป (x̅ = 3.73) และด้านการบริหารงานบุคคล (x̅ = 3.52) สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครู โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.95) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก คือ ด้านการบริหารงานทั่วไป (x̅ = 4.97) ด้านการบริหารงานวิชาการ (x̅ = 4.96) และด้านการบริหารงานบุคคล (x̅ = 4.96) 2. แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครู สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ตามขอบข่ายงาน 4 ฝ่าย ได้แก่ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป สรุปได้ดังนี้ 1) การมีส่วนร่วมในการวางแผน 1.1) ครูมีส่วนร่วมในการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลของกิจกรรม 1.2) ครูมีส่วนร่วมในการวางแผนจัดสรรงบประมาณและทรัพยากร 1.3) ครูมีส่วนร่วมในการแบ่งบทบาทหน้าที่ ภาระงานและมอบหมายผู้รับผิดชอบ 2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ 2.1) ครูได้ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย 2.2) ครูมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมด้วยความเต็มใจและเต็มความสามารถ 2.3) ครูมีการบูรณาการการทำงานในทิศทางเดียวกันและมีความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจกรรม 3) การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ 3.1) ครูมีส่วนร่วมการให้ความเห็นชอบโครงการและกิจกรรม 3.2) ครูมีความพึงพอใจในประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน 4) การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและประเมินผล 4.1) ครูมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน 4.2) ครูมีส่วนร่วมในการสะท้อนผลการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงและพัฒนาแนวทางการดำเนินงาน
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1453
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010586032.pdf5.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.