Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1462
Title: Development of a participatory learning activity in conjunction with the Application Programming in a Project (Technology) for Secondary 3
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมประกอบกับชุดฝึกการเขียนแอปพลิเคชันรายวิชาโครงงาน (เทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Authors: Kitiyakorn Neonthaisong
กิติยากร เนินไธสง
Montree Wongsaphan
มนตรี วงษ์สะพาน
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: แนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
ชุดฝึกการเขียนแอปพลิเคชัน
แอปพลิเคชันมือถือ
Participatory Learning
Application Programming
smartphone application
Issue Date:  19
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:      The objectives of this research were 1) to determine the effectiveness of the development of participatory learning activities in combination with the application writing practice set to achieve the criteria 70/70. 2) to compare the learning achievement. Project (Technology) course, Secondary 3, to have a passing score of 70 per cent of the total score. and 3) to compare the programming ability. The 3rd-grade students who study with participatory learning activities and Programming projects in practice set (technology) will have a passing score of 70 per cent of the total score. There are sample groups in the research, including 21 students in Secondary 3, semester 2, Academic Year 2020. Mahasarakham University Demonstration School (Secondary Semester) total of 21 students by purposive sampling. The research tools were 1) a participatory learning management plan. Science and Technology Group Subject: System Analysis and Design 2) Programming Practice Set 3) Academic Achievement Test 4) Programming Ability Assessment Form The statistics used in the research were percentage, mean, standard deviation and one-sample t-test  The results of the research were as follows: 1. The effectiveness of the development of participatory learning activities in a Programming practice Project. Effectively coursework (technology) 86.19 / 72.54. 2. Students who study through participatory learning activities with a Programming practice Project (Technology) course has an achievement score of 70 per cent of the total score specified. statistically significant at the 0.05 level. 3. Students who study through participatory learning activities with a Programming practice Project (Technology)course has a passing score of 70 per cent of the required score for the ability to Programming. statistically significant at the 0.05 level.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมประกอบกับชุดฝึกการเขียนแอปพลิเคชันให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาโครงงาน (เทคโนโลยี) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนทั้งหมด และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนแอปพลิเคชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมประกอบกับชุดฝึกการเขียนแอปพลิเคชันรายวิชาโครงงาน (เทคโนโลยี) ให้มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนทั้งหมด มีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 21 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรื่องการวิเคราะห์และออกแบบระบบ 2) ชุดฝึกการเขียนแอปพลิเคชัน 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินความสามารถการเขียนแอปพลิเคชัน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานและสถิติทดสอบที (One sample t - test) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้    1. ประสิทธิภาพของการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมประกอบชุดฝึกการเขียนแอปพลิเคชัน รายวิชาโครงงาน (เทคโนโลยี) มีประสิทธิภาพ 86.19 / 72.54 2. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมประกอบกับชุดฝึกการเขียนแอปพลิเคชัน รายวิชาโครงงาน (เทคโนโลยี) มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนทั้งหมดที่กำหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมประกอบกับชุดฝึกการเขียนแอปพลิเคชัน รายวิชาโครงงาน (เทคโนโลยี) มีคะแนนความสามารถในการเขียนแอปพลิเคชันผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนทั้งหมดที่กำหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1462
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010551002.pdf10.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.