Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1525
Title: The Development of Dental School Waste Management System Through a Participatory Process College of Public Health, Praboromarajchanok Institute
การพัฒนาระบบการจัดการมูลฝอยที่เกิดจากคลินิกทันตกรรมโดยอาศัยการมีส่วนร่วม  วิทยาลัยการสาธารณสุขแห่งหนึ่ง สถาบันพระบรมราชชนก
Authors: Wuttichan Huaisai
วุฒิฌาน ห้วยทราย
Wisit Thongkum
วิศิษฎ์ ทองคำ
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: ระบบการจัดการมูลฝอย
คลินิกทันตกรรม
การมีส่วนร่วม
พัฒนาระบบการจัดการมูลฝอย
Waste management system
Dental clinics
Participation
Developing waste management
Issue Date:  20
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The action research aim to developing waste management system from dental clinics by using the participation of a college of public health Praboromarajchanok Institute. The study was consists of 4 phases based on Kemmis and Mc Taggart's action research process, planning, action, observation and reflection. There are two target groups: 1) group of 23 participants in the system development 2) group of 129 participants in the evaluation. The research tools include population characteristics survey, record form for quantity/waste composition, participation assessment form, survey of solid waste management behavior in dental clinics and satisfaction assessment form. Data were analyzed by using descriptive statistics, frequency, percentage, mean, standard deviation. The results showed that 1) Context: Most of the solid waste general waste accounted for 53.90%, followed by infectious waste. accounted for 40.11% 2) Operational aspect Use a participatory process, find problems, come up with a project activity plan. and proceed as planned 3) Results after the implementation of the project 3.1) Separation of most of the solid waste, 72.50% of the waste was properly separated. 3.2) After the training, the majority of participants had knowledge at a high level, 88.54%. 3.3) Participation in overall system development is at a high level, 52.17%. 3.4) The target group had 68.99% of the high level solid waste management behavior. 3.5) The majority of system developers are satisfied with the project at a high level, 78.26%. 4) The success factor, in summary, comes from the participation in the planning process. by stakeholders at all levels This gives the stakeholders a sense of ownership of the problem. and create a common approach that follows and motivates stakeholders to understand and work together to achieve the objectives together to push for a sustainable approach to managing problems in dental clinics
การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาระบบการจัดการมูลฝอยที่เกิดจากคลินิกทันตกรรมโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของ วิทยาลัยการสาธารณสุขแห่งหนึ่ง สถาบันพระบรมราชชนก การศึกษาออกเป็น 4 ขั้นตอน ตามกระบวนการวิจัยเชิงของปฏิบัติการของ Kemmis และ McTaggart ประกอบไปด้วย การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล ผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบ จำนวน 23 คน 2) กลุ่มผู้มีส่วนร่วมในการประเมินผล จำนวน 129 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสำรวจคุณลักษณะประชากร แบบบันทึกปริมาณ/องค์ประกอบมูลฝอย แบบประเมินการมีส่วนร่วม แบบสำรวจพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยในคลินิกทันตกรรม แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านบริบท มูลฝอยที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ เป็นมูลฝอยทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 53.90  รองลงมาเป็นมูลฝอยติดเชื้อ คิดเป็นร้อยละ 40.11 2) ด้านการดำเนินการ ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม ค้นหาปัญหา ได้มาซึ่งแผนกิจกรรมโครงการ และดำเนินการตามแผนที่วางไว้ 3) ผลการดำเนินการหลังการดำเนินโครงการ 3.1) การคัดแยกมูลฝอยส่วนใหญ่แยกมูลฝอยได้ถูกต้อง ร้อยละ 72.50 3.2) หลังการอบรมให้ความรู้ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่มีความรู้ในระดับมากร้อยละ 88.54 3.3) การมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 52.17 3.4) กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยระดับมาก ร้อยละ 68.99 3.5) ความพึงพอใจของกลุ่มผู้พัฒนาระบบส่วนใหญ่พึงพอใจต่อโครงการในระดับมาก ร้อยละ 78.26 4) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ โดยสรุป เกิดจากการใช้กระบวนการวางแผนอย่างมีส่วนร่วม โดยผู้มีส่วนเกี่ยวของในทุกระดับ ซึ่งทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความรู้สึกในการเป็นเจ้าของปัญหา และสร้างแนวทางร่วมกันนั้น มีการติดตาม กระตุ้นผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้เข้าใจและร่วมกันดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ร่วมกันผลักดันให้เกิดแนวทางที่ยังยืนในการจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นในคลินิกทันตกรรม
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1525
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62011480007.pdf8.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.