Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1549
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorSurachate Intisangen
dc.contributorสุรเชษฐ์  อินธิแสงth
dc.contributor.advisorMetta Sirisuken
dc.contributor.advisorเมตตา ศิริสุขth
dc.contributor.otherMahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Scienceen
dc.date.accessioned2022-03-24T15:17:50Z-
dc.date.available2022-03-24T15:17:50Z-
dc.date.issued14/1/2022
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1549-
dc.descriptionDoctor of Philosophy (Ph.D.)en
dc.descriptionปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)th
dc.description.abstractThis study is qualitative research. The following were the major objectives: 1) to study the Naga Baisri styles and rituals in the Kham Chanod Naga worship area; 2) to study the process of becoming a 'Semiology on Naga' sacred site of 'Kham Chanod'; and 3) to study the Naga Baisri Kham Chanod Styles in the tradition of "Sacrifice to Naga Srisuttho" as an object of worship and the process of inventing Naga belief rituals. In this study, the notion of semiotics was applied. In addition, the concept of tradition's invention and the concept of space were utilized to investigate the phenomenon. The Naga Baisri in the rituals and analyses of the Naga Baisri in the ceremony of worshiping Naga Srisuttho as an object of worship in the Naga belief culture were studied using qualitative research methodologies. The researcher employed a fieldwork-focused research method. The findings revealed that the people of the Mekong River Basin created the beliefs and conditions for the creation of beliefs about worshiping the Naga in Thai society. According to the era, the sacrifice conditions would differ. Originally, only flowers, incense, and candles were used. Instead of a Naga offering modeled after the ideal, Naga Baisri is a figurative object. It is a collection of beliefs and morals. The conceptual philosophy of symbolism is to be representative in this case. The concrete concept of the object associated with that sign. The Naga Baisri is reminiscent of the Naga's merits. In essence, the Naga Baisri is not a Naga, but rather a hypothetical creature with a hidden significance, and most crucially, what the Naga Baisri causes. Understanding with wisdom and knowledge applied to the hypothetical is a substitute for the sacrifice. When people are able to classify the meaning of a contract, the media comes out in various forms to help them comprehend the system of rules, duties, and contracting methods, as well as role characteristics. They are less likely to be overwhelmed by distorted myths that have lost their essence. To comprehend the Naga Baisri, which is an offering to the Naga created through the process of creating symbols and the charge of the meaning of the image rather than sacrifice. Naga Baisri offering that gives people a dimension of belief and faith until it leads to construction in various ways. Particularly as a symbol for the revered Naga Srisutto Symbols, which can be found on sacred grounds. It manifests itself through memories, stories, and cultural objects. According to the beliefs of the people who respect the Naga, the Naga Baisri is a symbol of worship that can create the identity of both the individual and the community, causing the impetus to act together. Chum, who functions as a "mediator" for communication between humans and Naga, acted as a "beneficial intermediary" for himself and his family past a critical moment in order to benefit or bring wealth to himself and his family. As a result, the Baisri serves as a bridge between the human world and the Naga's heavenly world or underworld, as the Naga arrived in the human world via the Chum ritual. Since a Baisri sits on the Naga's throne instead of the throne, the Baisri is both a "signifier" and a "signified" person who transmits the Naga's meaning in the dimension of representation. There are rituals to open the path for the gods and the human world to be connected, with Chum acting as a "messenger" and "receiver" in the dimension of inviting Naga Srisuttho from the heavenly world to sit on the Naga throne. It is the intention based on a belief in supernatural abilities that can be obtained through human-Naga encounters. The Naga Baisri, which is enshrined on the altar, serves as a symbolic representation of the ritual, acting as a "connector" in the transfer of power from Chum, who possesses the mystical power of supernatural power and the spirit, to the Naga and possesses supernatural powers and believes in supernatural powers that do not exist, to control the possibility of human life.  Academic benefits from the investigation discovered that there are several literatures on Naga and Khamchanod that have been investigated and presented. Academics and scholars, on the other hand, are practically all concerned with studying the Naga, whether they exist or not. It is a study that connects rituals with the background of culture and Naga beliefs for this research. People can be taught to understand arts, local arts, and crafts in order to see the dimensions of a group of people's art in relation to their beliefs, and to elevate the explanation of the phenomenon of folk arts and crafts Naga Baisri conditionally with the goal of giving creative meaning in a symbolic way for a group of people.en
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์สำคัญดังนี้ 1) เพื่อศึกษาเครื่องบายศรีรูปนาคและพิธีกรรมในพื้นที่สักการะนาคาคติ คำชะโนด 2) เพื่อศึกษากระบวนการกลายเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ "นาคาคติ" ของ "คำชะโนด" 3) เพื่อวิเคราะห์เครื่องบายศรีรูปนาคคำชะโนดในประเพณี "บวงสรวงปู่ศรีสุทโธ" ในฐานะวัตถุสักการะและกระบวนการประดิษฐ์พิธีกรรมในกระแสความเชื่อเรื่องนาค  โดยใช้แนวคิดสัญวิทยาหรือสัญศาสตร์ แนวคิดเรื่องการประดิษฐ์ประเพณี (Inventing tradition) และ แนวคิดเรื่องพื้นที่มาใช้เป็นกรอบในการวิเคราะห์อธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าว โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ  เพื่อศึกษาเครื่องบายศรีรูปนาค ในพิธีกรรมและวิเคราะห์เครื่องบายศรีรูปนาคในพิธีบวงสรวงปู่ศรีสุทโธในฐานะวัตถุสักการะในกระแสวัฒนธรรมความเชื่อเรื่องนาค  ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยที่เน้นการทำงานสนามเป็นสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า พัฒนาการของความเชื่อและเงื่อนไขในการสร้างความเชื่อเรื่องบูชาพญานาคในสังคมไทย ถูกผลิตสร้างโดยกลุ่มคนลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งเงื่อนไขในการบวงสรวงนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย แต่เดิมก็จะมีแค่ดอกไม้ธูปเทียนเท่านั้น เครื่องบายศรีรูปนาค เป็นวัตถุรูปธรรมสิ่งสมมุติแทนเครื่องบูชา ที่ถอดแบบมาจากลักษณะทางอุดมคติ เป็นวัตถุที่ประกอบสร้างขึ้นจากความเชื่อ และคติธรรม ปรัชญาความเป็นสัญญะที่ใส่ความคิด ในที่นี้ คือ การเป็นรูปแทนความคิดทางรูปธรรมของวัตถุที่ประกอบกับตัวหมายนั้นๆ ประการสำคัญสิ่งที่เกิดจากเครื่องบายศรีรูปนาค สิ่งแทนเครื่องบูชาก็คือ ความเข้าใจด้วยปัญญาความรู้ที่นำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อสิ่งสมมุตินั้น เมื่อทำความเข้าใจชนิด ประเภทของสัญญะและสามารถจำแนกความหมายทางสัญญะที่สื่อออกมาในรูปแบบต่างๆ แล้วทำให้เข้าใจระบบกฎเกณฑ์ หน้าที่วิถีแห่งสัญญะ ตลอดจนลักษณะบทบาทเพื่อไม่ให้ถูกครอบงำด้วยมายาคติที่บิดเบือน หลงงมงายไปจากเนื้อแท้ของสิ่งเหล่านั้น การทำความเข้าใจเครื่องบายศรีรูปนาคที่เป็นเครื่องบูชาองค์พญานาค โดยกระบวนการสร้างตัวหมายและการประจุความหมายของภาพแทนเครื่องบูชา บายศรีรูปนาคนั้นนับเป็นเครื่องบูชาพญานาคที่สร้างมิติความเชื่อความศรัทธาแก่ผู้คน จนนำไปสู่การประกอบสร้างในลักษณะต่างๆ โดยเฉพาะการเป็นสัญญะแทนองค์เจ้าปู่ศรีสุทธโธที่เคารพนับถือ  สัญลักษณ์ที่ปรากฏบนพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นการแสดงออกผ่านความทรงจำ เรื่องราว และผ่านวัตถุทางวัฒนธรรม ซึ่งบายศรีรูปนาคเป็นสัญลักษณ์ของเครื่องบูชาตามความเชื่อของกลุ่มคนที่นับถือพญานาค ที่สามารถประกอบสร้างความมีตัวตนทั้งของปัจเจกบุคคลและของชุมชน ทำให้เกิดแรงผลักที่กระตุ้นให้กระทำบางการอย่างร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ หรืออำนวยความเป็นสิริมงคลแก่ตน และครอบครัว บายศรีรูปนาคได้สื่อความเป็นเครื่องบูชาผ่านช่วงเวลาสำคัญ โดยจ้ำที่ทำหน้าที่เป็น “ตัวกลาง” เพื่อติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์กับองค์พญานาค เครื่องบายศรีจึงทำหน้าเป็นสื่อกลางที่เป็นจุดกึ่งกลางระหว่างโลกของมนุษย์กับโลกสวรรค์หรือโลกบาดาลขององค์พญานาค โดยองค์พญานาคเสด็จมายังโลกมนุษย์ผ่านพิธีกรรมของจ้ำ โดยมีเครื่องบายศรี แทนบัลลังก์ที่ประทับขององค์พญานาค “เครื่องบายศรี” จึงเป็นทั้ง “ตัวหมาย” (Signifier) และเป็นทั้ง “ตัวที่ทำให้มีความหมาย” (Signified) ผู้สื่อความหมายขององค์พญานาคในมิติของการเป็นตัวแทน สำหรับมิติการอัญเชิญองค์พญานาคศรีสุทโธจากโลกสวรรค์ให้มาประทับบนบัลลังก์นาค มีการประกอบพิธีกรรมเพื่อเปิดทางให้เทวโลก และโลกมนุษย์สามารถเชื่อมต่อกัน โดยจ้ำทำหน้าที่เป็นผู้ “ส่งสาร” และ “รับสาร” เป็นเจตนารมณ์ตามความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติที่สามารถทำให้สำเร็จบรรลุผลกับการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับองค์พญานาค โดยมีเครื่องบายศรีรูปนาค ที่ประดิษฐานตั้งอยู่บนแท่นบูชา เป็นเสมือนตัวแทนทางสัญลักษณ์ในการประกอบพิธีกรรม เป็น “ตัวเชื่อม” ในการโอนถ่ายอำนาจผลึกกับจ้ำ ด้วยอำนาจลี้ลับของพลังอำนาจเหนือธรรมชาติ และจิตวิญญาณกับองค์พญานาคที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ ซึ่งความเชื่อพลังอำนาจเหนือธรรมชาติที่ไร้ตัวตนได้ทำหน้าที่ควบคุมความเป็นไปของชีวิตมนุษย์ ประโยชน์ทางวิชาการ พบว่ามีวรรณกรรมเรื่องพญานาคและคำชะโนดหลายเล่มที่ได้ค้นคว้าและนำเสนอ เป็นการศึกษาที่เชื่อมโยงพิธีกรรมกับบริบทของวัฒนธรรมและความเชื่อเรื่องนาค ทั้งยังสามารถทำความเข้าใจศิลปกรรม ศิลปหัตถกรรมท้องถิ่น ให้เห็นถึงมิติของศิลปะของกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและเพื่อยกระดับคำอธิบายปรากฏการณ์ศิลปะพื้นบ้านและบายศรีรูปนาคอย่างมีเงื่อนไข มีเป้าหมายทางสังคมในการให้ความหมายของการสร้างสรรค์ในทางที่เป็นความหมายเชิงสัญลักษณ์ทางสังคมของกลุ่มคนth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectศรีสุทโธth
dc.subjectบายศรีรูปนาคth
dc.subjectคำชะโนดth
dc.subjectNaga Khamchanoden
dc.subjectNaga Baisri Khamchanoden
dc.subjectKham Chanoden
dc.subject.classificationArts and Humanitiesen
dc.subject.classificationArts and Humanitiesen
dc.titleNaga Baisri Khamchanod Styles : Semiology on Naga Art and Ritual Invention in Cultural Beliefs of Nagaen
dc.titleเครื่องบายศรีรูปนาคคำชะโนด : ศิลปะนาคาคติ และการประดิษฐ์พิธีกรรมในกระแสวัฒนธรรมความเชื่อเรื่องนาคth
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010661005.pdf21.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.