Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1566
Title: Nok Husadiling : Code of Social Stratification Isan Society and Culture
นกหัสดีลิงค์ : รหัสหมายชั้นชน ในสังคมวัฒนธรรมอีสาน
Authors: Prayoot Sarang
ประยุทธ  สารัง
Arkom Sa-Ngiamviboon
อาคม เสงี่ยมวิบูล
Mahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science
Keywords: นกหัสดีลิงค์
รหัสหมายชั้นชน
สังคมวัฒนธรรมอีสาน
Nok Husadiling
Social Stratification
Isan Society and Culture
Issue Date:  23
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: “Nok Husadiling", code of social stratification in Isan society and culture, is the rite relating to the belief of life after death. It is associated with the history, beliefs, social class and traditional creation. It is also about the communication through symbols which show honor. The systematic selection process which is constructed by Isan culture can explain the class of the honorable person in this rite. This research can explain the development of arts, traditions of the rite of Husadiling in various contexts of Isan culture. The classification of social relation in the form of symbol through the rite of Husadiling is the result of the participation of the government, who controls the Great Tradition. Isan people in traditional society including the heirs of the former governor, who own and exclusively conduct this rite, are grouped as Little Tradition. They have to conduct the rite under the government context together with the reconstitution of Husadiling in Isan culture. The study shows the occurrence and the existence of culture that explains the present life and the next life and the belief in the present life. The presentation of the symbol in Nok Husadiling and the rite represents the class of the participants in the rite and the concept of cosmology through the art of Nok Husadiling. It is the imagination of elephant mixed with bird which represents the power of Himmapan creatures according to the ideaology. The bird’s head indicates two characteristics. 1) The head is similar to the elephant than the bird. 2) The head is similar to the bird than elephant. In addition, the bird’s body indicates two characteristics: 1) flat with colored patterns and 2) curved dimension with colored patterns. The materials are changed according to changing social conditions. There are three features in the construction combining with Prasat Busabok: 1) Nok Husadiling supporting Busabok, 2) Nok Husadiling enclosing Busabok, and 3) Nok Husadiling enclosing doubled Busabok. The reform in important details both the crematory and patterns of Husadiling clearly reflects the modification of rites as well as the purpose of the ritual. There is a change of Husadiling phenomenon in the rite all the time including the modification of various art forms to serve modern society in Isan culture. The rite is not restricted anymore. The chance to conduct the rite of Husadiling after the death of someone increases. Moreover, the cremation with Husadiling for general people is interesting for the researchers to study the recent situation that there are no heirs of former governor and the rite of Husadiling changes from "specific group" to "general group". This may help preserve the rite of Husadiling to be existed in the same form but with the changing content.
“นกหัสดีลิงค์”รหัสหมายชั้นชนในสังคมวัฒนธรรมอีสาน พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อหลังความตายที่เชื่อมโยงกับตำนาน คติความเชื่อ ชั้นชนทางสังคม การประดิษฐสร้างประเพณี การสื่อสารผ่านสัญลักษณ์ที่แสดงถึงการให้เกียรติ กระบวนการคัดเลือกอย่างมีระบบที่ประกอบสร้างโดยสังคมวัฒนธรรมอีสานสามารถอธิบายถึงชั้นชนผู้ที่ได้รับเกียรติในการประกอบพิธี งานวิจัยนี้สามารถอธิบายพัฒนาการรูปแบบศิลปกรรม ประเพณี พิธีกรรมนกหัสดีลิงค์ในบริบทต่าง ๆ ของสังคมวัฒนธรรมอีสาน การจัดระดับความสัมพันธ์ชั้นชนทางสังคมโดยใช้รหัสหมายในรูปสัญญะที่สื่อผ่านประเพณีนกหัสดีลิงค์ การเข้ามามีส่วนร่วมของรัฐ อันเป็นผู้ควบคุมและจัดเป็นกลุ่มวัฒนธรรมหลวง (Great tradition) ขณะที่ชาวอีสานในสังคมวัฒนธรรมซึ่งรวมถึงผู้ที่สืบเชื้อสายเจ้าเมืองเก่าผู้ที่เคยเป็นเจ้าของ และผูกขาดการจัดพิธีกรรม ซึ่งจัดเป็นกลุ่มวัฒนธรรมราษฎร์ (Little tradition) ก็ต้องดำเนินพิธีกรรมภายใต้บริบทของรัฐ พร้อมกับกระบวนการรื้อฟื้นนกหัสดีลิงค์ให้คงอยู่ในสังคมวัฒนธรรมอีสาน การศึกษาแสดงให้เห็นถึง การเกิดและการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมการอธิบายถึงชีวิตนี้และชีวิตในโลกหน้า ความเชื่อในโลกนี้ การแสดงออกซึ่งรหัสหมายในรูปสัญญะที่ปรากฏทั้งในตัวนกหัสดีลิงค์และพิธีกรรม แสดงถึงชั้นชนของผู้ร่วมพิธีและแนวคิดเกี่ยวกับจักวาลวิทยาผ่านรูปแบบศิลปกรรมของนกหัสดีลิงค์ นกหัสดีลิงค์ลักษณะสิ่งแทนตามรูปแบบจินตนาการช้างปนนกอันแสดงถึงพลังจากสัตว์ป่าหิมพานต์ตามคติ ส่วนหัวนกแสดงรูปแบบ 2 ลักษณะ 1) หัวมีความเป็นช้างมากว่านก 2) แบบหัวเป็นนกมากกว่าช้าง ตัวนกแสดงรูปแบบ 2 ลักษณะ 1) แบนราบเขียนลวดลายลงสี 2) แบบโค้งมนมีมิติเขียนลวดลายแล้วลงสี โดยมีการเปลี่ยนแปลงวัสดุการสร้างตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนไป การจัดสร้างที่ประกอบร่วมกับปราสาทบุษบก 3 ลักษณะ 1) นกหัสดีลิงค์เทินหลังบุษบก 2) นกหัสดีลิงค์ครอบด้วยบุษบก 3) นกหัสดีลิงค์ครอบด้วยบุษบกซ้อนบุษบก การปรับเปลี่ยนในรายละเอียดที่สำคัญทั้งสถานที่เผา และรูปแบบของนกหัสดีลิงค์สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่ามีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดของพิธีกรรม ตลอดจนวัตถุประสงค์ของพิธีกรรมอยู่ตลอดเรื่อยมา ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นของนกหัสดีลิงค์มีความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับพิธีกรรมนี้อยู่ตลอดช่วงเวลา การปรับเปลี่ยนรูปแบบศิลปกรรมที่หลากหลาย เพื่อรับใช้สังคมยุคสมัยใหม่ในวัฒนธรรมอีสาน พิธีกรรมเริ่มไม่ผูกขาด โอกาสที่จะได้จัดพิธีกรรม “ขึ้นนก” หัสดีลิงค์เมื่อเสียชีวิตไปแล้วก็ย่อมมากขึ้นไปด้วย การจัดพิธีปลงศพแบบนกหัสดีลิงค์ของสามัญชนทั่วไป เป็นข้อมูลที่น่าสนใจที่ผู้วิจัยทั้งหลายจะได้แสดงทำความเข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้น การที่ปัจจุบันการไม่มีผู้ที่สืบเชื้อสายเจ้าเมืองเก่า การที่พิธีกรรมที่เคยเป็นเรื่อง “เฉพาะกลุ่ม” กลับกลายเป็นพิธีกรรม “ทั่วไป” น่าจะมีส่วนในการช่วยทำให้พิธีกรรมนี้ยังคงอยู่ การคงอยู่นั้นส่วนใหญ่ก็คงจะคงอยู่ในเชิงของรูปแบบ (form) ส่วนเนื้อหา (content) นั้น ย่อมเปลี่ยนแปลงไป
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1566
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010661001.pdf17.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.