Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1568
Title: Design and Development of Products, Types of use that are Produced from Manufactured in Mix Natural Fibers
การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมประเภทของใช้ที่ผลิตจากการประสานจากเส้นใยธรรมชาติ 
Authors: Saifon Jampathong
สายฝน จำปาทอง
Vuthipong Roadkasamsri
วุฒิพงษ์ โรจน์เขษมศรี
Mahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science
Keywords: การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์
Research Project Design
Issue Date:  28
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Research Project Design and Development of Handicraft Products Manufactured from Bonded from Natural Fibers. Study the properties of plant fibers and the production and forming processes. Use locally sourced plant fibers include about the fibers of cotton, banana, and sedge. Combine all three materials with the method include are weaving, knitting, and pulping craftworks. To get a variety of materials, as a guideline for product development. This research aims to study the properties of plant fibers and their production and forming processes and include using plant fiber material. Diversity resulting from the combination of different materials. As a guideline for product development and bring the material obtained product design in handicrafts for options to handicrafts. The study of the properties of 3 types of plant fibers revealed that the resulting cotton wool has short, sticky fiber that measures 2-5 inches. Skin texture is soft, light, curly, and wavy. The fibers obtained from the banana sheaths are about the same length as the leaves, which are 1-3 meters (100-300 cm.), are shiny, and can be spun together to form a yarn. Banana fibers are slightly coarse. The sedge fibers are around 30 cm. are oily slippery and light, hard, and coarse fibers. The forming process is characterized by the combination of raw materials. With a weaving process thread knitting process and the pulping process.  The findings revealed that the production weaving process to be stripes, color, and hardness. The textures of various materials according to the mixed weave pattern. The production process using a pulp to make a sheet material. There are colors, textures soft and hard. Three types of fibers have mixed them in the cohesion of the three types of fibers are not equal. And last, the production process with a knitting pattern looks like lines and yarns become stickier while pulling the surface is very rough and has a different luster. Then, when the materials in all three patterns to be tested for a tensile finding of result is following, the blended material between banana fiber and cotton fiber is more ductile than other types of steam in the same category. Products have been assessed from an expert opinion on the natural fiber material of the three blend styles. Consider the suitability of materials that can be used in apparel products, household products/home decorations, and other products, etc. The approach to designing materials into products creates alternatives for product groups and consumers. Which the result of the material is not suitable for products such as clothing. However, it is suitable for application in the part of products used for beauty decoration, appliances, and home decoration. The researcher selected the materials in the weaving group to design and transform into products using the concept of Eco design. Using a simple pattern, as an accessory, the product is a bag of three types and three sizes are as a shoulder bag, tote bag, and handbag with simple forms, and can be used in daily life. Moreover, product development that is suitable for modern consumers in urban society, is consistent with the idea of that worldview or lifestyle of consumers who understand the impact of the product on the environment.
การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมประเภทของใช้ที่ผลิตจากการประสานจากเส้นใยธรรมชาติ ได้ศึกษาคุณสมบัติเส้นใยพืชและกระบวนการผลิตและการขึ้นรูป โดยใช้วัสดุจากเส้นใยพืชที่มีในท้องถิ่น ซึ่งได้แก่ เส้นใยจากฝ้าย เส้นใยจากกล้วย เส้นใยจากกก นำผสานวัสดุทั้ง 3 ชนิด ด้วยวิธีการทอ การถัก และการตีเยื่อ ให้ได้วัสดุที่หลากหลายเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยการวิจัยนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาคุณสมบัติเส้นใยพืชและกระบวนการผลิตและการขึ้นรูป โดยใช้วัสดุจากเส้นใยพืช  ความหลากหลายที่เกิดจากการผสมผสานวัสดุต่างชนิดกัน เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนำวัสดุที่ได้มาออกแบบผลิตภัณฑ์ในงานหัตถกรรมเพื่อเป็นทางเลือกในงานหัตถกรรม ซึ่งการศึกษาคุณสมบัติเส้นใยพืชทั้ง 3 ชนิด พบว่า ปุยฝ้ายที่ได้มีขนาดเส้นใยสั้นเหนียววัดได้ 2-5 นิ้ว ลักษณะผิวสัมผัส  มีลักษณะนุ่ม เบา ลักษณะหยิกเป็นคลื่น เส้นใยที่ได้จากกาบกล้วยมีความยาวเป็นของเท่าของใบ คือ 1-3 เมตร (100-300 ซม.) มีความเงา นำเส้นใยมาปั่นรวมกันได้เป็นเส้นด้าย เส้นใยกล้วยมีลักษณะค่อนข้างหยาบเล็กน้อย เส้นใยกกมีขนาดความ 30 เซนติเมตร มีความมัน ลื่น  และเบา ลักษณะเส้นใยแข็งหยาบกระด้าง กระบวนการขึ้นรูปเป็นลักษณะการผสมผสานวัตถุดิบเข้าด้วยการ โดยมีกระบวนการทอเป็นผืน  กระบวนการถักเป็นเส้น และกระบวนการตีเยื่อเป็นแผ่น การวิจัยพบว่า กระบวนการผลิตด้วยแบบทอ จะได้เป็นลายริ้ว สี ความอ่อนกระด้าง และพื้นผิวของวัสดุหลายรูปแบบตามแบบการทอผสมกัน กระบวนการผลิตด้วยแบบตีเยื่อทำเป็นวัสดุลักษณะแผ่นมี สี พื้นผิวทั้งอ่อนนิ่ม กระด้าง ผสมกันไปด้วยการเกาะประสานของเส้นใยทั้ง 3 ชนิดไม่เท่ากัน และกระบวนการผลิตด้วยแบบการถักได้ลักษณะเป็นเส้นและเส้นด้ายเหนียวขึ้นมากขณะดึง พื้นผิวมีความขรุขระมากและมันวาวต่างกันออกไป นำวัสดุที่ได้ทั้ง 3 รูปแบบทดสอบแรงดึง พบว่า วัสดุที่การผสมกันระหว่างเส้นใยกล้วยและเส้นใยฝ้ายจะมีความเหนียวมากกว่าชนิดอื่น ๆ ในกลุ่มเดียวกัน และได้ประเมินจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความคิดเห็นต่อวัสดุเส้นใยธรรมชาติ ในรูปแบบผสมผสาน 3 ชนิด พิจารณาถึงความเหมาะสมของวัสดุที่สามารถนำมาใช้ในงานผลิตภัณฑ์ประกอบเครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์ของใช้/ของตกแต่งบ้าน และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ แนวทางการนำวัสดุมาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ เป็นการสร้างทางเลือกให้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์ และผู้บริโภค ซึ่งลักษณะของวัสดุที่ได้ไม่เหมาะกับผลิตภัณฑ์จำพวกจำพวกเครื่องนุ่งห่ม แต่เหมาะสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับการตกแต่งเพื่อความสวยงาม ของใช้ และของตกแต่งในบ้าน ผู้วิจัยได้เลือกวัสดุในกลุ่มทอ มาออกแบบและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ โดยใช้แนวคิดตามแนวคิด Eco design โดยใช้รูปแบบที่เรียบง่าย เป็นเครื่องประกอบการแต่งกาย เป็น กระเป๋า 3 แบบ 3 ขนาด เป็นรูปแบบกระเป๋าสะพาย กระเป๋าหิ้ว และกระเป๋าถือที่มีรูปฟอร์มที่เรียบง่าย ที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวัน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นสินค้าที่เข้ากับผู้บริโภคสมัยใหม่ในสังคมเมือง จะสอดคล้องกับโลกทัศน์หรือไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่เข้าใจถึงผลกระทบของ ผลิตภัณฑ์ต่อสิ่งแวดล้อม
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1568
Appears in Collections:Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010681002.pdf8.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.