Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/157
Title: The Comparison of Mathematical Achievement and Mathematical Problem Solving Ability on Sequences and Series for Mattayomsuksa 5 Students between Inductive and the Traditional Learning Activities Approach  
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่าง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ
Authors: Aekaphop Fuangsomruad
เอกภพ เฟื่องสำรวจ
Maliwan Tunapan
มะลิวัลย์ ถุนาพรรณ์
Mahasarakham University. The Faculty of Science
Keywords: ลำดับและอนุกรม
อุปนัย
ความสามารถในการแก้ปัญหา
sequences and series
Inductive
problem solving ability
Issue Date:  25
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:            The comparison of mathematical achievement and mathematical problem solving ability on sequences and series for Mattayomsuksa 5 students between Inductive and the traditional learning  activities approach purposes of this research were to  1) develop a learning plans for Mathermatics by inductive and the traditional learning activities approach on sequences and series for Mattayomsuksa 5 students with a required efficiency of 75/75,  2) study the effectiveness index value of inductive and the traditional learning activities approach learning plan,  3) compare of mathematical achievement and mathematical problem solving ability on sequences and series for Mattayomsuksa 5 students between inductive and the traditional learning activities approach,  4) study learning retention in mathematics on sequences and series for Mathayomsuksa 5 students by inductive. The sample group of this research are Mathayomsuksa 5 students in Bungkan School, Mueang, Buengkan, enrolled in semester 2, 2017, selected from 2 classes by Cluster Random Sampling in which are the experimental and control groups. Students in each classroom were divided into proficient group, intermediate group and low - level group. The experimental group used the learning plan by inductive and control group used the traditional learning activities approach plan. Research tools consisted of 9 learning plans by inductive Learning and traditional learning activities approach of Mattayomsuksa 5 students–each learning plan contains 2 periods and each period contains 2 hour, with 30 item 4-multiple- choice of learning achievement test with  the range of difficulty value at 0.32-0.83, the range of discrimination value at 0.24–0.59 and reliability value at 0.80, the 5 item mathematical problem solving ability with the range of difficulty value at 0.65-0.67, the range of discrimination value at 0.31–0.67, and reliability value at 0.81, and the test for retention in learning mathermatices.  the statistical method employed for data analysis were percentage, mean, standard deviation and Hotelling  T2, dependent t - test which were used in the testing hypotheses.  The results of the study were as follows:  1) The mathematical-learning plan by inductive learning and the traditional learning activities approach on sequences and series for Mathayomsuksa 5 students had an efficiency of 79.74/77.52 and 77.93/76.48 respectively.  2) The mathematical-learning plan on sequences and series for Mattayomsuksa 5 students by inductive learning and the traditional learning activities approach had an effective index are 0.6560 and 0.6378 respectively, The results have shown that the students have been developed by the inductive learning activity with 65.60 in percentage, comparing with the traditional learning activities approach, which has been developed only 63.78 in percentage.  3) Mattayomsuksa 5 students who study inductive Learning have a mathematical achievement and mathematical problems solving ability on sequences and series have a higher than Mattayomsuksa 5 students who study traditional learning activities approach at the 0.05 of significance. 4) Mattayomsuksa 5 students who learning by inductive method on sequences and series the result of the study have a mathematical achievement after study and after study 2 weeks had no difference.  In conclusion, an organization of mathematical-learning activity using inductive learning on sequences and series for Matthayomsuksa 5 was appropriately efficient and effective to enhance the learning achievement. The students have the ability to solve mathematical problems, It can be used to create mathematics learning activity. It could be implemented to organize the learning activity to achieve the learning objective. The teacher should be supported to implement this in learning plan and teaching method in the future.            
           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้  1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยและแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75  2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  4) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบึงกาฬ อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 70 คน จาก 2 ห้องเรียน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ซึ่งจัดเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง โดยแต่ละห้องเรียนจัดการเรียนรู้แบบคละความสามารถ กลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน คละกันไป กลุ่มทดลองเรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยและกลุ่มควบคุมเรียนด้วยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยและแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 5 จำนวนแบบละ 9 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.32 - 0.83 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.24 - 0.59 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เป็นแบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.65 - 0.67 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.31 - 0.67 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 และแบบทดสอบวัดความคงทนในการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ Hotelling T2 และ t – test (Dependent Samples) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้  1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยและแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.74/77.52 และ 77.93/76.48 ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75  2) ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ 0.6560 และ 0.6378 ตามลำดับ ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนคิดเป็นร้อยละ 65.60 และ 63.78 ตามลำดับ  3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรมสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย เรื่อง ลำดับและอนุกรม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนและหลังเรียนผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ ไม่แตกต่างกัน  โดยสรุป  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ช่วยเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะการแก้ปัญหา เกิดการเรียนรู้และบรรลุผลตามเป้าหมาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรสนับสนุนให้ครูนำวิธีการนี้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนต่อไป           
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/157
Appears in Collections:The Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
58010283006.pdf3.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.