Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1570
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Kongkiat Temtumnan | en |
dc.contributor | ก้องเกียรติ เต็มตำนาน | th |
dc.contributor.advisor | Thitisak Wechkama | en |
dc.contributor.advisor | ฐิติศักดิ์ เวชกามา | th |
dc.contributor.other | Mahasarakham University. Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science | en |
dc.date.accessioned | 2022-05-25T09:13:13Z | - |
dc.date.available | 2022-05-25T09:13:13Z | - |
dc.date.issued | 14/3/2022 | |
dc.identifier.uri | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1570 | - |
dc.description | Doctor of Philosophy (Ph.D.) | en |
dc.description | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) | th |
dc.description.abstract | The purposes of this research were to problems and obstacles, participating process and Khok Yai Community forest management model for sustainable development. The sample population consisted of people involved in forest management in the Khok Yai community forest, Wapi Pathum District Maha Sarakham Province. It consists of 3 groups of people, namely 30 Key Informants, 5 Casual Informants, and 30 General Informants, totaling 65 person. Obtained by Purposive sampling. The tools used in the research were interview forms and observation forms. Collected from documents and field data obtained from interviews. Focus Group Discussion and Observation. analyze data to generate conclusions. The results revealed that: 1. Problems and obstacles in public participation in community forest conservation and management Maha Sarakham Province. problems arising from the use of natural resources. The problem of salt farming even leads to saline soil problems and ineffective cultivation, inability to explore or establishing a clear boundary line between the forest area and the area used by the people, thereby causing the problem of encroachment, encroachment on forest areas to grow cash crops has brought about long-term problems affecting communities around Khok Yai Forest, including problems and finding solutions Even with the help and advice from both the public and private sectors, it does not correspond to the geography of the community. 2. The process of creating participation for sustainable development of people in community forest management in Khok Yai forest. Wapi Pathum District Maha Sarakham Province. It started with planning for the conservation of Khok Yai Community Forest. Organizing activities to conserve the Khok Yai Community Forest. Appoint a conservation committee jointly creating rules, regulations, and evaluation of community forest management and Apply knowledge and lessons learned to be modified so that it can be applied to the community appropriately and effectively. 3. Khok Yai Community Forest Management Model Wapi Pathum District Maha Sarakham Province The development consists of 4 components: 1) principle 2) objective 3) The community forest management process consists of 3.1) Government and people sectors must work together to build a sustainable community forest conservation system. 3.2) Encouraging people to plant forests according to the theory of forest restoration development due to the royal initiative. 3.3) Building knowledge and understanding about community forests and related laws. 4) Conditions for applying the format. | en |
dc.description.abstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม และรูปแบบการจัดการป่าชุมชนป่าโคกใหญ่เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประชากรกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการป่าชุมชนป่าโคกใหญ่ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วยกลุ่มบุคคล 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้รู้ จำนวน 30 คน กลุ่มเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐผู้ปฎิบัติ จำนวน 5 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป จำนวน 30 คน รวมทั้งสิ้น 65 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต เก็บรวมรวมจากเอกสารและข้อมูลภาคสนามที่ได้จากการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มและการสังเกตมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุป ผลการวิจัย พบว่า 1. ปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์และการจัดการป่าชุมชน จังหวัดมหาสารคาม ได้แก่ ปัญหาที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการทำนาเกลือกระทั่งนำมาซึ่งปัญหาดินเค็มและการเพาะปลูกที่ไม่ได้ผล การไม่สามารถสำรวจ หรือกำหนดบริเวณแนวเขตที่ชัดเจนระหว่างพื้นที่ป่ากับพื้นที่ใช้ประโยชน์ของประชาชนได้จึงก่อให้เกิดปัญหาการบุกรุกเรื่อยมา การบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ ได้นำมาซึ่งปัญหาที่ส่งผลระยะยาวต่อชุมชนรอบป่าโคกใหญ่ รวมถึงปัญหาและหาทางออก แม้ได้รับความช่วยเหลือและคำแนะนำจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนยังไม่สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์ของชุมชน 2. กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประชาชนในการจัดการป่าชุมชนป่าโคกใหญ่ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม เริ่มต้นจากการวางแผนเพื่อการอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกใหญ่เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดทรัพยากรทางวัฒนธรรมที่มีในชุมชน อันเกิดจากความร่วมมือร่วมใจของชาวบ้านในชุมชนที่มีการทำงาน เพื่อการอนุรักษ์ป่าด้วยตนเอง นำไปสู่การจัดกิจกรรมในการอนุรักษ์ป่าชุมชนโคกใหญ่ อาศัยมิติทางวัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม และความเชื่อที่มีอยู่แต่ดั้งเดิมตามจารีตอีสาน ที่เป็นสิ่งสำคัญในการยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน แต่งตั้งคณะกรรมการอนุรักษ์ การร่วมกันสร้างระเบียบ กฎเกณฑ์ ประเมินผลการจัดการป่าชุมชน เพื่อวางมาตรการที่เหมาะสมในการจัดการป่าชุมชนโดยการมีส่วนร่วม โดยการทำข้อตกลงร่วมกัน และชาวบ้านได้นำความรู้ และบทเรียนที่ได้ มาปรับแก้เพื่อให้สามารถนำมาใช้กับชุมชนอย่างเหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพ 3. รูปแบบการจัดการป่าชุมชนป่าโคกใหญ่ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการป่าชุมชน ประกอบด้วย 3.1) ภาครัฐและภาคประชาชนต้องร่วมมือสร้างระบบอนุรักษ์ป่าชุมชนอย่างยั่งยืน 3.2) การส่งเสริมให้ประชาชนปลูกป่าตามทฤษฏีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ 3.3) การสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องป่าชุมชนและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 4) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Mahasarakham University | |
dc.rights | Mahasarakham University | |
dc.subject | ป่าชุมชน | th |
dc.subject | รูปแบบ | th |
dc.subject | การพัฒนาที่ยั่งยืน | th |
dc.subject | Community Forest | en |
dc.subject | Model | en |
dc.subject | Sustainable Development | en |
dc.subject.classification | Agricultural and Biological Sciences | en |
dc.title | Community forest management model by participating for sustainable development Maha Sarakham province | en |
dc.title | รูปแบบการจัดการป่าชุมชนโดยการมีส่วนร่วม เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน จังหวัดมหาสารคาม | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | Faculty of Fine - Applied Arts and Cultural Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
60012160006.pdf | 4.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.