Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1643
Title: Learning Management Using SSCS Model for The Development of Mathematical Problem Solving Ability of Mathayomsuksa 5 Students
การจัดการเรียนรู้แบบ SSCS เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Authors: Nicha Phankanok
ณิชา พันธ์กนก
Atthapon Intasena
อัฐพล อินต๊ะเสนา
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: ความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์
การจัดการเรียนรู้แบบ SSCS
Learning Management Using SSCS Model
Mathematical Problem Solving Ability
Issue Date:  3
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research has objectives are 1) To develop SSCS learning management on sequence for the students secondary 5 to be effective standard 75/75 2) To compare ability solving math problems between pre-test and post-test of the students received SSCS learning management on sequence. 3) To learn contentment to study the mathematics of the students secondary 5 with SSCS learning management. The simple group used in this research was students secondary 5 at Phadungnaree School. They studying in the second semester of the academic 2021. 40 people from group randomization Research tools are 1) SSCS learning management plan amount 5 plans 10 hours. 2) Achievement test learning mathematics. Subjective exam amount 5 items. 4) To learn contentment to study SSCS learning management of the students secondary 5 amount 10 items. The statistics used in the research such as percentage, average, standard deviation and t-test statistics (t-test dependent sample) The result of the research follows: 1) SSCS learning management plan on sequence of the students secondary 5 to be effective of 76.15/79.13 to be standard 75/75 2) The students who were able to solve math problems received SSCS learning management post-test highly than pre-test. Statistically significant at the .05 level. 3) Th students secondary 5 that learn SSCS learning management. The overall satisfaction was at a very high level. It has an average of 4.55 and a standard deviation of 0.49.
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย คือ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS เรื่อง ลำดับ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS เรื่อง ลำดับ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้นั้นเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนผดุงนารี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 จำนวน 40 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 แผน 10 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SSCS ข้ออัตนัย จำนวน 5 ข้อ  3) แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียน เรื่อง ลำดับ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SSCS เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test dependent sample ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS เรื่อง ลำดับ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.15/79.13 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 75/75 2) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.49
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1643
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010552021.pdf5.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.