Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1649
Title: The Development of Learning Activity Based on Problem Based Learning Cooperated with Web-based Learning to Enhance 10th  grade’s Computational Thinking Ability
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนบนเว็บเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงคำนวณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Authors: Supamas Sankoke
ศุภมาส แสนโคก
Urit Charoen-In
อุฤทธิ์ เจริญอินทร์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนบนเว็บ
ความสามารถในการคิดเชิงคำนวณ
Problem based learning cooperated with web based learning
Computational thinking
Issue Date:  6
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research and development aimed 1) to develop the learning activity based on problem based learning cooperated with web-based Learning to Enhance 10th  grade’s computational thinking ability on momentum and collisions with the efficiency value (E1/E2) of 75/75 and 2) to develop computational thinking ability of 10th  grade’s to pass the excellent level using learning activity based on problem based learning cooperated with web-based Learning on momentum and collisions. The sample consisted of 34 students in 10th  grade’s at Mahasarakham University Demonstration School (Secondary), obtained using the cluster random sampling technique. The research instruments included 1) 6 plan, 12 hours for learning activity based on problem based learning cooperated with web-based Learning 2) 6 lessons for web-based Learning 3) 2 items computational thinking ability test and 4) 20 items achievement test. The statistics used in analysis comprised percentage, mean, standard deviation, and One sample t-test.                The results of the research were as follows:                1. The efficiency value (E1/E2) of the learning activity based on problem based learning cooperated with web-based Learning to Enhance 10th grade’s computational thinking ability was 78.20/81.73, which was higher than the assigned criterion of 75/75.                2. Development of computational thinking ability of students in 10th grade’s with the learning activity based on problem based learning cooperated with web-based Learning. The average score of computational thinking ability was 27.88 from a full score of 32, representing 87.13 percent. There were 34 students who passed the criteria of excellent level. The students had scores of computational thinking ability higher than the criterion 75 percent at .01 significant level.
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีความมุ่งหมายคือ 1)  เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนบนเว็บเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงคำนวณ เรื่อง โมเมนตัมและการชน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และ 2) เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนบนเว็บ เรื่อง โมเมนตัมและการชน ให้ผ่านเกณฑ์ในระดับยอดเยี่ยม กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/7 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนบนเว็บ เรื่อง โมเมนตัมและการชน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 6 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง 2) บทเรียนบนเว็บจำนวน 6 บทเรียน 3) แบบวัดความสามารถในการคิดเชิงคำนวณแบบอัตนัยจำนวน 2 ข้อ และ 4) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัย จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One Sample t-test           ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้           1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนบนเว็บเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงคำนวณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.20/81.73 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 75/75           2. การพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/7 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับบทเรียนบนเว็บ มีคะแนนความสามารถในการคิดเชิงคำนวณเฉลี่ยเท่ากับ 27.88 จากคะแนนเต็ม 32 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 87.13  มีนักเรียนที่คะแนนผ่านเกณฑ์ระดับยอดเยี่ยมทั้ง 34 คน  และนักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดเชิงคำนวณสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1649
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010558017.pdf5.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.