Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1659
Title: The Guidelines to Develop the Digital Leadership for Teachers under the Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham
แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม
Authors: Pitpimon Sunthawong
พิชญ์พิมล สุนทะวงศ์
Tharinthorn Namwan
ธรินธร นามวรรณ
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: แนวทางการพัฒนา
ภาวะผู้นำดิจิทัล
Guidelines to Develop Digital Leadership
Digital Leadership
Issue Date:  26
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed 1) to study current conditions, desirable conditions, and needs of the digital leadership for teachers and 2) to study the guidelines to develop the digital leadership for teachers under the Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham. The study was divided into 2 phases. Phase 1 was the study of current conditions, desirable conditions, and the needs of the digital leadership for teachers under the Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham. The participants were 54 school directors and 260 teachers totally 314 participants. They were selected by Krejcie and Morgan’s method including Stratified Random Sampling and Simple Random Sampling. The research instrument in this phase was a constructed 5-level rating scale questionnaire. Phase 2 was the guidelines to develop the digital leadership for teachers through an evaluation among 5 academic experts selected by purposive sampling. The research instruments in the second phase were a semi-structured interview and a questionnaire on appropriateness and feasibility of the guidelines to develop the digital leadership for teachers under the Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham. The statistics used to analyze the data consisted of the frequency, the percentage, mean, standard deviation, and priority needs index. The findings revealed that; 1. The current conditions of the digital leadership for teachers under the Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham were overall at the low level. The highest average was the cooperation. The desirable conditions of the digital leadership for teachers under the Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham were overall at the highest level. The highest average was the digital vision. The needs of the digital leadership for teachers and under the Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham were ranked in the order from high to low as follows; digital vision, communication, digital knowledge and cooperation. 2. The guidelines to develop the digital leadership for teachers under the Secondary Educational Service Area Office Mahasarakham consisted of 25 guidelines. In overall, the mean of appropriateness was 4.98 as the highest level and the mean of feasibility was 4.93 as also the highest level.
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 54 คน และครู จำนวน 260 คน รวม 314 คน ได้มาโดยวิธีกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างขั้นต่ำ ของ Krejcie และ Morgan ประกอบด้วยการสุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยใช้ขนาดสถานศึกษาเป็นหน่วยในการสุ่ม และใช้เทคนิคการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ระยะที่ 2 แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม และประเมินแนวทางโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับน้อย ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความร่วมมือ ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านวิสัยทัศน์ดิจิทัล ส่วนความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ด้านวิสัยทัศน์ดิจิทัล 2) ด้านการสื่อสาร 3) ด้านความรู้ดิจิทัล 4) ด้านความร่วมมือ 2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม มีทั้งหมด 25 แนวทาง โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.98 และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.93
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1659
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010581038.pdf6.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.