Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1666
Title: The Development of Management Processes with PLC (Professional Learning Community) in Roi Et Primary Educational Service Area Office 1 Schools
การพัฒนาแนวทางการบริหารโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1
Authors: Orawan Suksri
อรวรรณ สุขศรี
Sutham Thamatasenahant
สุธรรม ธรรมทัศนานนท์
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: แนวทาง
ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
วงจรคุณภาพเดมมิ่ง
guidelines
Professional learning community
The Deming Cycle
Issue Date:  18
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this research were to study the current and desirable condition and the demand of management processes with PLC (Professional Learning Community) in Roi Et primary educational service area office 1 schools. The study was divided into 2 phases; 1. The study of the current and desirable condition and the demand of management processes with PLC (Professional Learning Community) in schools which consisted of 460 of school principals and teachers in Roi Et primary educational service area office 1 as the sample group, and questionnaire and interview form as the instruments of this study. Statistics used in quantitative data analysis covered frequency, percentage, average, standard deviation and Priority Needs Index (PNImodified). 2. The development of management processes with PLC (Professional Learning Community) in schools operated as qualitative research using research tools; interview and group discussion, and content analyzed. This study found that 1. The management processes with PLC (Professional Learning Community) in schools’ overall perspectives were in the highest level. The vision and common values field, professional learning and developing field, local supportive structure field, local hospitality field, joined-up leadership field, and team harmony field were descending demand orders of this result. And 2. The management processes with PLC (Professional Learning Community) consisted of 6 fields and 27 guidelines in these orders; 4 guidelines in vision and common values field, 5 guidelines in team harmony field, 5 guidelines in joined-up leadership field, 4 guidelines in professional learning and developing field, 5 guidelines in local hospitality field, and 4 guidelines in local supportive structure field by using The Deming Cycle as a driven instrument of the management processes. Moreover, the overall success conditions revealed that the guidelines’ suitability and possibility were in the highest level.
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 จำนวน 460 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNImodified) ระยะที่ 2 การพัฒนาแนวการบริหารโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วม ด้านการเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ ด้านโครงสร้างสนับสนุนชุมชน ด้านชุมชนกัลยาณมิตร ด้านภาวะผู้นำร่วม ด้านทีมร่วมแรงร่วมใจ ตามลำดับ และ 2. การบริหารโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในสถานศึกษา ประกอบด้วย 6 ด้าน 27 แนวทาง  ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วม มี 4 แนวทาง ด้านทีมร่วมแรงร่วมใจ มี 5 แนวทาง ด้านภาวะผู้นำร่วม มี 5 แนวทาง ด้านการเรียนรู้และการพัฒนาวิชาชีพ มี 4 แนวทาง ด้านชุมชนกัลยาณมิตร มี 5 แนวทาง และด้านโครงสร้างสนับสนุนชุมชน มี 4 แนวทาง โดยใช้วงจรคุณภาพเดมมิ่ง ขับเคลื่อนการบริหารงานดังกล่าว และ 4)เงื่อนไขความสำเร็จ พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางอยู่ในระดับมากที่สุด
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1666
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010581068.pdf7.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.