Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1671
Title: | Developing the Ability to Solve Mathematical Problems about Percentage Proportion and Ratio by using the Problem Based Learning with the Mixed Media of Mathayomsuksa 1 การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ โดยการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 |
Authors: | Sirinda Krutkham สิรินดา ครุธคำ Titiworada Polyiem ฐิติวรดา พลเยี่ยม Mahasarakham University. The Faculty of Education |
Keywords: | ปัญหาเป็นฐาน สื่อประสม ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน Problem-based Mixed Media Math Problem Solving Ability Achievement |
Issue Date: | 2 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | The objectives of this research were to 1) Develop learning management Developing the ability to solve mathematical proportion and ration by using the problem based learning with the mixed media of Matthayomsuksa 1 require efficiency of 70/70; 2) To compare the math problem solving abilities of Matthayomsuksa 1 students on ratio, proportion and percentage by using the problem as a base together with the mixed media compared with the criteria of 70%; 3) To compare the academic achievement athematics by using problem-based together with mixed media between before and after school on the ratio and percentage for Mathayomsuksa 1 students; 4) To study the satisfaction of teaching and learning by using problem-based learning together with mixed media to promote problem solving skills in mathematics about ratios and percentages for the students in Matthayomsuksa 1, the sample group used in this research were: 40 students in semester 2, Academic Year 2021 consisted of 40 students from 12 classrooms, who were randomly assigned to a group (Cluster Random Sampling) learning to solve math problems on ratios, proportions and percentages by using problems as a base together with the mixed media of 16 plans of high school students of each type, totaling 16 hours. (2) percentage is a four-choice test. There were 30 items a difficulty (p) was from 0.23-0.63, a power to distinguish each item (B) from 0.34-0.73, a confidence in the whole issue was 0.89 (3) types. A test to Subjective form with 5 annotations, with difficulty (p) ranging from 0.51–0.59, with discriminating powers (B) ranging from 0.37–0.47, with confidence in the whole text of 0.93. Satisfaction 5-level estimation scale, 20 items, with a consistency index (IC) of 0.91. The statistics used in the data analysis were percentage and mean standard deviation.
The results of the research appear as follows :
1. A learning management plan using KWDL learning activities combined with the use of electronic media on single variable linear inequalities. Matthayomsuksa 1, efficiency according to the criteria 86.17/76.16.
2. The students who studied by using learning activities to solve math problems using problems as a problem together with mixed media on ratios, proportions and percentages in Matthayomsuksa 1 had the ability to solve math problems higher than the percentage criteria. 70 significant at .05.
3. Students who studied by using learning activities to solve math problems using problems as a problem together with mixed media on the subject, ratio, proportion and percentage of Matthayomsuksa 1 had higher learning achievement after school than before. Significantly at .05.
4. The students' satisfaction towards the learning management by using the math problem solving activity using the problems together with the mixed media on ratio, proportion and percentage of Matthayomsuksa 1 was at the highest level. การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยโดยการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ โดยการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ70 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง อัตราส่วน และร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อประสมเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน และร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนผดุงนารี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน จาก 12 ห้องเรียน ซึ่งได้มาสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละโดยการใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อประสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 16 แผน รวมเวลา 16 ชั่วโมง (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.23–0.63 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (r) ตั้งแต่ 0.34–0.73 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.89 (3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 1 เป็นแบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.51–0.59 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (B) ตั้งแต่ 0.37–0.47 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.93 (4) แบบวัดความพึงพอใจที่เป็นแบบวัดแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่า เท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 86.17/76.16 2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสื่อประสม เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นบานร่วมกับสื่อประสม เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลคะแนนเฉลี่ยทั้งฉบับ 4.62 อยู่ในระดับมากที่สุด |
Description: | Master of Education (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1671 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63010582027.pdf | 5.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.