Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1706
Title: The Wisdom of Treating Epilepsy with Herbal Medicines in the Khok Klang Community, Nong Ko Sub-district, Borabue District, Maha Sarakham Province
การสืบทอดภูมิปัญญาสมุนไพรท้องถิ่นในการรักษาโรคลมชัก กรณีศึกษาบ้านโคกกลาง  ตำบลหนองโก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
Authors: Chamnan Srikhot (Jantapunno)
ชำนาญ ศรีโคตร (จนฺทปุณฺโณ)
Kiattisak Bangperng
เกียรติศักดิ์ บังเพลิง
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: การสืบทอด
ถ่ายทอด
อนุรักษ์
ภูมิปัญญาการรักษา
โรคลมชัก
Sustainability
Knowledge Transmission
Preservation
Wisdom of Treatment
Epilepsy
Issue Date:  10
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The research aimed at studying a sustainability of wisdom on local herbs for epilepsy treatment and proposing the guidelines for promoting and preserving the wisdom. Participant observations and field trips used in qualitative research methods were employed to collect data. The collected data was analyzed through the concepts of local wisdom and medical pluralism. In the study, the focus group was also set up for information exchanges and discovering guidelines to sustain the wisdom. The locals, the youth, scholars, and herbalists participated in the discussion. The findings of the study showed that Sanyen clan in Ban Khok Glang had maintained and transmitted the wisdom of epilepsy treatment since their ancestors’ times. They treated patients both inside and outside of the village. The epilepsy medicines were extracted from fourteen herbs: 1) Khad Khao, 2) Kha Rok, 3) Chang Nao, 4) Krachao, 5) Hoo Ling, 6) Madua Plong, 7) Ta Gai, 8) Oi Da, 9) Hua Ya Haew Moo, 10) Kao Yen Nua, 11) Gafak Noina, 12) Gafak Mon, 13) Bai Khanoon, and 14) Khasarn Niew. For the treatment, all the herbs were boiled and the patients drank until they recovered well. Importantly, both patients and families had to be disciplined and followed the instructions strictly. The treatment was unique and the sickness was related with the contraindication, instructions, and social relationship. As for the conservation and succession approaches for sustainability, The following guidelines should be praticed: 1) taking notes and collecting lists of medicinal plants in the community, 2) enhancing strategies and methods for introducing the body of wisdom, 3) creating a local curriculum on herbal wisdom, 4) establishing a herbal learning center, 5) strengthening treatment areas, 6) using the temple as a place to store wisdom, inherit and pass it on, and 7) engaging with local authorities. Although there had been changes and the modern medicine had dominated the treatments, seeing values and employing the wisdom in the treatments were known as medical pluralism. People in the community used local herbs to take care of their health.
งานวิจัยเรื่อง “การสืบทอดภูมิปัญญาสมุนไพรท้องถิ่นในการรักษาโรคลมชัก กรณีศึกษาบ้านโคกกลาง  ตำบลหนองโก อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม” นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการสืบทอดภูมิปัญญาสมุนไพรท้องถิ่นในการรักษาโรคลมชัก และสร้างแนวทางการส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญารักษาโรคดังกล่าว โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการลงพื้นที่สนาม แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยแนวคิดภูมิปัญญาและพหุลักษณ์ทางการแพทย์  และได้จัดเวทีสนทนากลุ่มเพื่อเปิดพื้นที่การแลกเปลี่ยนและหาแนวทางการสืบสานภูมิปัญญาแบบมีส่วนร่วมจากชาวชุมชน เยาวชน นักวิชาการ และหมอยาพื้นบ้าน เพื่อทราบปัญหาและการสืบทอดภูมิปัญญารักษาโรคชมชัก อันเป็นผลมากจากจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม ตลอดถึงการเข้ามาของการแพทย์สมัยใหม่ ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนบ้านโคกกลางมีภูมิปัญญาการรักษาโรคมชักที่สืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ โดยสืบทอดในกลุ่มตระกูลแสนเย็น ทำการรักษาอาการโรคลมชักให้กับผู้ป่วยในชุมชนและนอกชุมชน ภูมิปัญญาโรคลมชักประกอบด้วยตัวยาที่สำคัญอยู่ 14 ชนิด คือ 1.คัดเค้า 2. คำรอก  3. ช่างน้าว  4.กระเชา 5. หูลิง 6. มะเดื่อปล้อง 7. ตาไก้ 8. อ้อยดำ 9. หัวหญ้าแห้วหมู 10. ข้าวเย็นเหนือ 11. กาฝากน้อยหน่า 12. กาฝากหม่อน 13. ใบขนุน และ 14. ข้าวสารเหนียว โดยการรักษาจะนำมาต้มให้ผู้ป่วยดื่มจนกว่าจะหาย ทั้งผู้ป่วยและเครือญาติจะต้องมีระเบียบวินัยและปฏิบัติตามข้อห้ามที่หมอยาโรคลมชักกำหนดด้วย เป็นการรักษาที่เป็นลักษณะเฉพาะของภูมิปัญญาท้องถิ่นซึ่งมิได้มองการเจ็บป่วยเชิงเดี่ยวแบบแยกขาดแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ยังสัมพันธ์กับข้อห้าม แนวปฏิบัติ และความสัมพันธ์ทางสังคมด้วย ในส่วนแนวทางการส่งเสริมและการอนุรักษ์ ในส่วนของแนวทางการอนุรักษ์สืบทอดนั้น เพื่อความยั่งยืนนั้น ควรที่แนวทางต่อไปนี้ 1) การจดบันทึกรวมรวมรายชื่อพืชสมุนไพรในขุมชน 2) เสริมสร้างกลยุทธ์และวิธีการแนะนำองค์ความรู้ภูมิปัญญา 3) สร้างหลักสูตรท้องถิ่นเกี่ยวกับภูมิปัญญาสมุนไพร  4) จัดทำศูนย์เรียนรู้สมุนไพร 5) เสริมสร้างพื้นที่การบำบัดรักษาโรค 6) การใช้วัดเป็นที่เก็บรักษาภูมิปัญญา สืบทอด และถ่ายทอด 7) สร้างการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น  ฉะนั้นแล้ว ด้วยเงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลงและการแพทย์สมัยใหม่จะเข้ามาครอบงำการรักษาการเจ็บไข้ได้ป่วย แต่การเห็นคุณค่าและนำภูมิปัญญามาประกอบในการรักษาโรคด้วย นับเป็นพหุลักษณ์ทางการแพทย์ทำให้ชุมชนมีทางเลือกในการจัดการสุขภาพด้วยสมุนไพรท้องถิ่นมากขึ้น และนำมาซึ่งการเห็นคุณค่าและความภาคภูมิใจในมรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1706
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010154002.pdf4.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.