Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/170
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorChonnikan Chammuangpaken
dc.contributorชนนิกานต์ ฉ่ำเมืองปักษ์th
dc.contributor.advisorNongluk Viriyapongen
dc.contributor.advisorนงลักษณ์ วิริยะพงษ์th
dc.contributor.otherMahasarakham University. The Faculty of Scienceen
dc.date.accessioned2019-08-19T06:27:46Z-
dc.date.available2019-08-19T06:27:46Z-
dc.date.issued25/5/2019
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/170-
dc.descriptionMaster of Science (M.Sc.)en
dc.descriptionวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)th
dc.description.abstractLearning with a CIPPA model is a form that can develop the students to have the ability. to create knowledge for themselves. The curriculum focuses on the learners. The purposes of this research were 1) to develop lesson plans by using CIPPA model of Mathayomsuksa 5 students on the subject of sequence and series which met the 75/75 criteria, 2) to study the effectiveness index of CIPPA model of Mathayomsuksa 5 students on the subject of sequence and series, 3) to compare the ability to solve mathematical problems of Mathayomsuksa 5 students on the subject of sequence and series after learning with the CIPPA model with the set criterion of 70 percent, 4) to compare the ability to mathematical connection of Mathayomsuksa 5 students on the subject of sequence and series after learning with the CIPPA model with the set criterion of 70 percent. The sample group was Mathayomsuksa 5 students in Toomyaiwittaya school, Kumuang, Buriram, enrolled in semester 2, 2018, selected amount 30 people from 1 class by cluster random sampling. Students in classroom were divided into proficient group, with mixed ability. The instruments used for colleting data were lesson plans by using CIPPA model of Mathayomsuksa 5 students on the subject of sequence and series amount 20 plans including pretest and posttest, achievement test of sequences and series of multiple-choice amount 20 items with reliability of 0.72 and Problem solving ability test and connection in mathematics, sequences and series of 5 questions with reliability of 0.76. Data were analysed by using percentage, mean and standard deviation. The t – test for one sample and z – test for population proportion were used for the hypothesis testing. The results of the study were as follows: 1. Efficiency of lesson plans which used CIPPA model of Mathayomsuksa 5 students on the subject of sequence and series which the researcher created was 85.78/76.25. Moreover, It was higher than the criterion set at 75/75. 2. The effectiveness Index of CIPPA model of Mathayomsuksa 5 students on the subject of sequence and series was 0.6933  which has learning progress 69.33 percent. 3. The ability to solve mathematical problems on the subject of sequence and series of Mathayomsuksa 5 students was not less than 70 percent of all students which was higher than 70 percent after learning with the CIPPA model, at .05 level of significance. 4. The ability to solve mathematical connection on the subject of sequence and series of Mathayomsuksa 5 students not less than 70 percent of all students is higher than 70 percent after learning with the CIPPA model, at .05 level of significance. In conclusion, learning with the CIPPA model is efficient and effective manner. Students have the ability to solve problems and the ability to link in mathematics, Can be applied in teaching to make the students what the problem solving skills and skills connect, It's make to learning and achieve the target effectively.en
dc.description.abstractการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปา (CIPPA) เป็นรูปแบบหนึ่งที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบซิปปา เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบซิปปา เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบซิปปา กับเกณฑ์ร้อยละ 70 4) เพื่อศึกษาความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบซิปปา กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนตูมใหญ่วิทยา อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน ซึ่งมีการจัดห้องเรียนแบบคละความสามารถ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แผนการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 20 แผน รวมทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ลำดับและอนุกรม แบบปรนัย จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.72 และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม แบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.76 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t – test for one sample และ z-test for population proportion ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบซิปปา เรื่อง ลำดับและอนุกรม  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.78/76.25 เป็นไปตามที่กำหนดไว้คือ 75/75 2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบซิปปา เรื่อง ลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เท่ากับ 0.6933  ซึ่งมีความก้าวหน้าทางการเรียนร้อยละ 69.33 3. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปา จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด  มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปา จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด  มีความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสรุปการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปา มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเชื่อมโยง เกิดการเรียนรู้และบรรลุผลตามเป้าหมาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปาth
dc.subjectความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์th
dc.subjectความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์th
dc.subjectCIPPA modelen
dc.subjectability to solve mathematical problemsen
dc.subjectability to solve mathematical connectionen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleThe Development of Learning Management Based on CIPPA Model for Enhance  Mathematical Problem Solving and Connection Abilities in Sequence and Series of Mathayomsuksa 5 Studentsen
dc.titleการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปาที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5th
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010283012.pdf4.05 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.