Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1722
Title: | Effect of Learning Activity Management Emphasized Heuristics Thinking Method with Open-Ended Questions on Mathematical Achievement and Reasoning Ability on Ratio and Percentage of Prathomsuksa 6 Students ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นการคิดแบบฮิวริสติกส์ร่วมกับการใช้คำถามปลายเปิดที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 |
Authors: | Kanjanaporn Butsrimuang กัญจนาพร บุตรศรีเมือง Nongluk Viriyapong นงลักษณ์ วิริยะพงษ์ Mahasarakham University. The Faculty of Science |
Keywords: | คำถามปลายเปิด การคิดแบบฮิวริสติกส์ ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ Open-ended question Heuristics thinking method Mathematical reasoning ability |
Issue Date: | 22 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | Effect of learning activity management emphasized heuristics thinking method with open-ended questions. It can encourage learners to think about problems ,find correct answers and check answers. It also trained students to think rationally and systematically so that they can develop their thinking skills at a high level. The purposes of this research were (1) to develop the learning activity management emphasized heuristics thinking method with open-ended questions on ratio and percentage of Prathomsuksa 6 students efficiency criteria 75/75 (2) to compare the mathematical achievement and reasoning abilities of Prathomsuksa 6 students between the mathematic learning activity with emphasized heuristics thinking method with open-ended questions and the regular learning management (3) to compare mathematical reasoning abilities of students before and after learning by emphasized heuristics thinking method with open-ended questions, (4) to compare the mathematical achievement of Prathomsuksa 6 students after studied and after 2 weeks studied by emphasized heuristics thinking method with open-ended questions. The samples group were Prathomsuksa 6 students studied in the second semester of the academic year 2021 obtained by cluster random sampling. The experimental group was divided into students of Banlak School, 26 students, and the control group was Chumchonbannoncharoen School, 27 students. The research instrument were (1) 20 lesson plans of mathematics learning management with emphasized heuristics thinking method with open-ended questions, (2) 20 lesson plans of regular learning management, (3) mathematics achievement test No.1 and No.2, which is a parallel were 20 four-alternative items with discrimination of each item (B) was 0.20 - 0.80, and the reliability of all items was 0.74, (4) mathematical reasoning test No. 1 and No. 2, It was 4 items, with discrimination of each item was 0.40 - 0.80, and the reliability of all items was 0.78. The research statistics used were a percentage, a average, a standard deviation and the hypothesis test by the correlation of Pearson's (r), t-test (Dependent Samples) and Hotelling's T2. The results of the study were as follows :
1. The lesson of the mathematics learning management using emphasized heuristics thinking method with open-ended questions, its efficiency were 84.88/79.62, respectively the setting criteria 75/75.
2. The mathematical learning achievement and reasoning abilities of Prathomsuksa 6 students who learned by mathematics learning management using emphasized heuristics thinking method with open-ended questions were higher than regular learning students at the .05 level of significant.
3. The mathematical reasoning ability of Prathomsuksa 6 students after learned by mathematics learning management using emphasized heuristics thinking method with open-ended questions higher than before learning at the .05 level of significant.
4. The students who learned by using learning activity management emphasized heuristics thinking method with open-ended questions. There was no difference in mathematical achievement of after studied and after 2 weeks of studied.
In conclusion, learning management using emphasized heuristics thinking method with open-ended questions is effective and efficient can be used to organize learning activities to achieve the objectives. การเรียนรู้โดยเน้นการคิดแบบฮิวริสติกส์ร่วมกับการใช้คำถามปลายเปิด เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้การคิดแก้ปัญหาและสามารถหาคำตอบตรวจคำตอบได้ อีกทั้งยังฝึกให้นักเรียนได้คิดอย่างมีเหตุผล และเป็นระบบ จนสามารถเกิดการพัฒนาทักษะการคิดในระดับสูงได้ การวิจัยครั้งนี้จึงมีจุดมุ่งหมาย (1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นการคิดแบบฮิวริสติกส์ร่วมกับการใช้คำถามปลายเปิด เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นการคิดแบบฮิวริสติกส์ร่วมกับการใช้คำถามปลายเปิด และกลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ (3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นการคิดแบบฮิวริสติกส์ร่วมกับการใช้คำถามปลายเปิดระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ (4) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นการคิดแบบฮิวริสติกส์ร่วมกับการใช้คำถามปลายเปิด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มโรงเรียนบ้านกรวด 2 อำเภอบ้านกรวด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่มจำนวน 2 ห้องเรียน ซึ่งมีการจัดห้องเรียนแบบคละความสามารถ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 6 ของโรงเรียนบ้านหลัก 1 ห้องเรียน จำนวน 26 คน และกลุ่มควบคุม ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 6 ของโรงเรียนชุมชนบ้านโนนเจริญ 1 ห้องเรียน จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยเน้นการคิดแบบฮิวริสติกส์ร่วมกับการใช้คำถามปลายเปิด จำนวน 20 แผน (2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 20 แผน (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ซึ่งเป็นแบบคู่ขนาน ชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ รวม 20 คะแนน ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.80 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.74 (4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลคณิตศาสตร์ ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 ซึ่งเป็นแบบคู่ขนาน ชนิดอัตนัย จำนวน 4 ข้อ รวม 12 คะแนน ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.40 ถึง 0.80 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.78 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (r) t-test (Dependent Samples) และ Hotelling’s T2 ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้ 1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยเน้นการคิดแบบฮิวริสติกส์ร่วมกับการใช้คำถามปลายเปิดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.88/79.62 เป็นไปตามที่กำหนดไว้คือ 75/75 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นการคิดแบบฮิวริสติกส์ร่วมกับการใช้คำถามปลายเปิดสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นการคิดแบบฮิวริสติกส์ร่วมกับการใช้คำถามปลายเปิดสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นการคิดแบบฮิวริสติกส์ร่วมกับการใช้คำถามปลายเปิดหลังเรียน และหลังเรียน 2 สัปดาห์ไม่แตกต่างกัน โดยสรุป แผนการเรียนรู้โดยเน้นการคิดแบบฮิวริสติกส์ร่วมกับการใช้คำถามปลายเปิดที่ผู้วิจัยค้นคว้าสร้างและพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้บรรลุผลตามความมุ่งหมายของหลักสูตรได้ |
Description: | Master of Science (M.Sc.) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1722 |
Appears in Collections: | The Faculty of Science |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63010285008.pdf | 5.27 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.