Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1723
Title: Development of Mathematics Learning Activities Base on Teaching Process of Polya with Geogebra Programs to Promote a Mathematical Problem Thinking on Rectangles for Prathomsuksa 4 Students
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีการของโพลยาร่วมกับสื่อจีโอจีบรา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องสี่เหลี่ยมมุมฉาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Authors: Ratthapong Khongpinit
รัฐพงศ์ คงพินิจ
Maliwan Phattarachaleekul
มะลิวัลย์ ภัทรชาลีกุล
Mahasarakham University. The Faculty of Science
Keywords: ขั้นตอนแก้ปัญหาของโพลยา
จีโอจีบรา
การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
Polya
Geogebra
Mathematical problem solving
Issue Date:  22
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of development of mathematics learning activities base on teaching process of Polya with Geogebra programs to promote a mathematical problem thinking on rectangle for prathomsuksa 4 students research were (1) to develop learning activities base on teaching process of Polya with Geogebra programs to promote a mathematical problem thinking on rectangle for prathomsuksa 4 students efficiency criteria 75/75 (2) comparing of mathematical achievement and the  ability  to  solve  on  mathematics  problems  of Prathomsuksa 4 students who study by process of Polya with Geogebra programs to promote a mathematical problem thinking on rectangles (3) Comparison of mathematical achievement of prathomsuksa 4 students who were given mathematics learning activities base on teaching process of Polya with Geogebra programs to promote a mathematical problem thinking on rectangle between after learning and after 2 weeks. The sample group were students in Prathomsuksa 4, who are studying in the second semester of the academic year 2021 obtained by cluster random sampling. The research instrument were (1) 18 lesson plans of mathematics learning management on Polya with Geogebra programs to promote a mathematical problem thinking on rectangle (2) Mathematics Achievement, which is a parallel were 20 four-alternative items with discrimination of each item (B) was 0.30 - 0.80, and the reliability of all items was 0.71 (3) Mathematical problem thinking test, which are parallel, with discrimination of each item (B) was 0.50 - 0.60, and the reliability of all items was 0.73. The research statistics used were a percentage, a average, a standard deviation and the hypothesis teste by t-test (Dependent Samples) and Hotelling's T2. The results of the study were as follows :         1. The mathematics learning activities base on teaching process of Polya with Geogebra programs to promote a mathematical problem thinking on rectangle for prathomsuksa 4 students, its efficiency were 81.80/78.67, respectively the setting criteria 75/75.        2. The students who received teaching process of Polya with Geogebra programs had a mathematical learning achievement and mathematical problem thinking were higher than criterion 75 percent, statistically significant at the .05 level.        3. The students who received teaching process of Polya with Geogebra programs. There had knowledge retention.  In conclusion, The students who studied with teaching process of Polya with Geogebra, they had average the learning achievement and average mathematical problem sloving abilities and mathematical  achievement more than criterion of 70 percent. And The student’s  learning had retention. The mathematics teachers should this technique for their teaching in classroom to develop of students were efficiencies.
         การวิจัย เรื่อง การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีการของโพลยาร่วมกับสื่อจีโอจีบรา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องสี่เหลี่ยมมุมฉาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีการของโพลยาร่วมกับสื่อจีโอจีบรา เรื่อง สี่เหลี่ยมมุมฉาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75  2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สี่เหลี่ยมมุมฉาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยวิธีการของโพลยาร่วมกับสื่อจีโอจีบรา กับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 3) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สี่เหลี่ยมมุมฉาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้จากการสอนโดยวิธีการของโพลยาร่วมกับสื่อจีโอจีบรา  กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านบัวมาศ(บัวมาศชูศิลป์) อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคามเขต 1 จำนวน 1 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียน 13 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม ซึ่งใช้โรงเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนตามแนวคิดของโพลยา เรื่อง สี่เหลี่ยมมุมฉาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 18 แผน รวม 18 ชั่วโมง ซึ่งมีความเหมาะสมมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.83 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นข้อสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ จำนวน 2 ฉบับ โดยมีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.54 – 0.77 ค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.30 – 0.80 ทั้งสองฉบับ  และความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.71 ทั้งสองฉบับ  และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เป็นข้อสอบอัตนัย จำนวน 3 ข้อ โดยมีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.54 - 0.60 ค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.50 – 0.60 และความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.73 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และทดสอบสมมติฐานโดยใช้  t-test  (Dependent  Samples) และ Hotelling’s T2  ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. แผนการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการของโพลยาร่วมกับสื่อจีโอจีบรา เรื่อง สี่เหลี่ยมมุมฉาก ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.80/78.67 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยวิธีการของโพลยาร่วมกับสื่อจีโอจีบรา เรื่อง สี่เหลี่ยมมุมฉาก มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สี่เหลี่ยมมุมฉาก หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยวิธีการของโพลยาร่วมกับสื่อจีโอจีบรา สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยวิธีการของโพลยาร่วมกับสื่อจีโอจีบรา เรื่อง สี่เหลี่ยมมุมฉาก มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนและหลังเรียน 2 สัปดาห์ไม่แตกต่างกัน
Description: Master of Science (M.Sc.)
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1723
Appears in Collections:The Faculty of Science

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010285009.pdf4.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.