Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1725
Title: Ecocriticism in Literary of Kanokphong Songsomphan
สำนึกเชิงนิเวศในวรรณกรรมของกนกพงศ์ สงสมพันธุ์
Authors: Thanavat Chaikul
ธนวรรธ ชายกุล
Sopee Untaya
โสภี อุ่นทะยา
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: สำนึกเชิงนิเวศ
ภาพแทน
ภาพพจน์
สัญญะ
Ecocriticism
Representation
Figure of speech
Sign
Issue Date:  20
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Thesis on “Ecocriticism in Literary of Kanokpong Songsomphan” aims to study ecological consciousness in all types of literature of Kanokpong Songsomphan. The objectives of the study are 1. To study the representation of nature and ecological consciousness in the literature of Kanokpong SongsomphanKanokpong Songsomphan 2. To study the strategies for presenting ecological consciousness in the literature of Kanokpong Songsomphan. the main conceptual framework was the theory of ecocriticism. The study reveals that the writer presented natural and environmental content and eco consciousness through representations of nature in various ways to glorify nature as the center of all values. and presenting the benefits that nature has to humans The representation of nature in the text is presented as an ideal ecological place. Nature is superior to human beings. Nature is a great, noble, divine, wonderful, and beautification of the world. Nature is the giver of happiness and alleviation of suffering. Nature is the source of knowledge and wisdom, ideas, imagination, inspiration, philosophy, and presents the dimensions of the relationship between man and nature that aims to show that nature is one with all life, including man. It is a way for human beings to find a true and peaceful life. It is the center of community faith that creates a way of life of people with nature and the way of the community. And it shows that humans have long been a major contributor to the destruction of nature and ecosystems, which has caused our planet to face today's environmental crisis. It also presents other interesting natural concepts such as the connection between nature and women and traditional belief systems. animal presentation in literature. The author employs a strategy to present ecological consciousness through elements of literature: scenes, characters, dialogue, tone and attitude. and presented through the use of linguistic arts that are figure of the speech and sign. The presentation of natural content in the author's literature aims to cultivate ecological discourse. Convince the reader to be cherished and aware of the value of nature, ecosystems and our planet for the protection of nature. and present a way of peaceful and sustainable coexistence between man and nature.
วิทยานิพนธ์เรื่อง “สำนึกเชิงนิเวศในวรรณกรรมของกนกพงศ์ สงสมพันธุ์” มุ่งศึกษาสำนึกเชิงนิเวศในวรรณกรรมทุกประเภทของกนกพงศ์ สงสมพันธุ์ โดยมีจุดมุ่งหมายการศึกษาคือ 1. เพื่อศึกษาภาพแทนของธรรมชาติและสำนึกเชิงนิเวศในวรรณกรรมของ กนกพงศ์ สงสมพันธุ์ 2. เพื่อศึกษากลวิธีการนำเสนอสำนึกเชิงนิเวศในวรรณกรรมของ กนกพงศ์ สงสมพันธุ์  ใช้กรอบแนวคิดหลักคือทฤษฎีการวิจารณ์เชิงนิเวศ (Ecocriticism) ผลการศึกษาพบว่าผู้เขียนได้นำเสนอเนื้อหาทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสำนึกเชิงนิเวศผ่านภาพแทนของธรรมชาติในลักษณะต่าง ๆ เพื่อยกย่องเชิดชูธรรมชาติว่าเป็นศูนย์กลางของคุณค่าทั้งปวงและนำเสนอคุณประโยชน์ด้านต่าง ๆ ที่ธรรมชาติให้แก่มนุษย์  ภาพแทนของธรรมชาติในตัวบทถูกนำเสนอในฐานะเป็นสถานที่ในอุดมคติเชิงนิเวศ ธรรมชาติเป็นสิ่งที่เหนือกว่ามนุษย์ ธรรมชาติเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ สูงส่ง ศักดิ์สิทธิ์ มหัศจรรย์ และเป็นความงามของโลก ธรรมชาติเป็นผู้ให้ความความสุขและบรรเทาความทุกข์  เป็นผู้ให้ความรู้ ความคิด จินตนาการ แรงบันดาลใจ ปรัชญา ภูมิปัญญา และนำเสนอให้เห็นมิติความสัมพันธ์ต่าง ๆ ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติที่มุ่งแสดงให้เห็นว่าธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียวกับสรรพชีวิตรวมทั้งมนุษย์ เป็นหนทางทำให้มนุษย์ได้พบกับชีวิตที่แท้จริงและสุขสงบ เป็นศูนย์รวมศรัทธาของชุมชนที่สร้างรูปแบบวิถีชีวิตของคนกับธรรมชาติและวิถีชุมชน และนำเสนอให้เห็นว่ามนุษย์เป็นตัวการสำคัญในการทำลายธรรมชาติและระบบนิเวศมาอย่างยาวนานซึ่งทำให้โลกของเราประสบกับปัญหาวิกฤติทางสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน รวมทั้งนำเสนอแนวคิดทางธรรมชาติที่น่าสนใจอื่น ๆ เช่น นำเสนอความเกี่ยวโยงระหว่างธรรมชาติกับเพศหญิงและระบบความเชื่อดั้งเดิม การนำเสนอสัตว์ในวรรณกรรม  ผู้เขียนใช้กลวิธีการนำเสนอสำนึกเชิงนิเวศผ่านองค์ประกอบของวรรณกรรมที่มีลักษณะเด่นได้แก่ ฉาก ตัวละคร บทสนทนา น้ำเสียงและท่าทีของผู้แต่ง และนำเสนอผ่านการใช้ศิลปะทางภาษาที่มีลักษณะเด่นได้แก่ การใช้ภาพพจน์และสัญญะทางภาษา  การนำเสนอเนื้อหาทางธรรมชาติในวรรณกรรมของผู้เขียนมีจุดหมายเพื่อปลูกสร้างวาทกรรมทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสำนึกเชิงนิเวศ ชักจูงให้ผู้อ่านมีความรักหวงแหนและตระหนักรู้ถึงคุณค่าของธรรมชาติ ระบบนิเวศ และโลกของเรา เพื่อการพิทักษ์รักษาธรรมชาติ และนำเสนอหนทางการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติอย่างสงบสันติและยั่งยืน
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1725
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010180009.pdf10.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.