Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1743
Title: The Deverlopment of Creativity - Based Learning Using Social Media on Economics for Promoting the Creative Thinkking of Pratom 5 students
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์เรื่อง เศรษฐศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Authors: Supattra Boontisa
สุพัตรา บุญทิสา
Montree Wongsaphan
มนตรี วงษ์สะพาน
Mahasarakham University. The Faculty of Education
Keywords: การจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน
สื่อสังคมออนไลน์
ความคิดสร้างสรรค์
Creativity-Based Learning
Social Media
Creative Thinkking
Issue Date:  4
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aims to: 1) develop Creativity-Based Learning using social media on economics for Promoting the creative thinkking of grade 5 students with efficiency 75/75 criteria 2) to compare the creativity of grade 5 students before and after receiving creative learning activities as a base together with social media on economics 3) to compare the learning achievement of grade 5 students before and after receiving creative learning activities as a base together with social media on economics 4) 4) To study the satisfaction of grade 5 students towards creative learning activities as a base in conjunction with social media on economics There are 4 types of instruments used in this research: 1) Plans for creative learning activities as a base in conjunction with social media To promote creativity of students in Grade 5, 6 plans, 12 hours in total 2) creativity test It was a written-answer test consisting of 4 questions, totaling 20 points, with a difficulty ranging from 0.59 to 0.70, a power of discrimination from 0.36 to 0.50, and a confidence factor of 0.72 3) achievement test It was a four-choice multiple choice test with 30 questions, with a difficulty value ranging from 0.37-0.79, a power of discrimination from 0.20 to 0.81, and a confidence value of 0.90 4) satisfaction questionnaire of grade 5 students towards creative learning activities as a base in conjunction with social media To promote creativity of grade 5 students, it was a 20-item 5-level rating scale with a discriminative power ranging from 0.54 to 0.80 and a confidence value of 0.94 The sample consisted of 14 students from Grade 5 who are studying in the second semester of the academic year 2021 at Wat Chantanaram School, Chong Maeo Sub-district, Lam Thamenchai District. Nakhon Ratchasima Province which were obtained by Cluster Random Sampling, statistics used, mean, standard deviation, percentage and Wilcoxon Signed Rank Test.             Research results appear as follows.             1) The results of a study on the results of developing creative-based learning activities with social media on economics of Prathomsuksa 5 students with 80.93% efficiency in process (E1) and efficiency on outcomes (E2) accounted for 78.43%, which meets the specified criteria.             2) Grade 5 students who received creative learning as a base together with social media on economics with creativity after learning higher than before learning at the statistical significance level of .05.             3) Grade 5 students who received creative learning management as a base together with social media on economics had higher learning achievements after school than before. statistical significance level of .05.             4) Grade 5 students had a high level of satisfaction with creating creative-based learning activities together with social media on economics (mean = 3.90, S.D = 0.94).
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เรื่อง เศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เรื่อง เศรษฐศาสตร์ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เรื่อง เศรษฐศาสตร์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เรื่อง เศรษฐศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มี 4 ชนิด คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 แผน รวมเวลา 12 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ มีลักษณะเป็นแบบทดสอบแบบเขียนตอบจำนวน 1 ชุด ประกอบด้วย 4 ข้อ รวม 20 คะแนน มีค่าความยากตั้งแต่ 0.59 ถึง 0.70 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.36 ถึง 0.50 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.72 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ มีลักษณะเป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.37-0.79 มีค่าอานาจจำแนกตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.81 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90   4) แบบสอบถามความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้สร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 20 ข้อ มีค่าอานาจจำแนกตั้งแต่ 0.54 ถึง 0.80 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนจากชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 14 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดจันทนาราม ตำบลช่องแมว อำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งได้มาได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และ Wilcoxon Signed Rank Test ผลการวิจัยปรากฏดังนี้             1. ผลการศึกษาผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เรื่อง เศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  มีประสิทธิภาพด้าน กระบวนการ (E1) คิดเป็นร้อยละ 80.93 และมีประสิทธิภาพ ด้านผลลัพธ์ (E2) คิดเป็นร้อยละ 78.43 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้             2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เรื่อง เศรษฐศาสตร์ มีความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05             3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ เรื่อง เศรษฐศาสตร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05             4. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์เรื่องเศรษฐศาสตร์ โดยรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 3.90, S.D = 0.94)
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1743
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010580014.pdf7.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.