Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/175
Title:  Negotiation Tactics of Khmer Migrant Labor
กลยุทธ์การต่อรองของแรงงานข้ามชาติแขมร์ในตลาดสดเทศบาลเมืองสุรินทร์
Authors: Arpasara Chantanit
อาภัสรา  จันทานิตย์
chainarong shatcher
ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: กลยุทธ์แรงงานข้ามชาติแขมร์
Negotiation Tactics of Khmer
Issue Date:  31
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This thesis aims to analyze two major issues: 1) state policy and its practice on Khmer migrant labor in Surin Market 2) livelihoods and socio-economic and cultural adjustment of Khmer migrant labor on a daily basis 3) to prepare the important information which able to use for media production and delivery to Thai employer to understand Khmer migrant worker. This Thesis applied the concept of tactics of negotiation and adaptation in economics social and cultural. The data was collected through documentary research, participant observation, and key informant interview at Surin Market in 2017. The findings are as follow. Firstly, the Thai State has flexible policies and several methods in controlling migrant labors along the Thai-Cambodian border that did not conform with the international standard, However, Thai government is also facing pressures from the international Community, pushes it to put more control on migrant labor, resulted in an enactment of a new law that prevents illegal practices against migrant labors. Secondly, most of the migrant labors in Surin Market are Cambodian migrants Khmer and Muslim Khmer or Khmer Cham who live in cross-border livelihoods. In their daily practices, they have developed several tactics based on their ethnicity and religion to negotiate with the Thai state and its officials. They also created a special channel to keep in touch with their homeland, by sending back money and occasionally go back home to join their traditional ceremony. Some of them even married with local Thai-Khmer people. For Khmer Cham migrants, some of them even able to save enough money to open their own shop. They always attend mosque located in Kasang District where some of them even became Imams. Thirdly, this thesis prepared the important information which able to use for media production and delivery to Thai employer to understand Khmer migrant worker. In summary, the findings of this thesis is showing that the ethnographical approach, along with the concept of tactics of negotiation and can help enhance our understanding the Thai state’s policies and practices, and also livelihoods of Khmer migrant labor.
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษานโยบายและการปฏิบัติของรัฐไทยที่มีต่อแรงงานข้ามชาติแขมร์ที่ข้ามแดนมาทำงานในตลาดสดเทศบาลเมืองสุรินทร์ 2) ศึกษาวิถีชีวิตและการปรับตัวทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของแรงงานข้ามชาติแขมร์  ที่ข้ามแดนมาทำงานในพื้นที่ตลาดเทศบาลเมืองสุรินทร์ 3) จัดทำข้อมูลเพื่อสามารถนำไปใช้ในการจัดทำสื่อเผยแพร่ให้นายจ้างเข้าใจวัฒนธรรมข้ามชาติแขมร์และมีการจัดการที่เหมาะสมสอดคล้องกับกลุ่มแขมร์พุทธและแขมร์จาม โดยใช้แนวคิดกลยุทธ์การต่อรอง แลแนวคิดการปรับตัวทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ผู้วิจัยเก็บข้อมูลที่ตลาดสดเทศบาลเมืองสุรินทร์  ระหว่างปี พ.ศ.2560 ถึง ต้นปี พ.ศ.2561 โดยใช้วีธีการสัมภาษณ์ข้อมูล ผลการศึกษาปรากฏดังนี้  นโยบายและการปฏิบัติของรัฐไทยที่มีต่อแรงงานข้ามชาติ ซึ่งแต่เดิมมีลักษณะ “ยืดหยุ่น”  กับแรงงานข้ามชาติ ต่อมานโยบายของรัฐเข้มงวดมากขึ้นและมีการควบคุมในรูปแบบต่างๆ ประการแรก นโยบายและการปฏิบัติของรัฐไทยที่มีต่อแรงงานข้ามชาติแขมร์ที่ข้ามแดนมาทำงานในตลาดสดเทศบาลเมืองสุรินทร์ พบว่าแรงงานข้ามชาติมีการต่อรองและปรับตัวกับทั้งนโยบายและปฏิบัติของรัฐไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงทุกปี ซึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐไทยในแต่ละยุคสมัย ประการที่สอง วิถีชีวิตและการปรับตัวทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของแรงงานข้ามชาติแขมร์  ที่ข้ามแดนมาทำงานในพื้นที่ตลาดสดเทศบาลเมืองสุรินทร์ พบว่าแรงงานเหล่านี้ตัดสินใจข้ามแดนมาทำงานในจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งมีการต่อรองบนพื้นฐานทางชาติพันธ์และศาสนา การอาศัยเครือข่ายทางสังคมและการใช้ศาสนา การทำตัวให้กลมกลืนกับสังคมไทยและเชื่อมโยงกับบ้านเกิด การแต่งงานกับคนไทย รวมทั้งการเชื่อมบางกลุ่ม การส่งเงินกลับบ้าน การส่งเงินข้ามประเทศ ซึ่งมีกลยุทธ์ในการต่อรอง รวมทั้งการเดินทางกลับเพื่อไปร่วมวัฒนธรรมประเพณีที่บ้านเกิด ประการที่สาม ในเชิงการพัฒนา งานวิจัยนี้ได้จัดทำข้อมูลเพื่อสามารถพัฒนาเป็นสื่อให้นายจ้างเกิดความเข้าใจวัฒนธรรมของแรงงานข้ามชาติแขมร์และมีการจัดการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับกลุ่มแขมร์พุทธและแขมร์จาม
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/175
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56010181010.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.