Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1760
Title: | The Development Program of enhance teacher Competency on English Communication Learning Management for the school of welfare education in the Northeast of the Office of Special Education Bureau การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับครู สังกัดโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ |
Authors: | Em-amorn Saitumlueng เอมอมร สายตำลึง Suwat Junsuwan สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์ Mahasarakham University. The Faculty of Education |
Keywords: | การพัฒนาโปรแกรม ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร สมรรถนะ The Development Program English Communication Competency |
Issue Date: | 4 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | This research aims to study the current condition, the desirable condition, and needs and development a competency enhancement program in communicative English learning management for teachers in the schools of welfare education in the northeast of the Office of Special Bureau. The research was conducted into 2 phases, with the first phase being the study of current condition and desirable condition of enhancing competency in communicative English learning management for teachers in the schools of welfare education in the northeast of the Office of Special Bureau. The sample was 86 school administrators and English teachers from 10 schools of welfare education in the northeast of the Office of Special Bureau through cluster random sampling. The research instrument was questionnaires which include 20 items in a 5-point rating scale format. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and priority needs index (PNImodified). Phase 2 is the design and evaluation of a competency enhancement program in communicative English learning management for teachers in the schools of welfare education in the northeast of the Office of Special Bureau. The program was created with the best practice approach from 3 master schools through interviews with 6 administrators and teachers. The program was evaluated by 5 experts selected with purposive sampling. The research instrument was a interview form was a semi-structured interview with 4 items and suitability and feasibility assessment form which include 5 items in a 5-point rating scale format. The statistics used to analyze the data were mean and standard deviation.
The results are as followed.
1. The current condition of a competency enhancement program in communicative English learning management for teachers is overall at a high level. The desirable condition of a competency enhancement program in communicative English learning management for teachers is overall at the highest level. In terms of needs (PNImodified) in developing a competency enhancement program in communicative English learning management for teachers, the priority needs in descending order are the measurement and evaluation aspect, the instructional media aspect, the instructional activities and the curriculum aspect.
2. The competency enhancement program in communicative English learning management for teachers in the schools of welfare education in the northeast of the Office of Special Bureau consists of 5 parts: 1) principles, 2) objectives, 3) content, 4) development methods, and 5) evaluation. The content is composed of 4 modules: Module 1-curricula, Module 2- instructional activities, Module 3- instructional media; and Module 4- measurement and evaluation. Overall the program evaluation results are at the highest level of suitability and feasibility การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ความต้องการจำเป็น และพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับครู สังกัดโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 เป็นการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนภาษาอังกฤษจำนวน 86 คน โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 10 โรง ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ 0.27-0.92 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความต้องการจำเป็น (PNI(modified)) ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับครู โดยการศึกษาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) จากโรงเรียนต้นแบบ จำนวน 3 โรง ซึ่งทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารและครู จำนวน 6 คน และประเมินโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ เป็นแบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง จำนวน 4 ข้อ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 5 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฎดังนี้ 1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับครู พบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก และมากที่สุด ส่วนความต้องการจำเป็นในการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับครู พบว่า ด้านการวัดและประเมินผล มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนามากที่สุด รองลงมาคือ ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ตามลำดับ 2. ผลการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับครู สังกัดโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ พบว่า โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา ประกอบด้วย 4 Module ได้แก่ Module 1 ด้านหลักสูตร Module 2 ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน Module 3 ด้านสื่อการเรียนการสอน และ Module 4 ด้านการวัดและประเมินผล 4) วิธีการพัฒนา และ 5) การประเมินผล และผลการประเมินโปรแกรมโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า โปรแกรมมีความเหมาะสมโดยรวมทุกส่วนอยู่ในระดับมากที่สุด และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด |
Description: | Master of Education (M.Ed.) การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1760 |
Appears in Collections: | The Faculty of Education |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
63010581083.pdf | 4.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.