Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1767
Title: Outcomes of secondary prevention medications in patients with Non–ST-Elevation Acute Coronary Syndrome after hospital discharge at 1 year follow-up
ผลลัพธ์การให้ยาป้องกันทุติยภูมิในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดที่ไม่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจส่วนเอสทียก หลังจำหน่าย ณ ติดตามที่ 1 ปี
Authors: Nuntawan Wongwai
นันทวรรณ ว่องไว
Juntip Kanjanasilp
จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์
Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy
Keywords: โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
ยาป้องกันทุติยภูมิ
เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์
โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดที่ไม่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจส่วนเอสทียกสูง
acute coronary syndrome
medications for secondary prevention
adverse event
non–ST-elevation acute coronary syndrome
Issue Date:  24
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Objective: To evaluate the outcomes of evidence-based medications used for secondary prevention in patients with NSTE-ACS (non-ST-elevation acute coronary syndrome) at one year after hospital discharge. Method: This research was an retrospective analytical cohort study. The data from medical records in electronic databases of two hospitals was collected from October 2015 to September 2018. Recruitment criteria were patients who were diagnosed with NSTE-ACS, aged 18 years and over, and hospitalized and discharged with surviving status. The data on the prescribing of four medications for secondary prevention including dual anti-platelets, beta-blockers (BBs), angiotensin-converting enzyme inhibitors (ACEIs), angiotensin receptor blockers (ARBs), and angiotensin receptor blockers (ARBs), statins was collected. The study outcome of post-discharge adverse events (AEs) at 1-year follow-up was collected. The AEs incidence was analyzed compared between the group received four medications and the group received less than four medications by using a Cox-proportional hazard regression analysis adjusted with propensity score. Results: Of the 334 patients in the study, 44 received four medications for secondary prevention (13.17%) and 290 patients receive less than four medications for secondary prevention (86.83%). The incidence of AEs at one year in those receiving four medications decreased by 6% when compared with those received less than four medications (adjusted HR 0.94, 95%CI 0.56-1.57; P=0.814). The rates of prescribing four medications significantly increased at six and 12 months of follow-up when compared with the day of hospital discharge. (13.17% vs. 27.98%; P<0.001, 13.17% vs. 27.49%; P<0.001, respectively). Co-morbidities including congestive heart failure (adjusted OR 0.30, 95%CI 0.12-0.77; P= 0.012) and chronic kidney disease (adjusted OR 0.25, 95%CI 0.09-0.67; P=0.006) were significantly associated with less incidence in the group received four medications. Hospital where patients received treatment was a significant factor associated with an increase in prescribing of four medications (adjusted OR 7.82, 95%CI 2.04-29.4; P=0.003). Conclusion: The patients with NSTE-ACS received four medications for secondary prevention significantly more at 1-year follow-up period. The hospital was a significant factor associated with an increase in the prescribing of four medications for secondary prevention. Congestive heart failure and chronic renal disease were significantly associated with less incidence in patients received four medications.
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลลัพธ์การให้ยาป้องกันทุติยภูมิตามแนวทางการรักษาในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด NSTE-ACS (non–ST-elevation acute coronary syndrome) หลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลเป็นเวลา 1 ปี วิธีการ: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบเก็บข้อมูลย้อนหลังและติดตามไปข้างหน้าจากเวชระเบียนในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาล 2 แห่ง ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 – กันยายน พ.ศ. 2561 ในผู้ป่วย NSTE-ACS ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี   ขึ้นไป เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล และจำหน่ายด้วยสถานะรอดชีวิต การศึกษาเก็บข้อมูลการได้รับยาป้องกันทุติยภูมิทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่ ยากลุ่ม dual anti-platelets ยากลุ่ม beta-blockers (BBs) ยากลุ่ม angiotensin-converting enzyme inhibitors (ACEIs) หรือยากลุ่ม angiotensin receptor blockers (ARBs) และยากลุ่ม statins และการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (adverse events; AEs) หลังจำหน่าย ณ ติดตามจนครบ 1 ปี การศึกษาวิเคราะห์อัตราการเกิด AE ด้วยสถิติ Cox-proportional hazard regression analysis ที่ปรับด้วย propensity score ผลการวิจัย: จากผู้ป่วยจำนวน 334 รายในการศึกษา พบ 44 ราย ที่ได้รับยาป้องกันทุติยภูมิครบทั้ง 4 กลุ่ม (ร้อยละ 13.17) และผู้ป่วยจำนวน 290 ราย ได้รับยาป้องกันทุติยภูมิไม่ครบ 4 กลุ่ม คิดเป็นร้อยละ 86.83    อัตราการเกิด AE ณ เวลา 1 ปีในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาป้องกันทุติยภูมิครบทั้ง 4 กลุ่ม ลดลงร้อยละ 6   เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาไม่ครบ 4 กลุ่ม (adjusted HR 0.94, 95%CI 0.56-1.57; P=0.814) อัตราการได้รับยาป้องกันทุติยภูมิทั้ง 4 กลุ่ม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ณ เวลา 6 และ 12 เดือนของการติดตามเมื่อเปรียบเทียบ ณ เวลาที่จำหน่ายผู้ป่วย (ร้อยละ 13.17 กับ ร้อยละ 27.98; P<0.001, ร้อยละ 13.17 กับ ร้อยละ 27.49; P<0.001 ตามลำดับ) ปัจจัยด้านโรคร่วม ได้แก่ โรคหัวใจล้มเหลว (adjusted OR 0.30, 95%CI 0.12-0.77; P=0.012) และโรคไตวายเรื้อรัง (adjusted OR 0.25, 95%CI 0.09-0.67; P=0.006) สัมพันธ์กับการได้รับยาป้องกันทุติยภูมิทั้ง 4 กลุ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยด้านสถานพยาบาลที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา สัมพันธ์กับการได้รับยาป้องกันทุติยภูมิทั้ง 4 กลุ่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (adjusted OR 7.82, 95%CI 2.04-29.4; P=0.003)  สรุป: จำนวนผู้ป่วย NSTE-ACS ที่ได้รับยาป้องกันทุติยภูมิทั้ง 4 กลุ่มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ เวลาที่ติดตาม 1 ปี ปัจจัยด้านสถานพยาบาลสัมพันธ์กับการได้รับยาป้องกันทุติยภูมิทั้ง 4 กลุ่มเพิ่มขึ้น โรคหัวใจล้มเหลวและโรคไตวายเรื้อรังสัมพันธ์กับการได้รับยาป้องกันทุติยภูมิทั้ง 4 กลุ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm.)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1767
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010780002.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.