Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1768
Title: Evaluation of Community Pharmacy Project in Roi Et Province Using CIPP Model 
การประเมินผลโครงการร้านยาชุมชนอบอุ่น จังหวัดร้อยเอ็ดด้วย CIPP Model
Authors: Pakarang Sriwasut
ปะการัง ศรีวะสุทธิ์
Phayom Sookaneknun Olson
พยอม สุขเอนกนันท์ โอล์สัน
Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy
Keywords: การประเมินผลโครงการ
CIPP model
ร้านยาชุมชนอบอุ่น
รับยาต่อเนื่อง
project evaluation
CIPP model
community pharmacy project
refill prescription
Issue Date:  7
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objective of this study was to evaluate the community pharmacy project in Roi Et province using the CIPP model. The mixed method study was performed from July 2020 to December 2020.  In the qualitative study, purposive sampling was done with 32 health care staff and 21 patients or until the data was saturated.  In the quantitative study, 80 patients from urban and rural pharmacies were randomized by quota sampling. The interview questions were developed using the CIPP model as a framework. In-depth recorded interviews were done face to face, online, or over the phone. Verbatim transcriptions were analyzed using thematic analysis. Three main themes emerged from the context: health care system, goals of the project, and expectations. The project responded to community needs by reducing crowding in hospitals and strengthening the role of community pharmacists.  Four main themes emerged from the input: manpower, service models, public relations, and finance. Four main themes emerged from the process: goal clarification, manpower, service models, and public relations. Most of the process was burdensome to the hospital staff especially patient selection and drug delivery systems. Three main themes emerged from the outcomes: the number of patients receiving service from pharmacies, the quality of services provided by pharmacists, and satisfaction with the project. Few patients participated in the project. Pharmacists provided counseling on medicines and health, and double-checked prescriptions for patients. Both healthcare staff and patients were satisfied with the convenience of the project. The patients were satisfied with the program at the highest level (9.7±0.7). In conclusion, the project meets the community needs. Pharmacists were able to effectively help the patients. Healthcare staff and patients were highly satisfied with the project. However, there is still room for improvement in the program.
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการร้านยาชุมชนอบอุ่น จังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้กรอบแนวคิดซิปโมเดล (CIPP Model)  ดำเนินการศึกษาวิจัยรูปแบบงานวิจัยแบบผสมผสาน (mixed method) ในระหว่าง เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2563 การศึกษาเชิงคุณภาพใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ในกลุ่มผู้ดำเนินงานโครงการจำนวน 32 คน (รวมเภสัชกรร้านยา 21 ร้าน)   และผู้ป่วยจำนวน 21 คน หรือเมื่อข้อมูลถึงจุดอิ่มตัว  การศึกษาเชิงปริมาณดำเนินการสำรวจความพึงพอใจผู้ป่วยจำนวน 80 คน โดยสุ่มแบบกำหนดโควต้าจากร้านยาที่ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการรับยา  แบบสัมภาษณ์เชิงลึกในการศึกษานี้พัฒนาขึ้นตามกรอบซิปโมเดล การสัมภาษณ์พบแบบออนไลน์ แบบหน้าต่อหน้า หรือโทรศัพท์ บันทึกเทปและแกะเทปแบบคำต่อคำ  ใช้การวิเคราะห์แก่นสาระ (thematic analysis)  ผลการศึกษาพบว่า ด้านบริบท มี 3 แนวคิดหลัก ได้แก่ ระบบบริการสุขภาพ เป้าหมายต่อโครงการและความคาดหวัง  โครงการนี้ตอบความจำเป็นในพื้นที่ในเรื่องการลดความแออัด และบทบาทวิชาชีพเภสัชกรชุมชนได้ถูกส่งเสริมมากขึ้น  ด้านปัจจัยนำเข้า มี 4 แนวคิดหลัก ได้แก่ ด้านบุคคล รูปแบบการให้บริการ การประชาสัมพันธ์ และการเงิน การลงทุนด้านการให้บริการมาจากโรงพยาบาลเป็นหลัก   ด้านกระบวนการ  มี 4 แนวคิดหลัก คือ การรับรู้เป้าหมาย กำลังคน รูปแบบการให้บริการ และการประชาสัมพันธ์ การประชาสัมพันธ์เพื่อขับเคลื่อนยังมีน้อย  กระบวนการทำงานยังเป็นภาระอยู่ในโรงพยาบาลโดยเฉพาะการคัดเลือกผู้ป่วย และกระบวนการจัดส่งยา  และด้านผลลัพธ์  มี 3 แนวคิดหลัก คือ จำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับบริการที่ร้านยา คุณภาพของการให้บริการของเภสัชกร และความพึงพอใจต่อโครงการ พบว่าผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการจำนวนน้อย เภสัชกรร้านยาให้คำแนะนำการใช้ยาและสุขภาพ ตรวจสอบยาตามใบสั่งให้กับผู้ป่วย  ทั้งผู้ดำเนินงานและผู้ป่วยพึงพอใจต่อโครงการ ได้รับความสะดวกสบาย ไม่ต้องเสียเวลา  ผู้ป่วยมีความพึงพอใจต่อโครงการในระดับมากที่สุด (9.7±0.7)    สรุปผลการศึกษาพบว่าโครงการนี้ตอบสนองความต้องการของพื้นที่ เภสัชกรร้านยาสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างดี ผู้ดำเนินโครงการและผู้ป่วยพึงพอใจต่อโครงการ อย่างไรก็ตามโครงการยังต้องการการพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm.)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1768
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010780007.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.