Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/177
Title: Enhancing Mattayomsuksa 3 Students' English Narrative Writing Ability Through The Use Of Jigsaw Technique 
การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนบรรยายเรื่องเล่าภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคการต่อภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Authors: Sasiwimon Sritong
ศศิวิมล  ศรีทอง
Pilanut Phusawisot
พิลานุช ภูษาวิโศธน์
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: เรื่องเล่าภาษาอังกฤษ
. เทคนิคการต่อภาพ
. การเขียนบรรยายภาพ
การจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ
ความสามารถด้านการเขียนเรื่องเล่า
Narrative Writing
Jigsaw Technique
Narrative Parragraph
Cooperative Learning
Enhancing Narrative Writing Ability
Issue Date:  14
Publisher: Mahasarakham University
Abstract:          The purpose of this  research is  to compare the  ability  of Narrative  Writing  of grade 9th students  before and after study by using Jigsaw Technique and to study the attitude of grade 9th student towards Jigsaw Technique in order to improving English Narrative Writing  Ability. The data was recorded  by using the target group from the  grade 9th students of Pupplawittayakom  School, Chiang Kwan District,Roi-Et Province. They were  selected by purposive sampling  and consisted  of 32 students in class taking Eng 20205  Reading – Writing English in the first semester of 2017 academic year.  It was  experimental design research with One Group Pretest – Posttest Design. The instrumentals  used  in this research were 1) English  writing  Test        2) English  writing  ability  assessment  form 3) teacher  note  4) student’s attitude questionnaire  5) students’ attitude questionnaire . The data were analyzed by mean, percentage , standard deviation and t-test dependent Sample. The results of the research were as follows: 1. The ability of Narrative  Writing  through Jigsaw Technique after learning by using Jigsaw Technique  was significantly  higher  than before learning at the level 0.05                    2. The student learning attitude  through  Jigsaw  Techniques were at the good level ( = 4.26 ) In brief, The Jigsaw Technique was suitable method  to develop the ability of Narrative Writing  for grade 9th  student. Not only the ability of writing  was increased but also the attitude level  towards Jigsaw Technique .Thus, this method could achieve  academic  goal and attitude towards English writing class.
            การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนบรรยายเรื่องเล่าภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเเละหลังการได้รับการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการต่อภาพและเพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการได้รับการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการต่อภาพและเพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อการใช้การเรียนรู้ด้วยเทคนิคการต่อภาพในการพัฒนาความสามารถการเขียนบรรยายเรื่องเล่าภาษาอังกฤษ  เก็บข้อมูลโดยใช้กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพลับพลาวิทยาคม อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด  จำนวน 32 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ซึ่งเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มเติม (อ.20205) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เป็นการวิจัยเชิงทดลอง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบทดสอบการเขียนก่อนเเละหลังการใช้กิจกรรม 2) เกณฑ์การประเมินด้านการเขียน 3) แบบบันทึกผลการจัดกิจกรรมการสอนของครู 4) แบบสอบถามเจตคติ 5) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   ค่า t-test แบบ Dependent  Sample  ผลการวิจัย พบว่า 1. ความสามารถด้านการเขียนบรรยายเรื่องเล่าภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิคการต่อภาพหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2. ผู้เรียนมีเจตคติต่อการจัดการเรียนรู้โดยการใช้เทคนิคการต่อภาพ ในระดับ ดี โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.26   โดยสรุป  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการต่อภาพเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนบรรยายเรื่องเล่าภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  มีความเหมาะสม นักเรียนมีความสามารถด้านการเขียนบรรยายเรื่องเล่าภาษาอังกฤษดีขึ้นและมีเจตคติต่อการเรียนโดยใช้เทคนิคการต่อภาพในระดับดี  ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนโดยวิธีนี้สามารถช่วยให้นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษในชั้นเรียน     
Description: Master of Education (M.Ed.)
การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/177
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
56010182012.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.