Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1771
Title: Perception of multidisciplinary towards Primary Care Pharmacy of the 10th Health Region
การรับรู้บทบาทเภสัชกรรมปฐมภูมิของสหวิชาชีพในเขตบริการสุขภาพที่ 10
Authors: Chanchai Booncherd
ชาญชัย บุญเชิด
Kritsanee Saramunee
กฤษณี สระมุณี
Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy
Keywords: การรับรู้
เภสัชกรรมปฐมภูมิ
เภสัชกรปฐมภูมิ
สหวิชาชีพ
เขตสุขภาพที่ 10
perception
primary care pharmacy
primary care pharmacist
multidisciplinary
the 10th health region
Issue Date:  16
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Introduction: Primary care pharmacy is a role of pharmacist that need a collaborative work with multidisciplinary. Recognizing the roles of each other is important to enhancing quality of patient care. This study was to explore perception of multidisciplinary towards roles of primary care pharmacy (PCP) and identify factors associated with them. Methods: A cross-sectional survey was conducted in the 10th health region. Primary care multidisciplinary team composed of eight practitioners: doctors, dentists, public health, nurses, traditional therapists, dental assistants, pharmacy assistants and physio therapists. Sample was randomly stratified based on area size and proportion of disciplinary team. Invitation was sent by post requesting respondents to complete the online questionnaire. Four domains of primary care pharmacy with eleven roles were included. Three key questions were used: perception towards roles of PCP; perception towards how primary care pharmacist perform their work; perception towards benefit of PCP. Questions were validated and tested for reliability. Descriptive statistics and multivariate regression were used for analysis. Results: There were 237 responses (59.25% of response rate). Multidisciplinary team perceived the work of primary care pharmacists in all roles (>90%). Multidisciplinary viewed that primary care pharmacist performed home pharmaceutical care and solving drug problem in community at moderate level (mean 2.35±0.66 and 2.36±0.68 respectively). They view PCP work being of high benefit (mean > 2.50) Multiple logistic regression shows that the meeting with primary care staff to improve drug system (OR 2.99 95%CI 1.45-6.15) and medication problem management at patient’s home (OR 2.46 95%CI 1.19-5.06) are factors influence perceptions toward pharmacist roles. Linear regression shows that financial support (Coefficient 2.96 95%CI 0.72-5.19) and frequent work in primary care of pharmacist (Coefficient 3.13 95%CI 1.28-4.98) are factors significantly associated with views towards pharmacist’s performance. Also, financial support (Coefficient 2.96 95%CI 0.72-5.19) is a factor significantly associated with views towards benefit of primary care pharmacy Conclusion: Perception multidisciplinary in the 10th health region towards PCP is high and such roles are viewed of high benefit. However, pharmacist need to improve their performance, especially the proactive activity and working in the community.
บทนำ: เภสัชกรรมปฐมภูมิเป็นบทบาทของเภสัชกรที่มีความจำเป็นต้องทำงานร่วมกับสหวิชาชีพ การรับรู้บทบาทหน้าที่ซึ่งกันและกันจะช่วยเพิ่มคุณภาพของการดูแลผู้ป่วย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้บทบาทเภสัชกรรมปฐมภูมิของสหวิชาชีพ วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงสำรวจในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10 สหวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในระดับปฐมภูมิ ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ นักวิชาการสาธารณสุข พยาบาล แพทย์แผนไทย ทันตาภิบาล เจ้าพนักงานเภสัชกรรม และนักกายภาพ สุ่มตัวอย่างแบบ stratified random sampling ตามสัดส่วนของสหวิชาชีพของพื้นที่ศึกษา จดหมายเชิญถูกส่งไปทางไปรษณีย์และขอให้ผู้ตอบได้ตอบแบบสอบถามทางออนไลน์ บทบาทเภสัชกรรมปฐมภูมิมี 4 ด้านรวม 11 บทบาท แบบสอบถามมีคำถามสำคัญ 3 ข้อ คือ การรับรู้บทบาทเภสัชกรรมปฐมภูมิ การรับรู้ถึงประโยชน์ของงานเภสัชกรรมปฐมภูมิ และการรับรู้ผลการปฏิบัติงานของเภสัชกรปฐมภูมิ ได้ผ่านการทดสอบเชิงเนื้อหาและความเที่ยงแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์แบบพหุ ผลการศึกษา: มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 237 คน คิดเป็นอัตราตอบกลับร้อยละ 59.25 สหวิชาชีพส่วนใหญ่มีการรับรู้บทบาทเภสัชกรรมปฐมภูมิ (≥ร้อยละ 90) สหวิชาชีพมีความเห็นว่าเภสัชกรปฐมภูมิทำงานด้านการบริบาลเภสัชกรรมที่บ้านและการจัดการปัญหายาในชุมชนได้ไม่ดีมากนัก (คะแนนเฉลี่ย 2.35±0.66 และ 2.36±0.68 ตามลำดับ) สหวิชาชีพมีความเห็นว่างานเภสัชกรรมปฐมภูมิมีประโยชน์มาก (คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 2.50) ผลการวิเคราะห์แบบพหุพบว่า การประชุมเพื่อพัฒนาระบบการใช้ยากับรพ.สต. (OR 2.99 95%CI 1.45-6.15) และการเยี่ยมบ้านเพื่อติดตามจัดการปัญหายาแก่ผู้ป่วย (OR 2.46 95%CI 1.19-5.06) เป็นปัจจัยเสริมการรับรูปบทบาทหน้าที่เภสัชกรได้อย่างมีนัยสำคัญ การมีงบประมาณสนับสนุน (Coefficient 2.96 95%CI 0.72-5.19) ความถี่ในการปฏิบัติงานของเภสัชกร (Coefficient 3.13 95%CI 1.28-4.98) เป็นปัจจัยที่ช่วยเพิ่มคะแนนความคิดเห็นที่มีต่อการปฏิบัติงานของเภสัชกรอย่างมีนัยสำคัญ และการมีงบประมาณสนับสนุน (Coefficient 2.96 95%CI 0.72-5.19) เป็นปัจจัยที่ช่วยเพิ่มคะแนนความคิดเห็นที่มีต่อประโยชน์ของงานเภสัชกรรมปฐมภูมิอย่างมีนัยสำคัญ สรุป: การรับรู้บทบาทหน้าที่ของเภสัชกรในงานเภสัชกรรมปฐมภูมิของสหวิชาชีพอยู่ในระดับสูง และสหวิชาชีพเห็นว่างานนี้มีประโยชน์ แต่เภสัชกรควรเพิ่มการปฏิบัติงานให้มากขึ้น โดยเฉพาะในด้านงานเชิงรุกและการทำงานกับชุมชน
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm.)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1771
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010781002.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.