Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1772
Title: Situation of Dispensing Service in Sub-district Health Primary Care of Health Region 10
สถานการณ์การส่งมอบยาและให้คำแนะนำการใช้ยาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล เขตสุขภาพที่ 10
Authors: Sothara Anugoolpracha
โสธรา อนุกูลประชา
Kritsanee Saramunee
กฤษณี สระมุณี
Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy
Keywords: การส่งมอบยา
ปฐมภูมิ
การสำรวจ
เขตสุขภาพที่ 10
dispensing
primary care
survey
the 10th health region
Issue Date:  15
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Introduction: Medicine dispensing service is an essential unit of subdistrict health promotion hospital (SHPH). Previous studies reported moderate to low compliance with medicine dispensing standard in SHPH. Objectives: This study was to investigate SHPH compliance with the dispensing standard. Materials and methods: A cross-sectional survey was conducted in the 10th health region. A standard for medicine dispensing in primary care has been introduced composing of 57 activities and requirements. The dispensing standard composed of six domains: management of dispensing facilities (22Q), dispensing and advice (10Q), promotion of rational use of medicine (9Q), monitoring medication error (10Q), monitoring adverse drug reaction (3Q), and monitoring high alert drug (3Q). Population was SHPH practitioner involved in dispensing service. Sample was randomly stratified based on province size. Invitation was sent by post requesting respondents to complete the online questionnaire. Response ‘Yes’ to each question was scored of one point, making a total score of 57. Achieving 80% of the total score of each domain deemed good compliance. Chi-square was used to identify potential factors for compliance with the dispensing standard. Results: There were 132 responses (48.87% of response rate). Most respondents were from size-M SHPH (63.94%). Practitioner mainly provided dispensing service was registered nurses (93.18%). SHPH performed good compliance for four domains: dispensing and advice (93.94%), promotion of rational use of medicine (85.61%), monitoring medication error (82.58%), and monitoring adverse drug reaction (92.42%). The other three domains were moderate: management of dispensing facilities (66.67%), monitoring high alert drug (76.52%), and monitoring medication error (78.79%). Potential factors for compliance included receiving training (p<0.001) and experience in dispensing (p=0.029). Conclusion: SHPH of the 10th health region has complied to most of activities and requirements of, except management of dispensing facilities, monitoring medication error and monitoring high alert drug. Dispensing service in SHPH still need attention in order to improve dispensing quality in primary care.
บทนำ: การส่งมอบยาและให้คำแนะนำการใช้ยาเป็นบทบาทที่สำคัญของระบบยาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) การศึกษาก่อนหน้าได้รายงานไว้ว่าผลการดำเนินงานด้านนี้อยู่ในระดับปานกลางจนถึงต่ำ วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจสถานการณ์การดำเนินงานด้านการส่งมอบยาและให้คำแนะนำการใช้ยาใน รพ.สต. ของเขตสุขภาพที่ 10 และรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานและความต้องการพัฒนาระบบการส่งมอบยาและให้คำแนะนำการใช้ยาใน รพ.สต. วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลในเขตสุขภาพที่ 10 ผู้วิจัยได้รวบรวมกิจกรรมและข้อกำหนดที่จำเป็นสำหรับงานด้านนี้พบว่ามี 55 รายการ แบ่งออกเป็น 6 หมวด ได้แก่ การบริหารจัดการระบบยา (22 ข้อ) มาตรฐานการส่งมอบยาและให้คำแนะนำการใช้ยา (10 ข้อ) การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (9 ข้อ) ระบบเฝ้าระวังความคลาดเคลื่อนทางยา (8 ข้อ) ระบบเฝ้าระวังการแพ้ยา (3 ข้อ) และระบบเฝ้าระวังการใช้ยาความเสี่ยงสูง (3 ข้อ) ประชากร คือ ผู้สั่งใช้ยาใน รพ.สต. สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามขนาดของจังหวัด จากนั้นผู้วิจัยส่งหนังสือเชิญที่แนบ QR code สำหรับทำแบบสอบถามออนไลน์ไปยัง รพ.สต. ที่ถูกสุ่ม การตอบ “ใช่” และ “ไม่ใช่” ในแต่ละข้อจะมีคะแนนเท่ากับ 1 และ 0 ตามลำดับ ทำให้แบบสอบถามมีคะแนนเต็มเท่ากับ 55 คะแนน ผู้ที่ตอบได้คะแนนมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80 ของคะแนนเต็มในแต่ละหมวดจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีผลการดำเนินงานดี ผลการศึกษา: มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 132 ชุด (คิดเป็นอัตราตอบกลับร้อยละ 43.00) ส่วนใหญ่มากจาก รพ.สต. ขนาด M (ร้อยละ 63.94) ผู้สั่งใช้ยาส่วนใหญ่ คือ พยาบาลวิชาชีพ (ร้อยละ 93.18) รพ.สต. มีผลการดำเนินงานระดับดีในหมวด มาตรฐานการส่งมอบยาและให้คำแนะนำการใช้ยา (ร้อยละ 93.94), การส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (ร้อยละ 85.61) และระบบการป้องกันการแพ้ยา (ร้อยละ 92.42) ส่วนอีก 3 หมวดอยู่ในระดับต่ำ คือ การบริหารจัดการระบบยา  (ร้อยละ 66.67) ระบบเฝ้าระวังการใช้ยาความเสี่ยงสูง (ร้อยละ 76.52%) และการติดตามความคลาดเคลื่อนทางยา (ร้อยละ 78.79) ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานที่ดี คือ การได้รับการฝึกอบรม (p<0.001) และประสบการณ์การจ่ายยา (p=0.029). สรุป: การดำเนินงานด้านการส่งมอบยาและให้คำแนะนำการใช้ยาใน รพ.สต. เขตสุขภาพที่ 10 ส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่ดีแล้ว ยกเว้นในหมวด การบริหารจัดการระบบยา การติดตามความคลาดเคลื่อนทางยา และหมวดการติดตามการใช้ยาความเสี่ยงสูง อย่างไรก็ตามบทบาทด้านนี้ยังคงต้องการการพัฒนาเพื่อเพิ่มคุณภาพของระบบยาในระดับปฐมภูมิ
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm.)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1772
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
60010781008.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.