Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1773
Title: Development of an Information System to Monitor Drugs Interaction Among Patient Receiving Warfarin and to Transfer Patient Data in Tumbon Health Promoting Hospital Loengnoktha Amphur, Yasothon Province
การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเฝ้าระวังการเกิดอันตรกริยาระหว่างยาของผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินและการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วย ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
Authors: Watchareewan Ukhom
วัชรีวรรณ อุคำ
Suratchada  Chonsophon
สุรัชดา ชนโสภณ
Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy
Keywords: ระบบสารสนเทศ
ยาวาร์ฟาริน
อันตรกิริยาระหว่างยา
หน่วยบริการปฐมภูมิ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
Information System
Warfarin
Drug interaction
Primary Care Unit
Tumbon Health Promoting Hospital
Issue Date:  28
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Background: Warfarin is an anticoagulant with a narrow treraputics index, and can cause interstitial interactions with other medicines, herbs or supplements. According to data from Loengnoktha Health Center in Amphur Loengnoktha, there have been frequent incidences of prescribing medicines which can cause drug interaction with warfarin in this group of patients. Therefore process of taking a better care of patients has been developed to monitor drug interaction and transfer patient data in the health center. Objective: Assess the effect of having an information system on the incidence of drug interactions and the occurrence of adverse reactions resulting from warfarin interactions and to improve staff knowledge. System usage requirement, satisfaction and cooperation in accessing information system. Methods : This study is an experimental study. It is divided into three phases; phase I design and development of monitoring the occurrence of warfarin drug intervention by focus group to select a list of drugs and to plan for the management of medicines which may intervene with warfarin. Development of information system to monitor the occurrence of drug intervention in warfarin in HOSxP PCU which developed from Delphi, designed and developed an online patient database forwarding system using Google Sites, Phase II using the system by Health Center Staffs. And phase III, research evaluation. Result : It was found that before having information system 25.00 percent of warfarin interaction and after having information system was decreased to 5.04 percent, and data on the proportion of adverse prescriptions caused by drug interactions and adverse symptoms caused by warfarin were found before and after having information system was reduced, statistically (p<0.001) and severe adverse symptom were not observed. The results of the evaluation of demand for information system of preventing warfarin drug (Anti_PCU Alert) require notification every time prescribing medicine which causes drug intervention is found ( =4.89, SD=0.32 at the highest level). The results of requirement of using information system for patient a forwarding https://sites.google._ com/view/lnwarfarin need to be clear, accurate, and integrity of information ( =4.94, SD=0.23) at the highest level. The result of the assessment of overall satisfaction with the use of the system ( =4.51, SD=0.51). The results of the comparison of the knowledge score between the results of the Pre-test and the Post-test different statistically significantly (p<0.001), and it was concluded that the knowledge of the Health Centerstaffs increased after giving the knowledge. The results of cooperating using information system, it was found that when divided by the number of times of use with the largest number of times the members came in by criteria, between 4 and 17 times (88.33%), and the members who came in more than 16 times are in 2 health center (16.67%) and none of them have accessed the information system less than 4 times. Conclusion: After the development of the information system showed a decrease in prescribing medicines which tend to intervene with warfarin statistically and significantly. The health center staffs increased their knowledge after information system training. It is found that the demand for the information system was in high and highest level. Health Center Staffs are cooperative to use the information systems without monitoring tended to be higher. And all of them can use it without monitoring since weeks 12nd
หลักการและเหตุผล วาร์ฟารินเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดที่มีดัชนีการรักษาแคบ สามารถเกิดอันตรกิริยาระหว่างยากับยาอื่น, สมุนไพร หรืออาหารเสริมได้ จากข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) อำเภอเลิงนกทา มีเหตุการณ์การจ่ายยาที่เกิดอันตรกิริยากับวาร์ฟารินบ่อยครั้ง ดังนั้นจึงมีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเฝ้าระวังการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาและการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วย วัตถุประสงค์ ประเมินผลของการมีระบบสารสนเทศต่ออุบัติการณ์การเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาและการเกิดอาการไม่พึงประสงค์อันมีผลมาจากการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาวาร์ฟารินรวมทั้งพัฒนาความรู้ของเจ้าหน้าที่ ความต้องการใช้งานระบบ ความพึงพอใจ และความร่วมมือการเข้าใช้ระบบสารสนเทศ วิธีดำเนินการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (experimental study) แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ Phase I ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยจัดประชุมกลุ่ม (Focus group) เพื่อคัดรายการยาและวางแผนการจัดการยาที่ต้องเฝ้าระวังการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยากับวาร์ฟาริน ตามรายการยาที่มีในกรอบยา รพ.สต. และพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเฝ้าระวังการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาวาร์ฟารินในโปรแกรมระบบงานสถานีอนามัย (HOSxP PCU) โดยพัฒนาจากโปรแกรม Delphi ออกแบบและพัฒนาระบบส่งต่อฐานข้อมูลผู้ป่วยออนไลน์ โดยใช้โปรแกรม Google site, Phase II ใช้ระบบ โดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต. และ Phase III ประเมินผลการวิจัย ผลการศึกษาการวิจัยพบอุบัติการณ์การจ่ายยาที่ห้ามใช้ร่วมกับวาร์ฟารินก่อนใช้ระบบสารสนเทศ ร้อยละ 25.00 และหลังใช้ระบบสารสนเทศลดลงเหลือร้อยละ 5.47 และพบว่าสัดส่วนการสั่งใช้ยาที่เกิดอันตรกิริยาระหว่างยาและอาการไม่พึงประสงค์ก่อนและหลังมีระบบสารสนเทศลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และหลังมีระบบสารสนเทศไม่พบอุบัติการณ์ที่มีความรุนแรงจากการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา ,ผลการประเมินความต้องการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อเฝ้าระวังอันตรกิริยาระหว่างยาวาร์ฟาริน (Program Anti_PCU Alert) ต้องการให้มีการแจ้งเตือนรายการยาที่เกิดอันตรกิริยาทุกครั้ง ( =4.89, SD=0.32 ในระดับมากที่สุด), ผลการประเมินความต้องการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อเพื่อการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วย https://sites.google.com/view/lnwarfarin ต้องการให้มีความชัดเจน ถูกต้อง สมบูรณ์ของข้อมูล ( =4.94, SD=0.23 ในระดับมากที่สุด), ผลการประเมินความพึงพอใจโดยรวมต่อการใช้งานระบบ ( =4.51, SD=0.51 ในระดับมากที่สุด), ผลการเปรียบเทียบคะแนนความรู้ ระหว่างผลการทดสอบ Pre-test กับ Post-test แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) สรุปได้ว่าความรู้ของเจ้าหน้าที่ รพ.สต. เพิ่มขึ้นหลังจากที่ให้ความรู้, ผลความร่วมมือการเข้าใช้งานระบบสารสนเทศ พบว่าเมื่อแบ่งตามจำนวนครั้งของการใช้งานโดยมีจำนวนครั้งที่สมาชิกเข้ามาใช้งานมากที่สุดตามเกณฑ์ คือระหว่าง 4-17ครั้ง (ร้อยละ 88.33) และสมาชิกที่เข้าใช้งานมากกว่า 16 ครั้ง มีจำนวน 2 รพ.สต. (ร้อยละ 16.67) และไม่มี รพ.สต. ใดที่เข้าใช้งานระบบสารสนเทศน้อยกว่า 4 ครั้ง สรุปผลการศึกษาหลังมีการพัฒนาระบบสารสนเทศพบว่าการสั่งจ่ายยาที่มีแนวโน้มเกิดอันตรกิริยาระหว่างยาวาร์ฟารินลดลงและอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการสั่งจ่ายยาที่มีอันตรกิริยาระว่างยาลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและเจ้าหน้าที่ รพ.สต. มีความรู้เพิ่มขึ้นหลังการให้การอบรมและการใช้ระบบสารสนเทศ พบว่าความต้องการใช้ระบบและความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบสารสนเทศอยู่ในระดับมากและมากที่สุด ในด้านความร่วมมือในการเข้าใช้งานระบบสารสนเทศพบว่าสมาชิกที่เข้าใช้งานเองโดยไม่ต้องติดตามมีแนวโน้มสูงขึ้น และสามารถเข้าใช้งานโดยไม่ต้องติดตามได้ครบทุกแห่งตั้งแต่สัปดาห์ที่ 12 เป็นต้นไป
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm.)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1773
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010781003.pdf3.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.