Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1783
Title: MALNS Algorithm – Based Web Application for Designing Tourist trip for Burirum Province, Thailand
เว็บแอปพลิเคชันเพื่อการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวของจังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้ MALNS อัลกอริทึม
Authors: Narisara Khamsing
นริศรา คำสิงห์
Kantimarn Chindaprasert
กันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ
Mahasarakham University. The Faculty of Tourism and Hotel Management
Keywords: เว็บแอปพลิเคชัน
การออกแบบเส้นทางท่องเที่ยว
MALNS อัลกอริทึม
Web Application
Designing Tourist trip
MALNS Algorithm
Issue Date:  25
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The objectives of this research are 1) to study the behavior of tourists in Buriram Province; 2) to assess the potential of tourist attractions in Buriram Province; 3) to study the behavior of using an application in designing a tourist trip of tourists in Buriram province; 4) to study the tourists' needs for the development of an application for designing a tourist trip in Buriram Province and 5) to design and present an application for designing Buriram tourist trip. This research is a mixed research method that collected data from Thai tourists traveling in Buriram province. Meanwhile, the quantitative research samples were 420 people from 30 tourist attractions in Buriram province selected by purposive sampling. The statistics used in the quantitative data analysis were descriptive statistics. The statistics used in the hypothesis test were inferential statistics and the qualitative research data were collected from Thai tourists traveling to Buriram province by using the Semi-Structured Interview technique until the duplicate data was obtained, interviews were stopped for 15 people. Accordingly, the interview was successfully carried out. The purposive sampling method was used to analyze the interview data by using Thematic Analysis. The quantitative research results indicated that the potential of tourist attractions in Buriram province was divided into 17 tourist attractions with moderate potential as a score ranging from 2.91 - to 3.50, and 13 high potential tourist attractions with a score of 3.54 - 4.23. The tourists’ behaviors counted on the duration of the innovation usages related to the tourist trip design innovation of travel programs which was on average of 31-45 minutes, and most of which were used on average more than 6 times/year depending on the purposes of use in tourism. The encountered problem of using the application was the safety of the use, whereas the main used equipment was the Mobile phone/Smartphone. The needs of tourists for the development of tourist trip design innovation in Buriram province revealed that tourists needed to develop the innovative tourism program design in Buriram province at a high level. The results of the qualitative research showed that 1) The efficiency of the system: The system should be simple, fast, uncomplicated, and be used or available on various devices. 2) The ease of use: tourists tended to select an easy-to-understand application that was uncomplicated and easy-to-download application. 3) Data accuracy: Information must be complete, and correct, including tourist attraction information and illustrations connected to the web browsers or other sources as well. 4) The length of time to access information: Applications used to plan and search for travel information needed to consume fast download time. Moreover, users would choose applications that are more time-saving in data access. 5) Functionality: The application was easy to use and uncomplicated. Program functions were directly displayed for the easiest and fastest operation. Easy-to-use menus were categorized. 6) Safety in use: There was secure access and reliability of the information in the application. 7) Aesthetics and usability: The application should contain beautiful colors, excellent illustrations, appropriate font sizes, suitable content for the screen display, comfortable, and easy to read. 8) The use of image symbols: Images of tourist attractions should be kept up to date with the best details and sharp resolution. 9) Benefits of use: The application contained information about the tourism route with adequate tourist information which would help tourists to save money and time for traveling. 10) Complete information as needed: The tourist trip design innovation provided complete, accurate, and modern information. Additionally, the application was able to link other required information such as accommodation, restaurants, and directions in tourism. The hypothesis testing results revealed that tourists who visited the province were from different demographic factors. The behavior of using tourist trip design innovation was not different. On the aspect of demand for tourist trip design innovation, it was found that tourists with different demographic factors, such as occupation, had different needs for tourist trip design innovation at the statistical significance level of 0.05. Meanwhile, other aspects were not different. Regarding the potential of tourist attractions, it also revealed that tourists with different demographic factors such as age had different opinions on the potential of tourist attractions in Buriram Province statistically significant at the 0.05 level. In addition, the other aspects were not significantly different. According to the above research results, the researcher applied the information to solve the problems of designing tourism routes based on different needs owing to the way of Modified Adaptive Large Neighborhood Search (MALNS) for efficient tourism route designs for groups or families travel and private excursions. Thus, the outcome was a useful innovative web application that well supported tourism promotion in Buriram province. Tourists were able to use it to design itineraries according to their own needs and their travel companions. This was considerably useful for planning a travel trip. In addition, relevant agencies were allocated to disseminate or develop further for maximum benefits for tourism in Buriram and other provinces.    
วิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้แอปพลิเคชันในการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่เดินทางท่องเที่ยวในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ และ 4) เพื่อศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวต่อการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ 5) เพื่อออกแบบและนำเสนอแอปพลิเคชันเพื่อการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research Method) โดยเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์ ในการวิจัยเชิงปริมาณใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 420 คน จากแหล่งท่องเที่ยวภายในจังหวัดบุรีรัมย์ 30 แห่ง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานคือสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) และการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi Structured Interview) จนกระทั่งได้ข้อมูลซ้ำกันจึงหยุดสัมภาษณ์ จำนวน 15 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ด้วยวิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic Analysis)           ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว ในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ แบ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพระดับปานกลาง จำนวน 17 แห่ง ซึ่งมีระดับคะแนนตั้งแต่ 2.91 – 3.50 และแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพระดับมาก จำนวน 13 แห่ง ซึ่งมีระดับคะแนนตั้งแต่ 3.54 – 4.23 ส่วนพฤติกรรมการใช้นวัตกรรมเพื่อการออกแบบโปรแกรมท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว พบว่า ระยะเวลาในการใช้งานนวัตกรรมที่เกี่ยวกับการออกแบบโปรแกรมท่องเที่ยวโดยเฉลี่ย 31-45 นาที ส่วนใหญ่มีการใช้งานเฉลี่ยมากกว่า 6 ครั้ง / ปี และวัตถุประสงค์ของการใช้งานคือเพื่อการท่องเที่ยว ปัญหาที่พบในการใช้งานส่วนใหญ่คือ ความปลอดภัยในการใช้งาน และอุปกรณ์ที่ใช้งานหลักคือ โทรศัพท์มือถือ/สมาร์ทโฟน ด้านความต้องการของนักท่องเที่ยวต่อการพัฒนานวัตกรรมการออกแบบโปรแกรมท่องเที่ยว จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า นักท่องเที่ยวมีความต้องการการพัฒนานวัตกรรมการออกแบบโปรแกรมท่องเที่ยว จังหวัดบุรีรัมย์ ในระดับมาก ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า 1) ด้านประสิทธิภาพของระบบ ระบบควรใช้ง่าย รวดเร็ว ไม่ซับซ้อน และสามารถใช้ได้หลาย ๆ อุปกรณ์  2) ด้านความง่ายในการใช้งาน เลือกใช้แอปพลิเคชันที่ใช้มีวิธีใช้งานที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน สามารถดาวโหลดได้ง่าย 3) ด้านความถูกต้องของข้อมูล ข้อมูลต้องครบถ้วน ถูกต้อง มีข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและภาพประกอบ และสามารถเชื่อมต่อกับเว็บหรือแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ได้ด้วย 4) ด้านระยะเวลาในการเข้าถึงข้อมูล แอปพลิเคชันที่ใช้ในการวางแผนและหาข้อมูลท่องเที่ยวต้องมีความรวดเร็วในการโหลดข้อมูล ผู้ใช้จะเลือกใช้แอปพลิเคชันที่มีความไวในการเข้าถึงข้อมูลมากกว่า 5) ด้านฟังก์ชั่นการใช้งาน ง่ายและไม่ซับซ้อน แสดงโปรแกรมฟังก์ชั่นต่างๆ ขึ้นมาตรงๆ เพื่อใช้งานได้ง่ายและรวดเร็วที่สุด มีการจัดหมวดหมู่เมนูที่ง่ายต่อการใช้งาน 6) ด้านความปลอดภัยในการใช้งาน มีความปลอดภัยในการเข้าใช้งานและมีความน่าเชื่อถือของข้อมูลต่าง ๆ ในแอปพลิเคชัน 7) ด้านความสวยงามและน่าใช้งาน ควรมีสีสันที่สวยงาม ภาพประกอบสวยงาม ขนาดของตัวอักษรและเนื้อหาที่มีความเหมาะสมกับหน้าจอ อ่านง่าย ดูแล้วสบายตา 8) ด้านการใช้สัญลักษณ์รูปภาพ รูปภาพควรมีการอัพเดทให้เป็นปัจจุบัน ควรใช้รูปภาพที่มีความละเอียด คมชัด    9) ด้านประโยชน์ในการใช้งาน แอปพลิเคชันมีข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทาง มีข้อมูลแหล่งท่องเที่ยว เป็นตัวช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทางท่องเที่ยว 10) มีข้อมูลครบถ้วนตามต้องการ นวัตกรรมการออกแบบโปรแกรมท่องเที่ยวมีข้อมูลที่ได้รับครบถ้วน ถูกต้องและทันสมัย สามารถเชื่อมโยงข้อมูลอื่น ๆ ที่ต้องการได้ เช่น ที่พัก ร้านอาหาร เส้นทาง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า นักท่องเที่ยวที่มีปัจจัยทางประชากรศาสตร์แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้นวัตกรรมการออกแบบโปรแกรมท่องเที่ยวไม่แตกต่างกัน ขณะที่ด้านความต้องการต่อนวัตกรรมการออกแบบโปรแกรมการท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวที่ปัจจัยทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ อาชีพ แตกต่างกัน มีความต้องการต่อนวัตกรรมการออกแบบโปรแกรมการท่องเที่ยวแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน ในประเด็นศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว พบว่า นักท่องเที่ยวที่มีปัจจัยทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน ดังนั้น จากผลการวิจัยข้างต้น ผู้วิจัยจึงนำข้อมูลมาใช้ในการแก้ปัญหาการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีความต้องการที่แตกต่างกัน โดยวิธีการปรับปรุงการค้นหาพื้นที่ใกล้เคียงขนาดใหญ่ปรับค่าได้ (MALNS) เพื่อการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพ สำหรับการท่องเที่ยวแบบกลุ่มหรือแบบครอบครัวและการท่องเที่ยวแบบส่วนตัว จึงเกิดเป็นเว็บแอปพลิคชันที่เป็นนวัตกรรมที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการสนับสนุนส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์ นักท่องเที่ยวสามารถใช้ในการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวตามความต้องการของตนเองและสมาชิกผู้ร่วมเดินทาง อันจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการเดินทางท่องเที่ยว อีกทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปเผยแพร่หรือพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดอื่น ๆ ต่อไปได้  
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1783
Appears in Collections:The Faculty of Tourism and Hotel Management

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61011060006.pdf8.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.