Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1785
Title: Big Data Management on Urban Information System for the Physical Analysis, the Case Study of Nakhon Ratchasima Province
การบริหารจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับฐานข้อมูลสารสนเทศเมือง เพื่อการวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพกรณีศึกษาเทศบาลนครนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
Authors: Sontaya Ratanatip
สนธยา รัตนทิพย์
Tarawut Boonlua
ธราวุฒิ บุญเหลือ
Mahasarakham University. The Faculty of Architecture Urban Design and Creative Arts
Keywords: เทศบาลนครนครราชสีมา
ฐานข้อมูลสารสนเทศเมือง
การบริหารจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่
การบริหารจัดการพื้นที่
Nakhon Ratchasima Municipality
Urban Information System
Big Data Management
Management
Issue Date:  11
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purpose of this research is to study Urban information system and collect and modify big data management and analyzing big data on the physical characteristics of the city, and suggesting guidelines for area management to Nakhon Ratchasima Municipality including the study of related concepts and theories Area surveys and local observations were participant with a specific sample of a total of 8 agencies, together with an in-depth interview. From the experts of each department The results of the study found that able to arrange the preparation of the city information database by the bureau of finance Nakhon Ratchasima Municipality has the most Geographic Information Database (GIS) with 13 data layers, followed by the bureau of waterworks Nakhon Ratchasima Municipality 4 Layers of information, Department of Lands 3Layers of information, Department of Public Works and Town & Country Planning, and the Treasury Department 2 layers of information, bureau of Technician, Land Development Department and related information amount 1 Data layer. City Big Data Collection and Remediation Study is consistent with the theory, The main characteristics of Big Data can be arranged in order to compare, modify and update the data of each department. The bureau of Finance had the most corrections and updates with 9 Points, followed by the Land Department with 8 Points, the Department of Public Works and Town & Country Planning. Bureau of Waterworks and the Treasury Department 7 Points, the Land Development Department 6 Points, and the Bureau of Technician 3 Points. Study and analyze big data in terms of physical characteristics of the city. It has been found that the FAR and OSR configuration methods have the scope of the FAR and OSR configurations only at the old town area level, and the building block level has a smaller scope setting than the City Development Authority. and have an education at the old city community level The determination of FAR and OSR must take into account environmental, economic and social aspects. The environment must be taken into account. Context condition of building retreat phase, architectural style, number of floors and building height. The economic aspect is trade activity and the social dimension is population. The recommendations for area management were found to be divided into 3 Areas: database management, Data Center, Nakhon Ratchasima Municipality. planning and conservation operations in the old city area and holistic integrated area management.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศของเมืองและรวบรวมข้อมูลและปรับแก้ข้อมูลขนาดใหญ่ และวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ในเชิงลักษณะทางกายภาพของเมือง และเสนอแนะแนวทางด้านการบริหารจัดการพื้นที่ให้เทศบาลนครนครราชสีมา รวมถึงการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง การลงสำรวจพื้นที่และการสังเกตในพื้นที่แบบมีส่วนร่วมกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง รวมทั้งหมด 8 หน่วยงานร่วมกับแบบสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้เชี่ยวชาญของแต่ละหน่วยงาน ผลการศึกษาพบว่า สามารถจัดลำดับการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศเมือง โดยสำนักการคลัง เทศบาลนครนครราชสีมามีการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) มากที่สุด จำนวน 13 ชั้นข้อมูล รองลงมาคือสำนักการประปา เทศบาลนครนครราชสีมาจำนวน 4 ชั้นข้อมูล กรมที่ดิน 3 ชั้นข้อมูล กรมโยธาธิการและผังเมือง และกรมธนารักษ์ จำนวน 2 ชั้นข้อมูล สำนักการช่าง กรมพัฒนาที่ดิน และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จำนวน 1 ชั้นข้อมูล การศึกษาการรวบรวมข้อมูลและปรับแก้ข้อมูลขนาดใหญ่ของเมือง มีความสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎี ลักษณะสำคัญของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) สามารถจัดลำดับในการเปรียบเทียบการปรับแก้และอัพเดทข้อมูลของแต่ละหน่วยงาน โดยสำนักการคลังมีการปรับแก้และอัพเดทข้อมูลมากที่สุด จำนวน 9 คะแนน รองลงมาคือกรมที่ดิน จำนวน 8 คะแนน กรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักการประปา และกรมธนารักษ์ จำนวน 7 คะแนน กรมพัฒนาที่ดิน 6 คะแนน และสำนักการช่าง 3 คะแนน การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ในเชิงลักษณะทางกายภาพของเมือง ได้พบว่าวิธีการกำหนดค่า FAR และ OSR จะมีขอบเขตของการกำหนดค่า FAR และ OSR เพียงแค่ระดับพื้นที่ชุมชนเมืองเก่า และระดับบล็อกอาคาร มีขอบเขตของการกำหนดมีขนาดที่เล็กกว่าที่ทางหน่วยงานการพัฒนาเมืองกำหนด และมีการศึกษาระดับพื้นที่ชุมชนเมืองเก่า ทั้งนี้การกำหนดค่า FAR และ OSR จะต้องพิจารณาถึงทางด้านสิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจและสังคม ทางด้านสิ่งแวดล้อมจะต้องคำนึงถึง สภาพบริบทของพื้นที่ระยะถอยร่นอาคารรูปแบบสถาปัตยกรรม จำนวนชั้น และความสูงอาคาร ทางด้านเศรษฐกิจ คือ กิจกรรมการค้าและมิติทางด้านสังคม คือ ความหนาแน่นของประชากร การเสนอแนะแนวทางด้านการบริหารจัดการพื้นที่ พบว่า แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านบริหารจัดการฐานข้อมูล Data Center เทศบาลนครนครราชสีมา ด้านการวางแผนและการดำเนินงานอนุรักษ์บริเวณพื้นที่เมืองเก่า และด้านการบริหารจัดการพื้นที่บูรณาการแบบองค์รวม
Description: Master of Architecture (M.Arch.)
สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1785
Appears in Collections:The Faculty of Architecture Urban Design and Creative Arts

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61011180006.pdf6.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.