Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/179
Title: The Ecological Self in Rewat Panpipat' s Poetry
ตัวตนเชิงนิเวศในกวีนิพนธ์ของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์
Authors: Banjong Burinprakhon
บรรจง บุรินประโคน
keerati Dhanachai
กีรติ ธนะไชย
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: ตัวตน
ตัวตนเชิงนิเวศ
กวี
กวีนิพนธ์
Self
Ecological Self
Poet
Poetry
Issue Date:  2
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The ecological self of Rewat Panpipat’s thesis aims to study the ecological self of Rewat Panpipat’s and his methods to present his ecological self. This thesis study 7  Rewat Panpipat’s poetries, including: Ban Mae Nam (1995), 2) Pleng Nam (2001), 3) Mae Nam Ram Luek (2003), 4) Nok Cheewit (2007), 5) “the story of a cat seeing  the wall as a bridge” the or in Thai “Maew Phu Mong Hen Kam Pang Pen Sa Pan” (2012), 6 ) Mae Nam Deaw Kan (2015), and 7) Mae Nam Tee Sap Soon (2016). The result of the study was Rewat Panpipat’s poems have common characteristics. He emphasized on the nature which his ecological self have been originated. Moreover,   Rewat’s ecological self can be interpreted by his language usage methods and his narrative methods. His purpose is to make the readers to be conscious about the importance of the nature and environment which is the main idea of ecological self presentation. Another point is Rewat emphasized on living together with the nature as a friends, giving respect and to be humble with the nature. In the literature view interpretation of ecology from a literature is the concept to expose the relationship between human and environment. Human and nature need to understand each other and be rely on each other.             The result of the study on Rewat Panpipat’s poems and the his presentation strategy showed Rewat’s ecological self could be divided into 3 parts, including 1) self and identity, 2) self and society, 3) self and realization. The further explanation are as follows: 1) self and identity is the first identity of human which is belong to themselves “Myself is mine.” 2) self and society is the middle identity of human which have relationship with society. 3)  self and realization is the highest level of human identity which can be called spirit identity or “identity of realization.”             The result of the study of Rewat’s presentation strategy found that he choose many types of word in his poems to communicate to the readers, including: 1) the words which related to traditional life, traditional beliefs, and traditional intelligence. 2) The words which related to the past and the moments long time ago. 3) The words which related to soil, water, forests, seasons, and places. 4) The words which related to rural society and urban society. 5) The words which related to Buddhism and life philosophy.             The result can be concluded as nature, environment and his childhood experiences have enlightened Rewat Panpipat ecological self.
วิทยานิพนธ์เรื่อง ตัวตนเชิงนิเวศในกวีนิพนธ์ของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา ตัวตนเชิงนิเวศของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ และกลวิธีการนำเสนอตัวตนเชิงนิเวศ ของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ผ่านงานกวีนิพนธ์ 7 เล่ม คือ 1) บ้านแม่น้ำ (2538) 2) พันฝน เพลงน้ำ (2544) 3) แม่น้ำรำลึก (2547) 4) นกชีวิต (2550) 5) แมวผู้มองเห็นกำแพงเป็นสะพาน (2555) 6) แม่น้ำเดียวกัน (2558) 7) แม่น้ำที่สาบสูญ (2559) ผลการศึกษาพบว่า กวีนิพนธ์โดยรวมของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ มีลักษณะร่วมที่สำคัญคือ การให้ความสำคัญกับธรรมชาติ อันเป็นเสมือนเป็นพื้นที่ก่อเกิดตัวตนเชิงนิเวศ ทั้งนี้ ผู้เขียนได้นำเสนอตัวตนเชิงนิเวศผ่านกลวิธีการใช้ภาษา และกลวิธีการเล่าเรื่อง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อ่านตระหนักในการให้ความสำคัญกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันเป็นส่วนสำคัญของการนำเสนอตัวตนเชิงนิเวศ และให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกันอย่างฉันท์มิตร โดยให้ความเคารพ อ่อนน้อมถ่อมตนต่อธรรมชาติ การมองนิเวศวิทยาผ่านวรรณกรรมจึงเป็นแนวความคิดที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของวรรณกรรมที่ต่างต้องพึ่งพิงอิงอาศัยกันอย่างเข้าใจ ผลการศึกษาพบว่า การศึกษาตัวตนเชิงนิเวศในกวีนิพนธ์ของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ และกลวิธีการนำเสนอตัวตนเชิงนิเวศในกวีนิพนธ์ของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ตัวตนเชิงนิเวศในกวีนิพนธ์ของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ นั้นได้แยกออกเป็น 3 ลักษณะ คือ 1. ตัวตนกับตนเอง 2. ตัวตนกับสังคม 3. ตัวตนกับการประจักษ์แจ้ง กล่าวคือ 1) ตัวตนกับตนเอง เป็นตัวตนขั้นแรกของมนุษย์ที่มีความเป็นตัวเอง ตัวกูของกู 2) ตัวตนกับสังคม เป็นตัวตนขั้นกลาง เป็นตัวตนที่เข้าไปสัมผัสสัมพันธ์กับคนอื่นกับสังคม 3) ตัวตนกับการประจักษ์แจ้ง เป็นตัวตนขั้นสุดท้ายหรือขั้นสูงสุด ตัวตนแห่งจิตวิญญาณ คือ “ตัวตนแห่งการประจักษ์แจ้ง” สำหรับการศึกษาด้านกลวิธีการนำเสนอตัวตนเชิงนิเวศของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ พบว่า เรวัตร์ได้คัดสรรคำที่นำมาใช้ในงานกวีนิพนธ์เพื่อสื่อความหมายในรูปแบบต่างๆ มากมาย คือ 1. คำที่มีความหมายเกี่ยวกับวิถีชีวิตคติความเชื่อและภูมิปัญญาดั้งเดิม 2. คำที่มีความหมายเกี่ยวกับอดีตกาลและห้วงเวลาอันเลยลับ 3. คำที่มีความหมายเกี่ยวกับ ดิน น้ำ ป่า ฤดูกาล สถานที่  4. คำที่มีความหมายเกี่ยวกับสังคมชนบทและสังคมเมือง และ 5. คำที่มีความหมายเกี่ยวกับพุทธศาสนาและปรัชญาชีวิต กล่าวได้ว่า ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และประสบการณ์วัยเยาว์ ล้วนแต่เป็นเครื่องมือหนึ่งในการหล่อหลอมความเป็นตัวตนเชิงนิเวศของเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์ในที่สุด 
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/179
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
57010180006.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.