Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1792
Title: Policy Implementation: Ecotourism Promote Policy in Less Visited Areas in Chaiyaphum Province
การนำนโยบายไปปฏิบัติ : นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองเชิงนิเวศในจังหวัดชัยภูมิ
Authors: Kanhokporn Thabseekaew
กนกพร ทับสีแก้ว
Prayote Songklin
ประโยชน์ ส่งกลิ่น
Mahasarakham University. The College of Politics and Governance
Keywords: การนำนโยบายไปปฏิบัติ
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
การท่องเที่ยวเมืองรอง
Policy Implementation
Ecotourism
Less Visited Areas
Issue Date:  14
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to study Policy Implementation: Ecotourism Promote Policy in Less Visited Areas in Chaiyaphum Province. The objectives were to 1) study the implementation of ecotourism promote policy in Less Visited Areas in Chaiyaphum Province, 2) study the problems about the implementation of ecotourism promote policy in Less Visited Areas in Chaiyaphum Province, and 3) suggest the implementation of ecotourism promote policy in Less Visited Areas in Chaiyaphum Province. This is a qualitative research. The instrument was a structured interview form. There were totally 11 interviewees, i.e., government officers, entrepreneurs, and involved people. The results were found as follows. 1. For the implementation of ecotourism promote policy in Less Visited Areas in Chaiyaphum Province (1) in term of message communication, it was found that the national parks could clearly transfer the policy to officers in charge. (2) In term of resources, it was found that the allocated budget was insufficient for the national parks, resulting in less number of officers in charge. (3) In term of attitudes, it was found that officers in charge had positive attitudes and perceived the benefits of policy implementation. (4) In term of implementation structure, it was found that the national parks had clear implementation structure with job allocation, monitoring, and regular performance assessment. (5) In term of area, Chaiyaphum Province had tourist attractions with different identities, prominence, and beauty. Tourists could travel to each particular attraction all year round. (6) In term of management, it was found that the national parks had efficient management system to facilitate tourists. (7) In term of activities and process, it was found that the national parks had juvenile activities, trail running, nature education, forestation, and weir construction. And (8) in term of participation, it was found that the national parks received efficient cooperation from local inhabitants and involved agencies, particularly natural resource conservation and forest monitoring. 2. For the problems about the implementation of ecotourism promote policy in Less Visited Areas in Chaiyaphum Province, (1) in term of message communication, it was found that officers in charge misunderstood their supervisors’ commands in some cases, resulting in confusion. (2) In term of resources, it was found that the allocated budget and personnel were insufficient for the national parks. (3) In term of attitudes, it was found that attitudes between on-site and field officers in charge were incongruent in some cases. (4) In term of implementation structure, it was found that the national parks had the multi-functional structure, resulting in implementation delay. (5) In term of area, it was found that the national parks had unclear signs in some spots. Also, the disabled, the elderly, and kids could not access some tourist attractions. (6) In term of management, it was found that the national parks had insufficient management to support tourists in high season. (7) In term of activities and process, it was found that the national parks had less tourism promotion activities due to the COVID-19 pandemic. And (8) in term of participation, it was found that rather small number of local inhabitants participated in waste management. 3. For the suggestions of the implementation of ecotourism promote policy in Less Visited Areas in Chaiyaphum Province, (1) in term of message communication, there should be trainings and seminars on the policy for officers in charge for correct analysis and insights into the objectives. (2) In term of resources, sufficient budget and personnel should be provided for tourism promotion. (3) In term of attitudes, supervisors should clarify and convince officers in charge to have more positive attitudes toward the implemented policy. (4) In term of implementation structure, there should be regulations and clear implementation plans. (5) In term of area, there should be more care and cleanness of the area.  (6) In term of management, there should be more concern about restaurant and accommodation management benchmarks. (7) In term of activities and process, there should be more various activities, with request for more cooperation from local inhabitants to promote activities. And (8) in term of participation, communities should take part in promoting activities provided in the national parks for income creation to communities. 
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการนำนโยบายไปปฏิบัติ : นโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองเชิงนิเวศในจังหวัดชัยภูมิ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการนำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองเชิงนิเวศไปปฏิบัติในจังหวัดชัยภูมิ 2) เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการนำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองเชิงนิเวศไปปฏิบัติในจังหวัดชัยภูมิ และ 3) เพื่อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองเชิงนิเวศไปปฏิบัติในจังหวัดชัยภูมิ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผู้ให้สัมภาษณ์มีจำนวนทั้งสิ้น 11 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้ประกอบการ และประชาชนที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. ผลการศึกษาเกี่ยวกับการนำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองเชิงนิเวศไปปฏิบัติในจังหวัดชัยภูมิ 1) ด้านสื่อข้อความ พบว่า อุทยานแห่งชาติสามารถนำนโยบายไปถ่ายทอดสู่ผู้ปฏิบัติที่เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจน 2) ด้านทรัพยากร พบว่า อุทยานแห่งชาติได้รับการจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ ส่งผลให้จำนวนผู้ปฏิบัติงานมีจำนวนลดลง 3) ด้านทัศนคติของผู้ปฏิบัติ พบว่า ผู้ปฏิบัติมีทัศนคติเชิงบวก และเห็นถึงประโยชน์ของการนำนโยบายไปปฏิบัติ 4) ด้านโครงสร้างปฏิบัติงาน พบว่า อุทยานแห่งชาติมีโครงสร้างการปฏิบัติงานที่ชัดเจน โดยมีการแบ่งงาน การติดตามการทำงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงานอยู่เป็นประจำ 5) ด้านพื้นที่ พบว่า จังหวัดชัยภูมิมีพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมีจุดเด่นและความสวยงามที่แตกต่างกัน และนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวในแต่ละแห่งได้ตลอดทั้งปี 6) ด้านการจัดการ พบว่า อุทยานแห่งชาติ มีระบบการจัดการที่ดีในการดูแลนักท่องเที่ยวให้ได้รับความสะดวก 7) ด้านกิจกรรมและกระบวนการ พบว่า อุทยานแห่งชาติมีการจัดกิจกรรมค่ายเยาวชน กิจกรรมวิ่งเทรล กิจกรรมศึกษาธรรมชาติ กิจกรรมปลูกป่า และสร้างฝาย และ 8) ด้านการมีส่วนร่วม พบว่า อุทยานแห่งชาติได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและดูแลสอดส่องพื้นที่ป่า 2. ผลการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาการนำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองเชิงนิเวศไปปฏิบัติในจังหวัดชัยภูมิ 1) ด้านสื่อข้อความ พบว่า ในบางกรณีผู้ปฏิบัติเข้าใจคำสั่งของผู้บังคับบัญชาคลาดเคลื่อน และก่อให้เกิดความสับสนต่อการปฏิบัติ 2) ด้านทรัพยากร พบว่า อุทยานแห่งชาติได้รับการจัดสรรงบประมาณและบุคลากรไม่เพียงพอ 3) ด้านทัศนคติของผู้ปฏิบัติ พบว่า ในบางกรณีผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ในสำนักงานและภาคสนามมีทัศนคติที่ไม่ตรงกัน 4) ด้านโครงสร้างปฏิบัติงาน พบว่า อุทยานแห่งชาติมีโครงสร้างการทำงานที่ผู้ปฏิบัติงานต้องทำงานหลายหน้าที่ ส่งผลให้การทำงานเกิดความล่าช้า 5) ด้านพื้นที่ พบว่า อุทยานแห่งชาติมีป้ายบอกทางบางพื้นที่ไม่ชัดเจน และในจุดท่องเที่ยวบางแหล่งการเข้าถึงของนักท่องเที่ยวกลุ่มคนพิการ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้ 6) ด้านการจัดการ พบว่า อุทยานแห่งชาติมีการจัดการในการรองรับนักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลไม่เพียงพอ 7) ด้านกิจกรรมและกระบวนการ พบว่า อุทยานแห่งชาติมีการจัดกิจกรรมในการส่งเสริมการท่องเที่ยวลดลง เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และ 8) ด้านการมีส่วนร่วม พบว่า คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ในด้านการจัดการปัญหาด้านขยะค่อนข้างน้อย 3. ผลการศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการนำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรองเชิงนิเวศไปปฏิบัติในจังหวัดชัยภูมิ 1) ด้านสื่อข้อความ ควรมีการจัดอบรมและสัมมนาให้ความรู้ต่อผู้ปฏิบัติงาน เกี่ยวกับนโยบาย เพื่อให้สามารถวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของนโยบายได้ถูกต้องและลึกซึ้ง 2) ด้านทรัพยากร ควรมีการจัดหางบประมาณและบุคลากรให้เพียงพอต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว 3) ด้านทัศนคติของผู้ปฏิบัติ ผู้บังคับบัญชาควรมีการอธิบายและโน้มน้าวให้ผู้ปฏิบัติงานมีทัศนคติเชิงบวกกับนโยบายที่นำมาปฏิบัติให้มากขึ้น 4) ด้านโครงสร้างปฏิบัติงาน ควรมีกฎระเบียบในการปฏิบัติงานและมีแผนปฏิบัติงานที่ชัดเจน 5) ด้านพื้นที่ ควรมีการดูแลและรักษาความสะอาดให้มากขึ้น 6) ด้านการจัดการ ควรรักษามาตรฐานเกี่ยวกับการจัดการร้านอาหารและที่พักให้ดีขึ้น 7) ด้านกิจกรรมและกระบวนการ ควรมีการจัดกิจกรรมที่มีความหลากหลายมากขึ้น และขอความร่วมมือคนในชุมชนให้มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมมากขึ้น และ 8) ด้านการมีส่วนร่วม ควรให้ชุมชนได้เข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมกิจกรรมที่จัดในอุทยานแห่งชาติ เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชน
Description: Master of Political Science (M.Pol.Sc.)
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1792
Appears in Collections:The College of Politics and Governance

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63011382001.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.