Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1803
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor | Korchock Nuntasomboon | en |
dc.contributor | ก่อโชค นันทสมบูรณ์ | th |
dc.contributor.advisor | Prayoon Wongchantra | en |
dc.contributor.advisor | ประยูร วงศ์จันทรา | th |
dc.contributor.other | Mahasarakham University. The Faculty of Environment and Resource Studies | en |
dc.date.accessioned | 2022-10-26T14:35:57Z | - |
dc.date.available | 2022-10-26T14:35:57Z | - |
dc.date.issued | 6/6/2022 | |
dc.identifier.uri | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1803 | - |
dc.description | Doctor of Philosophy (Ph.D.) | en |
dc.description | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) | th |
dc.description.abstract | The current environmental crises are all caused by a lack of understanding and the wrong actions of people towards the environment. The objectives of this research were 1) to develop participatory environmental education learning activities for sustainable environmental management for communities in Lamphun Sub-District, Muang District, Kalasin Province. 2) To study the level of knowledge and understanding of sustainable participatory environmental management. The level of attitude towards sustainable participatory environmental management and the level of participation in sustainable participative environmental management of family leaders in Lamphun sub-district communities, Muang district, Kalasin province; and 3) to compare the level of knowledge and understanding about sustainable participative environmental management. The level of attitude towards sustainable participatory environmental management and the level of participation in sustainable participatory environmental management. of family leaders in Lamphun Sub-District Community, Muang District, Kalasin Province according to different personal factors The samples in this research were obtained by purposive sampling by the researcher to obtain information leading to the creation and development of participatory environmental education learning activities for environmental management. Sustainability for communities in Lamphun Sub-District, Muang District, Kalasin Province consisted of 1) samples used in interviews and group discussions of 76 people; 2) sample groups used in the experiment. who was the family leader in Lamphun Sub-district, Mueang District, Kalasin Province from 16 villages with 64 people 3) The sample group who provided additional information was 14 people and 4) the sample group used in the meeting consisted of 12 people. The tools used in the research consisted of 1) before development i.e. interview form, questionnaires and note taking form, group discussion 2) during development i.e. assessment form, observation form, and test, which the difficulty value (P) was between .45-.72 The power to discriminate for each item (r) was between .27-.63, the confidence for the whole item was .8915, and the questionnaire, for which the attitude questionnaire had the power to discriminate between the item, was between .27-.90, the confidence in the whole item was .72. The .9526 participant questionnaire had a power to discriminate between .21-.90 and the confidence of the whole issue was .9414. and the satisfaction questionnaire had the power to distinguish each item between .50-.90, the confidence of the whole version was .9564 and 3) the tools used after development were meeting agenda and meeting minutes form. The statistics used in the data analysis were percentage, mean, standard deviation. and to compare test scores before and after training by using the Dependent Samples t-test to compare the level of cognition. Attitude level and participation level of two groups of variables independently used independent sample t-test and attitude level comparison. The level of participation of 3 or more variables by one-way analysis of variance using One-way Analysis of Variance and in case of a statistically significant difference in mean scores, the mean scores were compared individually by Scheffe's method The results showed that 1) The efficiency of the participation in environmental education learning activities for sustainable environmental management was 94.02/92.30, which was higher than the set threshold of 80/80. The knowledge and understanding from learning after training increased significantly. The statistical significance at the 0.01 level, the quality of the learning activities had a coefficient of distribution of 4.60, the learning effectiveness index was 0.7189, the satisfaction with the participatory environmental education learning activities for sustainable environmental management. Overall, it's at the highest level. when considering each aspect It was found that the satisfaction in the training materials/equipment and the training activities was at the highest level. As for the content aspect and the measurement and evaluation aspect, there was a high level of satisfaction. 2) The level of knowledge and understanding of sustainable participatory environmental management after training was at the highest level. accounted for 100 percent, the overall attitude level was at a highly agreeable level. and the overall level of participation was at the highest level. Sorted by the highest to lowest average score is wastewater management. Solid waste management landscape management and the management of recreation areas 3) Compare levels of cognition of different sexes. Before training and after training, it was found that there was no difference. As for the overall attitude level before training and solid waste managementwastewater management landscape management management of recreation areas There was a statistically significant difference at the .05 and .01 levels. After training, overall and all aspects were not different. and the level of participation before and after the training, variables in gender, age, and educational level. Overall and each aspect in every aspect is no different. Pre-training attitude level according to occupational variables. It was found that overall and recreation area management was significantly different at the .05 level. In terms of recreation area management, those with contract occupations were different from those with agricultural careers and those with sector officials. service and in general, those who have a hired career are different from those who are government officials. But after the training, the overall and individual aspects in every aspect were no different. As for the attitude level before and after training according to the Monthly income variable It was found that the overall and each aspect in all aspects were not different. and the level of participation before training and after training according to age variables Education level, occupation and average monthly income It was found that the overall and each aspect in all aspects were not different. In summary, participatory environmental education learning activities for sustainable environmental management for communities in Lampan Sub-District, Muang District, Kalasin Province. The created and developed can effectively develop the knowledge, understanding, attitude and participation of family leaders regarding environmental management. Therefore, it is appropriate to encourage those involved to apply learning activities to manage learning for family leaders in the community in the future. | en |
dc.description.abstract | วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันล้วนมีสาเหตุมาจากการขาดความรู้ความเข้าใจและการกระทำที่ไม่ถูกต้องของคนต่อสิ่งแวดล้อม การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนสำหรับชุมชนตำบลลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมที่ยั่งยืน ระดับทัศนคติต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมที่ยั่งยืน และระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมที่ยั่งยืนของผู้นำครอบครัวในชุมชนตำบลลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมที่ยั่งยืน ระดับทัศนคติต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมที่ยั่งยืน และระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมที่ยั่งยืน ของผู้นำครอบครัวในชุมชนตำบลลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยผู้วิจัยกำหนดขึ้นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่นำไปสู่การสร้างและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนสำหรับชุมชนตำบลลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม จำนวน 76 คน 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง ซึ่งเป็นผู้นำครอบครัวในชุมชนตำบลลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ จากจำนวน 16 หมู่บ้าน จำนวน 64 คน 3) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม จำนวน 14 คน และ 4) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประชุม จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ก่อนการพัฒนา ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แนวคำถามและแบบจดบันทึกการสนทนากลุ่ม 2) ระหว่างการพัฒนา ได้แก่ แบบประเมิน แบบสังเกต แบบทดสอบ ซึ่งมีค่าความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง .45-.72 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (r) อยู่ระหว่าง .27-.63 มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .8915 และแบบสอบถาม ซึ่งแบบสอบถามทัศนคติมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .27-.90 ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .9526 แบบสอบถามการมีส่วนร่วมมีค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .21-.90 ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ.9414 และแบบสอบถามความพึงพอใจได้ค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .50-.90 ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .9564 และ 3)เครื่องมือที่ใช้หลังการพัฒนา ได้แก่ วาระการประชุมและแบบจดบันทึกการประชุม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบคะแนนทดสอบก่อนและหลังฝึกอบรม โดยใช้ t-test แบบ Dependent Samples เปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจ ระดับทัศนคติและระดับการมีส่วนร่วมของตัวแปร 2 กลุ่ม ซึ่งเป็นอิสระจากกันโดยใช้ t-test แบบ Independent Sample และเปรียบเทียบระดับทัศนคติ ระดับการมีส่วนร่วมของตัวแปร 3 กลุ่มขึ้นไปโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวโดยใช้ One-way Analysis of Variance และกรณีพบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทำการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยแบบรายคู่โดยวิธีของ Scheffe¢ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนเท่ากับ 94.02/92.30 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80 ความรู้ความเข้าใจจากการเรียนรู้หลังฝึกอบรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คุณภาพการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีค่าสัมประสิทธิ์ของการกระจายเท่ากับ 4.60 ค่าดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้เท่ากับ 0.7189 ความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีความพึงพอใจด้านสื่อ/อุปกรณ์การฝึกอบรมและด้านกิจกรรมการฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านเนื้อหาและด้านการวัดและประเมินผลมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 2) ระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมที่ยั่งยืนหลังฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 100 ระดับทัศนคติโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง และระดับการมีส่วนร่วมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงตามระดับคะแนนเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ ด้านการจัดการน้ำเสีย ด้านการจัดการขยะมูลฝอย ด้านการจัดการภูมิทัศน์ และด้านการจัดการพื้นที่นันทนาการ 3) เปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจที่มีเพศต่างกัน ก่อนอบรมและหลังฝึกอบรมพบว่าไม่แตกต่างกัน ส่วนระดับทัศนคติก่อนอบรมโดยรวมและด้านการจัดการขยะมูลฝอย การจัดการน้ำเสีย ด้านการจัดการภูมิทัศน์ ด้านการจัดการพื้นที่นันทนาการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ส่วนหลังการอบรมโดยรวมและทุกด้านไม่แตกต่างกัน และระดับการมีส่วนร่วมก่อนอบรมและหลังอบรมตัวแปรด้านเพศ อายุ และระดับการศึกษา โดยภาพรวมและเป็นรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน ระดับทัศนคติก่อนฝึกอบรมตามตัวแปรด้านอาชีพ พบว่าโดยภาพรวมและด้านการจัดการพื้นที่นันทนาการมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยด้านการจัดการพื้นที่นันทนาการผู้ที่มีอาชีพรับจ้างแตกต่างจากผู้มีอาชีพเกษตรกรรมและผู้มีอาชีพเจ้าหน้าที่ภาคราชการ และโดยภาพรวมผู้ที่มีอาชีพรับจ้างแตกต่างจากผู้มีอาชีพเจ้าหน้าที่ภาคราชการ แต่หลังอบรมโดยภาพรวมและเป็นรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนระดับทัศนคติก่อนอบรมและหลังอบรมตามตัว แปรด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่าโดยภาพรวมและเป็นรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน และระดับการมีส่วนร่วมก่อนอบรมและหลังอบรมตามตัวแปรด้านอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่าโดยภาพรวมและเป็นรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน โดยสรุป กิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนสำหรับชุมชนตำบลลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่สร้างและพัฒนาขึ้นสามารถพัฒนาความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อมของผู้นำครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงสมควรสนับสนุนให้ผู้เกี่ยวข้องนํากิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้จัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้นำครอบครัวในชุมชนต่อไป | th |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | Mahasarakham University | |
dc.rights | Mahasarakham University | |
dc.subject | การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ | th |
dc.subject | การจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน | th |
dc.subject | ผู้นำครอบครัว | th |
dc.subject | development of learning activities | en |
dc.subject | sustainable environmental management | en |
dc.subject | family leader | en |
dc.subject.classification | Environmental Science | en |
dc.title | The Development of Environmental Education learning on sustainable participation of Lamphun Sub-district, Muang District, Kalasin Province | en |
dc.title | การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนสำหรับชุมชนตำบลลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ | th |
dc.type | Thesis | en |
dc.type | วิทยานิพนธ์ | th |
Appears in Collections: | The Faculty of Environment and Resource Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59011760002.pdf | 3.36 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.