Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1815
Title: The Wessantara Jataka and Cultural Construction in Thai-Laos Border Communities
เวสสันดรชาดกกับการประกอบสร้างทางวัฒนธรรมในชุมชนชายแดนไทย-ลาว
Authors: Kobchai Ratubon
กอบชัย  รัฐอุบล
Pathom Hongsuwan
ปฐม หงษ์สุวรรณ
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: เวสสันดรชาดก
การประกอบสร้างทางวัฒนธรรม
ชุมชนชายแดนไทย-ลาว
wessantara jataka
Cultural Construction
Thai-Laos border communities
Issue Date:  6
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: There are 2 objectives in this study: 1) to compare two versions of the Wessantara Jataka literatures –Thai and Lao languages apparent in the community along the Thai-Lao border, and 2) to explore the Wessantara Jataka toward cultural construction in the community along the Thai-Lao border.  The findings reveal that six versions of the Wessantara Jataka apparent in the border community share their common characteristics of each original version. In other words, all the original versions are palm leaf scriptures written in Tham scripts; those are, the versions from Loei, Nakon Phanom, Chaiyabuli, Kham Muan, and Champasak. Only one version from Ubonrajchathani is the current manuscript written in Thai alphabets. In the characteristic of rhyme, 5 versions of the Wessantara Jataka were composed with ‘Rai’ and ‘Pali gatha’. However, rhyme of Lao Klon was shown only in the Ubonrajchathani version. In addition, the 6 versions of the Wessantara Jataka share their contents of the story lines with 13 sermons, but in different details. In the characteristic of contents, the Wessantara Jataka in Loei version comprises 2 chapters: ‘The first chapter of Kumarn’ and ‘The end chapter of Kumarn’.  The Chaiyabuli version comprises 2 chapters of Himmapan: ‘The first chapter of Himmapan’ and ‘The end chapter of Himmapan’. In Ubonrajchathani version, the chapters are split into small parts. For instance, the Himmapan chapter is split into 3 parts: The birth of Prince Wessantara, The birth of Peccaya, and The marriage of Maddi, etc. In the characteristic of language, all six versions of the Wessantara Jataka were written in Lao language. Otherwise, the Ubonrajchathani were printed in Thai alphabet; though, it has currently been preached or read in Lao language. The findings of cultural construction in the Wessanatara Jataka reveal 6 characteristics as follows. 1) The cultural construction toward language showed in various usages; those are, words, eloquences, emotional expressions, figure of speech, and the title of the literature ‘Wessanatara Jataka’, respectively. 2) The cultural construction toward religion shows 3 kinds of beliefs: the tradition ones, the Buddhism ones, and the Bramanism ones. 3) The cultural construction toward politics reveals the characteristic of political culture, political awareness, adherence of peacefulness and compromise, and representation of cultural leader image. 4) The cultural construction toward cross-border reveals the origin of borderline between the national state of Thai and Lao, the common cultures of the Wessanatara Jataka among people from the two sides of the Mekong River, the cultural formation in the cross-border among matters, characters, situations, time and places, as well as traditions and rites. 5) The cultural construction toward ethnic reveals the ethnic ritual traditions, costumes and dancing art distinguishing the ethnic. 6) The cultural construction toward gender reveals the male and female with the origin of lives, male and female space in the ritual traditions related to the Wessanatara Jataka. 7) The cultural construction toward creation reveals the construction of the Wessanatara Jataka with creative traditions, economies, and tourism. In conclusion, the Wessanatara Jataka involves various cultural constructions; not only the literature in the Mahachati Preaching but does the complicated and comprehensive dimensions of cultures like language, religion, politics, nation-state cross-border, ethnic, gender, and creative cultural formation. Eventually, cultures from the construction in the Wessanatara Jataka have still, strongly, existent in Thai and Lao societies.
การศึกษา “เวสสันดรชาดกกับการประกอบสร้างทางวัฒนธรรมในชุมชนชายแดนไทย-ลาว” ในครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัย 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบวรรณกรรมเรื่องเวสสันดรชาดกฉบับภาษาไทยและฉบับภาษาลาวที่ปรากฏในชุมชนชายแดนไทย-ลาว และ 2) เพื่อศึกษาเวสสันดรชาดกกับการประกอบสร้างทางวัฒนธรรมในชุมชนชายแดนไทย-ลาว ผลการศึกษาพบว่า เวสสันดรชาดกชาดกที่ปรากฏในชุมชนชายแดนทั้ง 6 ฉบับมีลักษณะร่วมในด้านลักษณะต้นฉบับ กล่าวคือ ต้นฉบับที่เป็นหนังสือใบลานจารด้วยอักษรธรรม ได้แก่ ฉบับเลย ฉบับนครพนม ฉบับไซยะบุลี ฉบับคำม่วนและฉบับจำปาสัก ส่วนต้นฉบับที่เป็นหนังสือปัจจุบันและใช้อักษรไทยมีเพียงฉบับอุบลราชธานีเท่านั้น ส่วนในด้านลักษณะคำประพันธ์ พบว่า เวสสันดรชาดก 5 ฉบับมีการใช้คำประพันธ์ประเภทฮ่ายหรือร่ายสลับคาถาบาลี มีเพียงฉบับอุบลราชธานีเท่านั้นที่ใช้คำประพันธ์ประเภทโคลงลาว นอกจากนี้ในด้านลักษณะเนื้อหาพบว่า เวสสันดรชาดกทั้ง 6 ฉบับมีลักษณะร่วมในด้านการดำเนินเนื้อหาโดยแบ่งเป็น 13 กัณฑ์ แต่ความแตกต่างในรายละเอียด พบในเวสสันดรชาดก ฉบับเลยที่มีการแบ่งกัณฑ์ออกเป็น 2 บั้น คือ กุมารบั้นต้นและกุมารบั้นปลาย ฉบับไซยะบุลี แบ่งกัณฑ์หิมพานต์ออกเป็นหิมพานต์บั้นต้นและหิมพานต์บั้นปลาย ส่วนในฉบับอุบลราชธานีมีการณ์แบ่งกัณฑ์ออกเป็นตอนย่อย ๆ เช่น กัณฑ์หิมพานต์ แบ่งออกเป็นตอนพระเวสสันดรลงเกิด ช้างมงคลเกิด พระเวสสันดรได้นางมัทรี เป็นต้น ส่วนในด้านลักษณะภาษาพบว่า เวสสันดรชาดกทั้ง 6 ฉบับมีการใช้ภาษาลาว ถึงแม้ฉบับอุบลราชธานีจะพิมพ์ด้วยอักษรไทยปัจจุบันแต่เวลาเทศน์หรืออ่านจะต้องใช้ภาษาลาว ผลการศึกษาเวสสันดรชาดกกับการประกอบสร้างทางวัฒนธรรมปรากฏใน 6 ลักษณะคือ 1) การประกอบสร้างวัฒนธรรมทางภาษา พบว่า ในเรื่องการใช้คำ การใช้โวหาร การใช้คำแสดงอารมณ์ การใช้โวหารภาพพจน์ ตลอดจนการใช้คำเรียกชื่อวรรณกรรมเวสสันดรชาดก ตามลำดับ  2) การประกอบสร้างวัฒนธรรมทางศาสนา พบว่า มีความเชื่อแบบดั้งเดิมและความเชื่อทางพุทธศาสนารวมถึงความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ 3) การประกอบสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง พบว่า มีประเด็นเรื่องลักษณะวัฒนธรรมการเมือง การสร้างสำนึกร่วมทางการเมือง การยึดหลักสันติวิธีและการประนีประนอมและการนำเสนอภาพลักษณ์ของผู้นำทางวัฒนธรรม 4) การประกอบสร้างวัฒนธรรมข้ามพรมแดน พบว่า มีเรื่องการเกิดเส้นพรมแดนรัฐชาติของไทยและลาว วัฒนธรรมร่วมเวสสันดรชาดกของคนสองฝั่งแม่น้ำโขง วัตถุสิ่งของกับการสร้างวัฒนธรรมข้ามพรมแดน ตัวละครกับการสร้างวัฒนธรรมข้ามพรมแดน เหตุการณ์กับการสร้างวัฒนธรรมข้ามพรมแดน เวลาและสถานที่กับการสร้างวัฒนธรรมข้ามพรมแดน ประเพณีและพิธีกรรมกับการสร้างวัฒนธรรมข้ามพรมแดน 5) การประกอบสร้างวัฒนธรรมทางชาติพันธุ์ พบว่า มีประเด็นเรื่องประเพณีพิธีกรรมที่แสดงถึงความเป็นชาติพันธุ์และเครื่องแต่งกายและศิลปะการแสดงกับนัยยะความเป็นชาติพันธุ์ 6) การประกอบสร้างวัฒนธรรมทางเพศ พบว่า มีประเด็นเรื่องเพศชายและเพศหญิงกับการเป็นผู้ให้กำเนิดสรรพชีวิตและพื้นที่ของเพศชายในประเพณีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับเวสสันดรชาดกรวมถึงพื้นที่ของเพศหญิงในประเพณีพิธีกรรมที่เกี่ยวกับเวสสันดรชาดก 7) การประกอบสร้างวัฒนธรรมสร้างสรรค์ พบว่า มีประเด็นเรื่องเวสสันดรชาดกการประกอบสร้างประเพณีสร้างสรรค์ เวสสันดรชาดกการประกอบสร้างเศรษฐกิจสร้างสรรค์และเวสสันดรชาดกการประกอบสร้างการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เป็นต้น โดยสรุป เห็นได้ว่าเวสสันดรชาดก ได้มีส่วนในการประกอบสร้างวัฒนธรรมที่หลากหลายเวสสันดรชาดกไม่ใช่แค่เพียงวรรณกรรมที่ใช้ในการเทศน์มหาชาติเท่านั้น หากแต่อิทธิพลของเวสสันดรชาดกล้ำลึกและแทรกซอนไปในมิติต่าง ๆ ทั้งด้านวัฒนธรรมทางภาษา วัฒนธรรมทางศาสนา วัฒนธรรมทางการเมือง วัฒนธรรมข้ามพรมแดนรัฐชาติ วัฒนธรรมทางชาติพันธุ์ วัฒนธรรมทางเพศ ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ฉะนั้นวัฒนธรรมที่เกิดจากการประกอบสร้างจากเวสสันดรยังคงดำรงอยู่อย่างเข้มข้นในสังคมไทยและสังคมลาว 
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1815
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010161001.pdf11.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.