Please use this identifier to cite or link to this item:
http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1816
Title: | Travel Literature: Concepts and Creative Perpetuation in Thai Social Contexts วรรณกรรมการเดินทาง : มโนทัศน์และการสืบสรรค์ในบริบทสังคมไทย |
Authors: | Kitirach Pongchaliew กิติราช พงษ์เฉลียว keerati Dhanachai กีรติ ธนะไชย Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences |
Keywords: | วรรณกรรมการเดินทาง มโนทัศน์ การสืบสรรค์ บริบทสังคมไทย Travel Literature Concepts Creative Perpetuation Thai Social contexts |
Issue Date: | 4 |
Publisher: | Mahasarakham University |
Abstract: | Considering Thai travel literatures from the period of Ayuttaya to, King Rama 5, Rattanakosin, there are 3 purposes this study: 1) to explore concepts and features of travel literatures, 2) to examine creations of Nirats and archives as Thai travel literatures, and 3) to find out relationships between travel literatures and Thai socio-cultural contexts. The findings are as follows.
In view of concepts and features in travel literatures, there are 7 concepts of journeys reflected by the author of the literature on the meaning of travel; those are, 1) pursuing liberation, 2) searching for definitions, 3) learning, 4) healing one’s mind, 5) seeking for pleasance of natures, 6) proving self-identification, and 7) being responsible for duties. There are 2 features in Thai travel literatures. In the first view of content features, Thai travel literatures are records of stories through recognized experiences. There are various purposes of the journeys. The journeys are perceptions or tracks of searching something. There are details of the journeys as well as the linkage issues of colonization or patriotism. The other view of forms shows the writing style in Thai travel literatures as subjective matters in various writing styles with either under the true stories or from the fictional notions.
In the light of creations on Nirats and archives as a type of Thai travel literatures, the findings reveal as follows. In the early period, Thai travel literatures were the literatures of separation which were written in poems as the prosody of Nirats. Nirats in this period showed their aesthetics of separative and literary works. Then, from the early period of Rattanakosin to King Rama 5, Nirats had been passed on towards the origin of Nirats poems in literatures from the period of Ayuttaya. The contents of Nirats became more realism literatures, particularly in forms of Nirat poems. The literature aesthetics during this period showed their literary art, realism, and adventurous sensations. Moreover, during the Rattanakosin period of King Rama 4 and 5, western literatures became influent on a novelty of Thai literatures. In other words, there were literatures on archives of travelling written about the journey in details. The literatures gave their aesthetics on contents of traveling stories, adventurous traveling, and realism literature toward the documentary work.
In view of relationships between travel literatures and Thai socio-cultural contexts, the findings showed as follows. In line with sexual contexts, Nirats intimately showed the nature of women metaphor. Taking a journey was for men while women were restricted in their areas and told stories by men. In view of traveling value, in Thai society, there were 3 values of travelling outside the capital in the ruling class: to a corral, to pay homage at a religious sanctuary, and to the battlefield or a colony. There were 3 values of traveling in people: to make merit, to visit relatives, and to seek for magic. Concerning the social class and ethnic, the ruling class viewed the ethnic groups in the kingdom as the inferior cultural groups comparing to those in royal and capital cultures. In view of western colonists, the ruling class of Siam viewed them as civilized countries. In line with state ideology and nation building, in the period of King Rama 4 and 5, the main state ideology meant saving the country from the colonization of the western imperialism and developed the country to civilization. The travel literatures, subsequently, took part in the nation building. In other words, they reflected the country situations towards the literary work of traveling to ones involved in the nation administration. Finally, the cultural influence of the western countries affected the expansion on travel literatures and leisure time in western styles. วิทยานิพนธ์เล่มนี้เป็นการศึกษาวรรณกรรมการเดินทางไทย ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาถึงรัชกาลที่ 5 กรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ 1. เพื่อศึกษามโนทัศน์และลักษณะสำคัญของวรรณกรรมการเดินทาง 2. เพื่อศึกษาการสืบสรรค์นิราศและจดหมายเหตุในฐานะวรรณกรรมการเดินทางของไทย และ 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของวรรณกรรมการเดินทางกับบริบทสังคมและวัฒนธรรมไทย พบผลการศึกษาดังต่อไปนี้ ประเด็นมโนทัศน์และลักษณะสำคัญของวรรณกรรมการเดินทาง พบว่า ผู้เขียนวรรณกรรมการเดินทางได้สะท้อนถึงมโนทัศน์ที่มีต่อการเดินทางทั้งหมด 7 มโนทัศน์ คือ หนึ่ง การเดินทางคือการแสวงหาความหลุดพ้น สอง การเดินทางคือการหาความหมาย สาม การเดินทางคือการเรียนรู้ สี่ การเดินทางคือเยียวยาจิตใจ ห้า การเดินทางคือการหาความรื่นรมย์จากธรรมชาติ หก การเดินทางคือการพิสูจน์ตัวตน และ เจ็ด การเดินทางคือหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ส่วนลักษณะสำคัญของวรรณกรรมการเดินทางไทยสามารถแบ่งตามลักษณะสำคัญอยู่ 2 ลักษณะ คือ หนึ่ง ลักษณะสำคัญด้านเนื้อหา พบว่าวรรณกรรมการเดินทางไทยนั้นเป็นวรรณกรรมที่บันทึกจากประสบการณ์จริง, จุดมุ่งหมายของการเดินทางอาจมีหลายจุดประสงค์, การเดินทางเป็นรูปแบบหรือหนทางในการค้นหาบางสิ่งบางอย่าง, มีการให้รายละเอียดของการเดินทาง และมีการเชื่อมโยงกับประเด็นการล่าอาณานิคม ลัทธิชาตินิยม สอง ลักษณะสำคัญด้านรูปแบบ พบว่า การเขียนวรรณกรรมการเดินทางไทยมีความเป็นอัตวิสัย, มีรูปแบบการเขียนที่หลากหลาย และมีการนำเสนอได้ทั้งในรูปเรื่องจริงและเรื่องแต่ง ส่วนการสืบสรรค์นิราศและจดหมายเหตุในฐานะวรรณกรรมการเดินทางของไทย จากการศึกษาพบว่าวรรณกรรมการเดินทางไทยในยุคแรกเริ่มนั้นเป็นวรรณกรรมแห่งการพลัดพราก ผู้แต่งใช้ฉันทลักษณ์ประเภทโคลงในการแต่งนิราศ ซึ่งนิราศในสมัยนี้ให้สุนทรียรสของความเป็นวรรณกรรมการพลัดพรากและสุนทรียรสทางวรรณศิลป์ ส่วนในช่วงต้นรัตนโกสินทร์เป็นต้นมาถึงรัชกาลที่ 5 วรรณกรรมนิราศมีการสืบทอดขนบมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา ในด้านรูปแบบเกิดวรรณกรรมประเภทกลอนนิราศ ด้านเนื้อหานิราศมีความเป็นวรรณกรรมสัจนิยมมากขึ้นโดยเฉพาะกลอนนิราศ และด้านสุนทรียรสของวรรณกรรมนิราศในยุคสมัยนี้ให้ทั้งสุนทรียรสทางวรรณศิลป์ สุนทรียรสของความเป็นวรรณกรรมสัจนิยมและรสของการผจญภัย นอกจากนี้ในช่วงรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 รัตนโกสินทร์ อิทธิพลวรรณกรรมตะวันตกส่งผลให้เกิดนวลักษณ์ใหม่ด้านรูปแบบ คือ เกิดรูปแบบของจดหมายเหตุการเดินทาง ที่เนื้อหามีการให้รายละเอียดของการเดินทางอย่างละเอียด ให้สุนทรียรสที่เกิดจากเนื้อหาสาระของเรื่องเล่าจากการเดินทาง การท่องเที่ยวผจญภัย และความเป็นวรรณกรรมสัจนิยมที่มีความเป็นสารคดี ส่วนความสัมพันธ์ของวรรณกรรมการเดินทางกับบริบทสังคมไทย จากการศึกษาพบว่า ในประเด็น เกี่ยวกับบริบททางเพศ พบว่า นิราศมีการอุปลักษณ์ธรรมชาติกับผู้หญิงอย่างแนบชิด และการเดินทางยังเป็นเรื่องของผู้ชาย ส่วนผู้หญิงถูกจำกัดในพื้นเมืองและรับรู้เรื่องราวการเดินทางผ่านเรื่องเล่าของผู้ชาย ส่วนค่านิยมการเดินทางของสังคมไทย พบว่า ชนชั้นปกครองมีค่านิยมเดินทางออกนอกพระนครอยู่ 3 ค่านิยม คือ การเดินทางไปเพนียด การเดินทางไปสักการะสถานที่สำคัญทางศาสนา และการเดินทางเพื่อการศึกสงครามและการจัดการเมืองขึ้น ส่วนค่านิยมการเดินทางของประชาชนนั้น พบ 3 ค่านิยม คือ การเดินทางท่องเที่ยวแสวงบุญ การเดินเพื่อเยี่ยมญาติ และการเดินทางเพื่อค้นหาของวิเศษในประเด็นเกี่ยวกับชนชั้นและชาติพันธุ์ พบว่า ชนชั้นปกครองมีทัศนะต่อกลุ่มชาติพันธุ์ในราชอาณาจักรว่าเป็นผู้ที่มีวัฒนธรรมด้อยกว่าโดยนำมาเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมวังและเมืองหลวง ส่วนทัศนะต่อชาติเจ้าอาณานิคมตะวันตก ชนชั้นปกครองสยามมองเจ้าอาณานิคมตะวันตกในฐานะประเทศที่มีความศิวิไลซ์ ส่วนประเด็นเกี่ยวกับกับอุดมการณ์ของรัฐและการสร้างความชาติ พบว่า ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 อุดมการณ์หลักของรัฐ คือการนำพาประเทศให้รอดพ้นจากการตกเป็นเมืองขึ้นของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกและพัฒนาประเทศสู่ความเป็นศิวิไลซ์ ซึ่งวรรณกรรมการเดินทางถือว่ามีส่วนในการสร้างชาติ คือ ทำให้ผู้มีส่วนในการบริหารแผ่นดินเข้าใจสภาพการณ์ของประเทศผ่านวรรณกรรมการเดินทาง และประเด็นเกี่ยวกับอิทธิพลทางวัฒนธรรมของประเทศตะวันตก พบว่า อิทธิพลทางวัฒนธรรมของประเทศตะวันตกส่งผลต่อการขยายตัวของวรรณกรรมการเดินทาง และการท่องเที่ยวพักผ่อนแบบตะวันตก |
Description: | Doctor of Philosophy (Ph.D.) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) |
URI: | http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1816 |
Appears in Collections: | The Faculty of Humanities and Social Sciences |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
59010161002.pdf | 7.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.