Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1835
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributorLadda Sumrongpunen
dc.contributorลัดดา สำรองพันธ์th
dc.contributor.advisorWaraporn Erawanen
dc.contributor.advisorวราพร เอราวรรณ์th
dc.contributor.otherMahasarakham University. The Faculty of Educationen
dc.date.accessioned2023-01-20T11:20:13Z-
dc.date.available2023-01-20T11:20:13Z-
dc.date.issued30/8/2022
dc.identifier.urihttp://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1835-
dc.descriptionDoctor of Philosophy (Ph.D.)en
dc.descriptionปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)th
dc.description.abstractThe purposes of this research were to 1) study problems and ways to promote literacy, 2) create promoting model for literacy, 3) study effect of using promoting model for literacy and 4) Evaluate effectiveness of model promoting for Thai literacy subject area in first grade. The research was conducted of research and development model used in 4 phases. Phase 1, to study of problems and ways of literacy from 42 research documents from ThaiLis Digital Collection, 164 primary school teachers and 4 literacy diagnostic tests. Phase 2, constructed and investigated the model by using the information obtained from phase 1, field research of in depth interview with 8 experts for tentative model and investigated the model with 8 experts. Phase 3, implement of the model with the sample consisted of one class of first grade, the students were studying at Bankutan school, selected by the cluster random sampling technique, who were randomly assigned to the one group time series design with 12 students. The measurement was repeated before and after the class 4 times. And, Phase 4, evaluated the effectiveness of the model, 2 teachers, 19 teachers of primary school first grade under Surin primary educational service area office 3, 12 students tested the model and 5 sinior experts. the effectiveness of actual availability, easy to use, appropriate and desirability. The research instruments were literacy diagnostic tests., plan of learning, practice, reading and writing record form, The statistical analysis used were content analysis, meta - analysis, percentage, frequency, mean, standard deviations, validity, reliability, difficuity, distribution and One way repeated measure ANOVA.            The results of the study were as follows :            1.  Problems and ways to model promote for Thai Literacy subject area in first grade , 7 problems, as follows, 1) consonant, 2) vowel, 3) intonation marks, 4) no final consonant, 5) final consonant, 6) diphthong, 7) leading consonant and there are 3 ways to promote literacy namely, 1) teching model, 2) teaching technigue and teaching ways and 3) intructional media.            2.  The Literacy Promotion model of Thai Language subject area in first grade consisted of 11 element namely, 1) the principle of model, 2) the objectives of model, 3) the content of model, 4) learning time of model, 5) the promoting process including 5 steps as follows (1) diagnose, (2) meditation, (3) accentuate and reading, (4) doing and writing, and (5) evaluation, 6) the role of teacher was learning indicated in the model, 7) the role of student was learning indicated in the model, 8) the role of parent was learning indicated in the model , 9) instruction media of model, 10) evaluation of model and 11) the results receiving from the model.            3.  The Literacy Promotion model of Thai Language subject area in first grade that the mean score of the experimental group was posttest higher than pretest with statistically significant at .05 level            4.  The Literacy Promotion model of Thai Language subject area in first grade that overview of effectiveness and aspect, actual availability, easy to use, appropriate and desirability were highest level.en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและแนวทางส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ 2) สร้างรูปแบบการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ และ 4) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 การดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาปัญหาและแนวทางส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้จากตัวอย่างงานวิจัย จำนวน 42 เล่ม ในระบบสืบค้นฐานข้อมูลฉบับเต็มมหาวิทยาลัย (ThaiLis Digital Collection) ครูผู้สอนประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 164 คน และแบบทดสอบวินิจฉัยการอ่านออกเขียนได้ จำนวน 4 ฉบับ ระยะที่ 2 สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จากข้อมูลการวิจัยในระยะที่ 1 การวิจัยภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 ท่าน และตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 ท่าน ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบกับตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านคูตัน จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) กลุ่มเดียววัดหลายครั้งแบบอนุกรมเวลา (The one group Time Series design) วัดซ้ำก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 4 ครั้ง ระยะที่ 4 ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบโดยครูผู้ทดลองใช้รูปแบบจำนวน 2 ท่าน ครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3 ที่ได้รับการเผยแพร่ผลงานรูปแบบ จำนวน 19 คน นักเรียนตัวอย่างทดลองจำนวน 12 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่านตรวจสอบประสิทธิผลด้านการใช้ได้จริง ใช้ได้ง่าย มีความเหมาะสม และเป็นที่ต้องการ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวินิจฉัยการอ่านออกเขียนได้ แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดฝึกการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ และแบบบันทึกการอ่านออกเขียนได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์อภิมาน ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเที่ยงตรง ค่าความเชื่อมั่น ค่าความยาก  ค่าอำนาจจำแนก และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาและแนวทางส่งเสริมอ่านออกเขียนได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มี 7 ปัญหา ได้แก่ 1) พยัญชนะ 2) สระ 3) วรรณยุกต์ 4) คำที่ไม่มีมาตราตัวสะกด 5) คำที่มีมาตราตัวสะกด 6) คำควบกล้ำ 7) คำที่มีอักษรนำ และมี 3 แนวทางการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ ได้แก่ 1) การใช้รูปแบบการสอน 2) การใช้เทคนิคและวิธีการสอน และ 3) การใช้สื่อการเรียนรู้ 2.  รูปแบบการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย 11 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) เนื้อหาของรูปแบบ 4) ระยะเวลาจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ 5) กระบวนการส่งเสริมของรูปแบบ มี 5 ขั้น ได้แก่ (1) ขั้นวินิจฉัย (2) ขั้นวิทิสาสมาธิ (3) ขั้นอ่านออก (4) ขั้นเขียนได้ และ (5) ขั้นประเมินผล 6) บทบาทของครูตามรูปแบบ 7) บทบาทของนักเรียนตามรูปแบบ 8) บทบาทของผู้ปกครองตามรูปแบบ 9) สื่อการเรียนรู้ตามรูปแบบ 10) การวัดและประเมินผลตามรูปแบบ และ 11) ผลที่นักเรียนจะได้รับจากรูปแบบ 3. รูปแบบการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.  รูปแบบการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิผลในภาพรวมและในด้านการใช้ได้จริง การใช้ง่าย มีความเหมาะสมและความต้องการ อยู่ในระดับมากที่สุดth
dc.language.isoth
dc.publisherMahasarakham University
dc.rightsMahasarakham University
dc.subjectรูปแบบการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้, การส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้, กระบวนการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้th
dc.subjectLiteracy Promotion Modelen
dc.subjectPromotion Literacyen
dc.subjectPromotion Processen
dc.subject.classificationSocial Sciencesen
dc.titleDevelopment of Literacy Promotion Model of Thai Language Subject Area in First Gradeen
dc.titleการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1th
dc.typeThesisen
dc.typeวิทยานิพนธ์th
Appears in Collections:The Faculty of Education

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59010562008.pdf19.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.