Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1863
Title: Development of a Diabetes Care Model with a Community Network based on the Chronic Care Model in Taladsai Sub-district, Prathai District, Nakhon Ratchasima Province
การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานระดับปฐมภูมิโดยเครือข่ายชุมชนตามแนวคิดการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ตำบลตลาดไทร อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา
Authors: Kanniyaporn Boocha
กรรณิญาพร บูชา
Chanuttha Ploylearmsang
ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง
Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy
Keywords: เบาหวานชนิดที่ 2
เครือข่ายชุมชน
ระบบบริการปฐมภูมิ
รูปแบบการดูแลโรคเรื้อรัง
type 2 diabetes
community network
primary care
Chronic Care Model
Issue Date:  7
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This study is a participatory action research that running by the community network in Taladsai Sub-district, Prathai District, Nakhon Ratchasima Province. They jointly develop a care model for diabetic patients in primary care by using the concept of Chronic Care Model (CCM). It was done between October 2021 and March 2022. The participants consisted of 2 groups: 1) A community network of 25 people including representatives of community hospital, subdistrict health promoting hospital, subdistrict administrative organization, community leaders, community representatives, representatives of diabetic patients, and representatives of the family or caregivers of diabetic patients 2) 41 people with type 2 diabetes and 41 persons of their families caregivers who living in Taladsai Subdistrict, Prathai District, Nakhon Ratchasima Province.  Purposive sampling was used for selecting all participants. The research consisted of four stages: planning, action, observing, and reflecting. Qualitative data were collected by using focus group, individual interview and analyzed by using content analysis. Quantitative data were collected from database record and analyzed by using descriptive and inferential statistics. The diabetes care model was developed by using 6 components CCM as the grounded concept. The model focuses on proactive work, community participation on planning, analyzing, acting, monitoring and evaluating the model effectiveness. This strategy makes people in the community has joined, understood, and aware more in community health and their own health. Other key points of the developed model are community caregivers who monitor adverse events of diabetes, family caregivers who take care of the diabetic patients. They organized educational and health promotion activities for patients’ knowledge applicability in their own houses.  The results showed that after implementing the developed diabetes care model, the overall average knowledge scores of diabetic patients, family caregivers and representatives of community network were increased significantly (6.07 ± 2.11, 7.07 ± 1.98, p=0.024, 5.74 ± 1.88, 7.37 ± 2.25, p<0.001, 7.47 ± 2.44, 8.99 ± 1.72, p=0.010) respectively. In terms of satisfaction, diabetic patients were most satisfied with family caregiver support, representatives of community networks were most satisfied with participation in planning to develop a model for diabetic patients in primary care.  After model implementation, percentage of blood sugar-controlled patients (HbA1C <7mg%) was significantly increased (0%, 9.76%, p=0.045). Even through the mean of cumulative blood glucose (HbA1C) and fasting blood sugar (FBS) of diabetic patients were not changed. There were no differences in the incidence of diabetes adverse events between before and after using the new model. Development of the diabetes care model in primary care which based on CCM, promoted community to participate and involve in diabetes. This new model mainly affected on percentage of diabetic patient who were able to control HbA1C level in diabetic patients, and community network satisfaction. We recommended to apply CCM for taking care patients at home.
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory action research) โดยเครือข่ายชุมชน ตำบลตลาดไทร อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา เพื่อร่วมกันพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานระดับปฐมภูมิ โดยใช้แนวคิดการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (Chronic Care Model: CCM) ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย 2 กลุ่มคือ 1) เครือข่ายชุมชน จำนวน 25 คน ประกอบด้วยตัวแทนจากโรงพยาบาลแม่ข่าย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำชุมชน ตัวแทนประชาชน ตัวแทนผู้ป่วยเบาหวาน และตัวแทนครอบครัวหรือผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน 2) ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 41 คน และครอบครัวหรือผู้ดูแลผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 41 คน ที่อาศัยในตำบลตลาดไทร อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ใช้การคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) การวิจัยนี้ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการวางแผน (Planning) ขั้นตอนการปฏิบัติ (Action) ขั้นตอนการสังเกต (Observing) และขั้นตอนการสะท้อนกลับ (Reflecting) ข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากการสนทนากลุ่มและสัมภาษณ์รายบุคคล นำมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณรวบรวมจากการบันทึกข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเชิงพรรณนาและเชิงอนุมาน รูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่พัฒนาขึ้นนี้ใช้แนวคิดการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (Chronic Care Model, CCM) ทั้ง 6 องค์ประกอบ เน้นการทำงานเชิงรุก มีการทำงานร่วมกันของหลายภาคส่วนในชุมชน ร่วมกันคิดวิเคราะห์ วางแผนการดำเนินการ ติดตาม และประเมินผล เพื่อทำให้ประชาชนในชุมชนเกิดความเข้าใจ และตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น อีกทั้งประชาชนในชุมชนยังได้พัฒนาศักยภาพในการดูแลกันเองได้มากขึ้น ส่วนสำคัญคือการมี Caregiver ประจำชุมชนเพื่อช่วยติดตามเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากโรคเบาหวาน มีคนในครอบครัวช่วยดูแลผู้ป่วยเบาหวาน และจัดกิจกรรมให้ความรู้และสร้างเสริมสุขภาพให้ผู้ป่วยสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติต่อที่บ้านเองได้ ผลการวิจัยแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้ พบว่าหลังดำเนินการตามรูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่พัฒนาขึ้นใหม่ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ดูแลผู้ป่วย และเครือข่ายชุมชน มีคะแนนความรู้ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการดำเนินการ (6.07 ± 2.11, 7.07 ± 1.98, p=0.024, 5.74 ± 1.88, 7.37 ± 2.25, p<0.001 และ 7.47 ± 2.44, 8.99 ± 1.72, p=0.010) ตามลำดับ และพบว่าผู้ป่วยเบาหวานพึงพอใจต่อการช่วยเหลือดูแลของครอบครัวหรือผู้ดูแลมากที่สุด ส่วนเครือข่ายชุมชนพึงพอใจต่อการมีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานระดับปฐมภูมิร่วมกันแบบเครือข่ายชุมชนมากที่สุด ก่อนและหลังการดำเนินการตามรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานแบบใหม่ มีจำนวนผู้ป่วยที่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดสะสมได้ตามมาตรฐาน คือ HbA1C<7 mg% ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (0%, 9.76%, p=0.045) แม้ว่าค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1C) และน้ำตาลในเลือด (FBS) จะไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนอัตราการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของโรคเบาหวานก่อนและหลังใช้รูปแบบการดูแลใหม่ไม่แตกต่างกัน การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานระดับปฐมภูมิที่มีการใช้ CCM เป็นแนวคิด ช่วยส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบใหม่ และมีความพึงพอใจต่อการมีส่วนร่วมนั้น ผลลัพธ์สำคัญคือมีผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1C) ได้ดีจำนวนมากขึ้น ข้อเสนอแนะคือให้นำแนวคิด CCM ไปประยุกต์ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ ต่อไป
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm.)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1863
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010781007.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.