Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1864
Title: Type 2 Diabetes Care Model by a Multidisciplinary Team, Patients and Caregivers: A Concept Mapping Technique
รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยทีมสหวิชาชีพ ร่วมกับผู้ป่วยและผู้ดูแล โดยใช้เทคนิคการสร้างแผนที่มโนทัศน์
Authors: Sakonwan Pounghom
สกนวรรณ พวงหอม
Rodchares Nithipaichit
รจเรศ นิธิไพจิตร
Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy
Keywords: การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน
ระดับน้ำตาลในเลือด
สหวิชาชีพ
เบาหวานชนิดที่สอง
แผนที่มโนทัศน์
diabetes care
blood sugar
multidisciplinary
type 2 diabetes
concept mapping
Issue Date:  13
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Objective: To determine type 2 diabetes care model for by a multidisciplinary team with patients and caregivers using concept mapping techniques. Methods: The research was a mixed-method study, systematic review and meta-analysis to find ways pharmaceutical care that make blood sugar levels in diabetic patients more targeted and then use the results to be part of the concept mapping research. Informants included 18 purposively selected health professionals in Hua Hin Hospital involved in taking care of diabetic patients and diabetic patients or their relatives, Data collection was conducted using both group and individual interviews. The informants could freely express their opinions on problems and causes leading to uncontrolled plasma glucose among people with diabetes, and suggest the solution for the problems. The researchers collected ideas and suggested solutions from all opinions in every informant, reviewed them and deleted the redundant ones. Subsequently, list of ideas was categorized and rated by the informants. The obtained data on rating were analyzed using multidimensional scaling and hierarchical cluster analysis. Results: Brainstorming among participants generated 53 ideas on how to achieve better glycemic control goals among diabetes patients. Informant rating showed 22 ideas with high importance and possibility in practice. These ideas were grouped into 5 categories based on their related and similar contents, 1) modification of dietary behaviors, 2) the importance of controlling blood sugar levels and preventing complications, 3) Enabling access to patient care according to appropriate treatment guidelines and building social support; group, 4) techniques to promote medication adherence and self-care, and 5) advices on correct and safe use of medications that were easy-to-understand and appropriate to individual patients. Conclusions: A model of care for type 2 diabetic patients likely to achieve greater glucose control was developed by using concept mapping, resulting in a model suitable for diabetic patients of Hua Hin Hospital. From the view of health providers and service recipients, advices on correct use of medications were considered highly important and highly practical for achieving greater glucose control.
วัตถุประสงค์: เพื่อหาแนวทางการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โดยทีมสหวิชาชีพร่วมกับผู้ป่วยและผู้ดูแล โดยใช้เทคนิคการสร้างแผนที่มโนทัศน์ วิธีการ: การวิจัยเป็นการศึกษาแบบผสมผสานวิธีการ โดยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ และการวิเคราะห์อภิมาน เพื่อหาแนวทางในการบริบาลทางเภสัชกรรมที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานเข้าสู่เป้าหมายมากขึ้น แล้วนำผลไปเป็นส่วนหนึ่งของวิจัยการสร้างแผนที่มโนทัศน์ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลหัวหินที่มีส่วนดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยเบาหวานหรือญาติของผู้ป่วย รวม 18 คนที่คัดเลือกมาแบบเจาะจง การเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์ทั้งแบบกลุ่มและรายบุคคล ผู้ให้ข้อมูลสามารถแสดงความเห็นโดยอิสระเกี่ยวกับปัญหาและสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ตามเป้าหมาย รวมทั้งเสนอแนวทางแก้ไข ผู้วิจัยรวบรวมรายการความคิดและวิธีการแก้ไขปัญหาจากทุกความคิดของผู้ร่วมวิจัย ทบทวนรายการความคิดทั้งหมด และตัดประเด็นซ้ำซ้อน หลังจากนั้น นำรายการความคิดที่ได้มาให้ผู้ร่วมวิจัยจัดกลุ่มและให้คะแนนความคิด และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดย multidimensional scaling และ hierarchical cluster analysis ผลการวิจัย: การระดมสมองจากผู้เข้าร่วมวิจัยได้ข้อสรุปรายการความคิดเกี่ยวกับแนวทางที่ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานคุมระดับน้ำตาลได้ตามเป้าหมายมากขึ้น ทั้งหมดจำนวน 53 รายการ จากการให้คะแนนความคิดโดยผู้ร่วมวิจัย ได้ความคิดที่มีความสำคัญและความเป็นไปได้สูงในการประยุกต์ใช้ ทั้งหมด 22 รายการความคิด เมื่อนำมาจัดกลุ่มได้ทั้งหมด 5 กลุ่มตามเนื้อหาสอดคล้องและใกล้เคียงกัน คือ กลุ่มที่ 1 การปรับพฤติกรรมการบริโภค กลุ่มที่ 2 ความสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและป้องกันภาวะแทรกซ้อน กลุ่มที่ 3 การส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าถึงการดูแลตามแนวทางการรักษาที่เหมาะสมและกระตุ้นแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มที่ 4 เทคนิคส่งเสริมความร่วมมือในการใช้ยาและการดูแลตัวเอง และกลุ่มที่ 5. การแนะนำการใช้ยาอย่างถูกต้องและปลอดภัยซึ่งเข้าใจง่ายและเหมาะสมกับผู้ป่วยเฉพาะราย สรุป: รูปแบบในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่น่าจะมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานเข้าสู่เป้าหมายมากขึ้นซึ่งจัดทำขึ้นด้วยวิธีการสร้างแผนที่มโนทัศน์ ทำให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเบาหวานของโรงพยาบาลหัวหิน จากมุมมองของตัวแทนผู้ให้บริการและผู้รับบริการ การแนะนำการใช้ยาที่ถูกต้องยังเป็นเรื่องที่สำคัญและเป็นไปได้มากที่สุดที่จะทำให้น้ำตาลในเลือดอยู่ในช่วงเป้าหมายมากขึ้น
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm.)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1864
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010782008.pdf3.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.