Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1865
Title: Development of a Pharmacist-Collaborative Schizophrenic Patient Care Model in Thepsathit Hospital, Chaiyaphum Province
การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่เภสัชกรมีส่วนร่วมของโรงพยาบาลเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ 
Authors: Puntarika Akkarapoomphol
ปุณฑริกา อัครภูมิผล
Juntip Kanjanasilp
จันทร์ทิพย์ กาญจนศิลป์
Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy
Keywords: การบริบาลทางเภสัชกรรม
เภสัชกร
กระบวนการพัฒนารูปแบบ
ผู้ป่วยจิตเภท
การกำเริบซ้ำ
ผลลัพธ์
schizophrenia
pharmacist intervention
care model
ECHO model outcomes
Issue Date:  26
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: Objective: This study aimed to develop a care model for schizophrenic patients at Thep Sathit Hospital, Chaiyaphum province, using a systematic review and meta-analysis as the basis. Method: The study was divided into two phases: Phase 1 was a systematic review and a meta-analysis; All trials, both RCT studies, and non-RCT studies were identified through electronic databases respecting the following terms to guide the search strategy: PICO (Patients - schizophrenic patient; Intervention - pharmacist intervention or a care model for schizophrenic patients that involves pharmacists; Comparison-usual care; Outcomes - ECHO model: economic, clinical, and humanistic outcomes). In the second phase, a hospital care model for schizophrenia patients was developed using the successful schizophrenic care model from Phase1 with summarizing from the focus group discussion. Result:  Phase 1: There were twenty-one studies that met the inclusion criteria. Results of the meta-analysis showed that the pharmacist intervention statistically significantly affected on medication adherence and severity scores. The subgroup analysis showed that the schizophrenic care model reduced schizophrenia relapse rates significantly. A sensitivity analysis revealed that pharmaceutical care significantly reduced the number of ADRs patients. Pharmaceutical care was cost-effective. Phase 2: Thepsathit Hospital has developed a total of 4 models of care for schizophrenic patients. In addition to the usual care, additional cares are provided, such as clinical practice guidelines for schizophrenia patients, complete information for all schizophrenic patients, patient education, pharmaceutical care, and a community-based multidisciplinary team to care for schizophrenia patients. Conclusion: Pharmaceutical care and patient education by pharmacists has positive effects on all parts of the ECHO model. The development of the schizophrenic patient care model by the multidisciplinary team can reduce relapse rates. Thepsathit Hospital has developed a total of 4 models of care for schizophrenic patients but the outcomes of care must be further evaluated. 
วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทของโรงพยาบาลเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ โดยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์อภิมานเป็นฐาน วิธีการศึกษา การศึกษาแบ่งเป็น 2 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์อภิมาน โดยรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างประเทศและฐานข้อมูลในประเทศไทย คัดเลือกงานวิจัยทุกรูปแบบทั้ง randomized controlled trial (RCT) และ non-randomized controlled trial (non-RCT) ที่มีการแทรกแซงโดยเภสัชกร หรือรูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่เภสัชกรมีส่วนร่วม และการศึกษาดังกล่าวต้องรายงานผลลัพธ์ด้านใดด้านหนึ่งของ ECHO model ได้แก่ ผลลัพธ์ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านคลินิก และด้านความเป็นมนุษย์ ระยะที่ 2 คือ นำรูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีจากการศึกษาในระยะที่ 1 มาปรับใช้กับโรงพยาบาล โดยวิธีสนทนากลุ่มจากบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ และพัฒนาเป็นรูปแบบการดูแลจิตเภทของโรงพยาบาลเทพสถิต                                                                                    ผลการศึกษา ระยะที่ 1 พบงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวม 21 เรื่อง เป็น RCT 10 เรื่อง และ non-RCT 11 เรื่อง ผลการวิเคราะห์อภิมานพบว่า การแทรกแซงโดยเภสัชกรส่งผลลัพธ์ที่ดีแตกต่างจากลุ่มที่ได้รับบริการปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ คะแนนความรุนแรงทางจิต และคะแนนความร่วมมือในการใช้ยา แต่ข้อมูลมี heterogeneity สูง เมื่อวิเคราะห์กลุ่มย่อยพบว่า การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทโดยเภสัชกรมีส่วนร่วมจะช่วยลดอัตราการกำเริบซ้ำได้ และการให้ความรู้กับผู้ป่วยสามารถเพิ่มคะแนนคุณภาพชีวิตได้ โดยข้อมูลแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและไม่พบ heterogeneity  การวิเคราะห์ความไว พบว่า กิจกรรมการบริบาลทางเภสัชกรรมช่วยลดจำนวนผู้ป่วยที่เกิดอาการข้างเคียงจากยาได้ ผลลัพธ์ทางด้านเศรษฐศาสตร์พบว่าการบริบาลทางเภสัชกรรมมีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ ระยะที่ 2 โรงพยาบาลเทพสถิตเกิดรูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภททั้งหมด 4 รูปแบบตามสถานการณ์ผู้ป่วยที่เข้ามารักษาในโรงพยาบาล โดยมีกิจกรรมเพิ่มจากรูปแบบเดิมได้แก่ มีแนวทางการรักษาผู้ป่วยจิตเภทของโรงพยาบาล จัดทำข้อมูลผู้ป่วยจิตเภททุกราย การให้ความรู้ การบริบาลทางเภสัชกรรม และทีมสหวิชาชีพเข้าไปมีบทบาทในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทร่วมกับชุมชน  สรุปผลการศึกษา การแทรกแซงโดยเภสัชกรในผู้ป่วยจิตเภทโดยการให้ความรู้และทำการบริบาลทางเภสัชกรรมส่งผลลัพธ์ที่ดีทุกด้านของ ECHO model  การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ช่วยลดการกำเริบซ้ำ ได้แก่ การดำเนินร่วมกันเป็นทีมสหวิชาชีพโดยมีเภสัชกรดูแลด้านระบบ มีทีมสหวิชาชีพเข้าไปดูแลผู้ป่วยในชุมชน และชุมชนช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความร่วมมือในการใช้ยาที่ดี พร้อมกับช่วยเฝ้าระวังการกำเริบซ้ำของผู้ป่วย ผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเภทของโรงพยาบาลเทพสถิต โดยใช้การทบทวนทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์อภิมานทำให้เกิดรูปแบบใหม่ในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท 4 สถานการณ์แต่ยังผลลัพธ์ของการดูแลต้องประเมินผลต่อไป
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm.)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1865
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010782009.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.