Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1866
Title: Development of drugstores in Nakhon Ratchasima Provinceto the standard of Good pharmacy practice (GPP)
การพัฒนาร้านขายยาแผนปัจจุบันจังหวัดนครราชสีมาสู่มาตรฐานหลักวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน
Authors: Piyanuch Punturungsee
ปิยนุช พันธุรังษี
Chanuttha Ploylearmsang
ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง
Mahasarakham University. The Faculty of Pharmacy
Keywords: กระบวนการการพัฒนา
ร้านขายยาแผนปัจจุบัน
หลักวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน
การปฏิบัติตาม GPP
ทัศนคติต่อ GPP
การรับรู้ต่อ GPP
development process
modern pharmacy
Good Pharmacy Practice
GPP Compliance
attitude towards GPP
Perception towards GPP
Issue Date:  17
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The development of pharmacy standards aims to provide people with quality pharmacy services in accordance with professional standards and to promote drug safety in patients. The situation of Good Pharmacy Practice (GPP) revealed that 62.15 percent of modern pharmacies in Thailand have not met this standard criterion. Key factors, problems and obstacles that affect to the GPP development in community pharmacies are needed and urgent issues for study. They will provide the solution of GPP development process for modern pharmacies in Nakhon Ratchasima Province. The study objectives were 1) to investigate the outcomes of the GPP development for modern pharmacies in Nakhon Ratchasima province 2) to find the factors of modern pharmacy licensees that influenced on GPP adherence 3) to study the problems and obstacles of modern pharmacy licensees towards the practice of GPP by applying the Deming Cycle Theory (PDCA) in the development process. This research was divided into 2 parts. Part 1 was a cross sectional, analytical study using a self-administered questionnaire that created based on the concept of planned behavior theory (TPB) to assess attitudes, perceptions, perceived difficulty of practice according to GPP. Cronbach's alpha coefficients of the three topics were 0.716, 0.945 and 0.915 respectively. Questionnaires were distributed to 90 pharmacy licensees in Nakhon Ratchasima province. Response rate of questionnaire return was 68.89%. Group discussions were done to find problems and obstacles in the GPP practice. Part 2 was an action research. Participants were thirty-two licensees who licensed prior to June 25, 2014 and had not yet passed GPP assessment.  The PDCA procedure including 1) Plan, this process data from Part I were analyzed and summarized, 2) Do, this process the group Intervention were done to promote factors that affecting GPP adherence. The individual intervention was also done by using self-assessment for planning and monitoring the GPP development, 3) Check, this process was an intensive monitoring using SOAP concept. SOAP was used to assess and monitor the problem of GPP adherence. And 4) Act, this process was for evaluating and reflecting the GPP development process. The study results revealed that pharmacies in Nakhon Ratchasima Province which participating in the GPP development process have passed the GPP criteria increased by 62.50%. Their average scores in each five categories and the total scores increased statistically (p<0.001). Pharmacy licensees were satisfied in the development process with the highest level. However, there were 37.50% of pharmacy licensees have not passed GPP criterion and have to transfer to the second cycle of the GPP development. It was also found that the factors affecting GPP adherence were licensees who are registered pharmacists (p=0.001) and the pharmacy that opened whole day (business hours from 8 hours/day) (p=0.001). Problems and obstacles to complying with the GPP included budget issues, personnel issues, external support issue, workload and public relations issues. From two parts of this study, it was concluded that problems in the GPP development and adherence, and factors based on TPB are beneficial information for creating the development interventions to support pharmacy licensees who have not passed the GPP criterion. PDCA cycle was applied to develop the effective GPP development process in the interventions. These interventions influenced the increase in GPP criteria pass of modern pharmacies and made pharmacy licensees were satisfied with the GPP development process. Therefore, we recommended that this GPP development model should be applied in other development process. In addition, pharmacist should be encouraged to be a licensee of modern pharmacy, registered pharmacist should continually work at the pharmacy 8hours/day or more to provide the quality services to people with pharmacy professional standards.
การพัฒนามาตรฐานร้านขายยามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ และส่งเสริมความปลอดภัยด้านยา สถานการณ์การพัฒนาร้านขายยาแผนปัจจุบันตามหลักวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน หรือ GPP พบว่ามีร้านขายยาแผนปัจจุบัน ร้อยละ 62.15 ยังไม่ผ่านตามเกณฑ์ การศึกษาถึงปัจจัย ปัญหา และอุปสรรคที่ส่งผลต่อการพัฒนาร้านขายยาให้ได้มาตรฐาน GPP เพื่อนำมาออกแบบกระบวนการพัฒนาร้านขายยาแผนปัจจุบัน จังหวัดนครราชสีมา จึงมีความจำเป็นที่ควรเร่งดำเนินการ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลลัพธ์ของกระบวนพัฒนาร้านขายยาแผนปัจจุบันจังหวัดนครราชสีมาเพื่อให้ได้มาตรฐานตามหลักวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน 2) ศึกษาปัจจัยของผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันที่มีผลต่อการปฏิบัติตาม GPP 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของผู้รับอนุญาตร้านขายยา ต่อการปฏิบัติตามหลักวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน โดยนำทฤษฎี Deming Cycle (PDCA) มาประยุกต์ใช้ในกระบวนพัฒนาสู่มาตรฐาน GPP  การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross sectional analytical research) โดยใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นตามแนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน เพื่อประเมินทัศนคติ การรับรู้ การรับรู้ความยาก-ง่ายต่อการปฏิบัติตามหลัก GPP ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบสอบถามในสามหัวข้อมีค่า เท่ากับ 0.716 0.945 และ 0.915 ตามลำดับ ทำการส่งแบบสอบถามให้ผู้รับอนุญาตร้านยายาแผนปัจจุบันจำนวน 90 คน อัตราการตอบกลับแบบสอบถาม ร้อยละ 68.89 และมีการจัดการสนทนากลุ่ม เพื่อค้นหาปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาร้านขายยาตามมาตรฐาน GPP ส่วนที่ 2 เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการ (Action research) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับอนุญาตร้านขายยาแผนปัจจุบัน ที่ร้านขายยาได้รับอนุญาตก่อนวันที่ 25 มิถุนายน 2557 และยังไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินตามมาตรฐาน GPP จำนวน 32 คน โดยดำเนินการตามขั้นตอน PDCA ได้แก่ ขั้นตอน Plan เป็นกระบวนการนำข้อมูลจากการศึกษาส่วนที่ 1 มาวิเคราะห์และสรุปผลเพื่อออกแบบกระบวนการพัฒนาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาและลักษณะของผู้รับใบอนุญาต ขั้นตอน Do เป็นการทำ Group Intervention เพื่อส่งเสริมปัจจัยที่ดีและมีผลต่อความร่วมมือตามมาตรฐาน GPP  และการดำเนินการ Individual Intervention โดยให้ผู้รับอนุญาตร้านขายยาทำ Self-Assessment เพื่อวางแผนการพัฒนาร้านยาของตนและเป็นข้อมูลเพื่อใช้ติดตามพัฒนาการแบบเฉพาะราย ขั้นตอน Check เป็นกระบวนการติดตามการพัฒนาของผู้รับอนุญาตร้านขายยาอย่างใกล้ชิด โดยใช้หลักการทำ SOAP assessment และการติดตาม เพื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาในการพัฒนาของร้านขายยาให้เป็นไปตามเกณฑ์ GPP พร้อมทั้งระบุประเด็นสำคัญในการให้คำแนะนำ วางแผน นัดหมายและติดตามแก้ไขปัญหา และขั้นตอน Act เป็นกระบวนการประเมินผล และสะท้อนการทำงานหลังเข้าร่วมกระบวนการพัฒนาสู่มาตรฐาน GPP ผลการศึกษา พบว่าร้านขายยาที่เข้าร่วมกระบวนพัฒนาร้านขายยาแผนปัจจุบันจังหวัดนครราชสีมาตามมาตรฐาน GPP มีจำนวนร้านขายยาที่ผ่านมาตรฐาน GPP เพิ่มขึ้น ร้อยละ 62.50 และมีคะแนนเฉลี่ยรายหมวด ทั้ง 5 หมวด และคะแนนรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ซึ่งผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันมีความพึงพอใจมากที่สุดต่อกระบวนการพัฒนาร้านขายยา ทั้งนี้ยังมีร้านขายยาแผนปัจจุบัน ร้อยละ 37.50 ต้องเข้าสู่วงจรการพัฒนารอบที่ 2 นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตาม GPP ได้แก่ ผู้รับอนุญาตที่เป็นผู้มีปฏิบัติการร้านขายยา (p=0.001) และร้านขายยาที่เปิดทำการตลอดทั้งวัน (เวลาทำการตั้งแต่ 8 ชั่วโมง/วัน) (p=0.001) ซึ่งปัญหาและอุปสรรคต่อการปฏิบัติตาม GPP ได้แก่ ปัญหาด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร ด้านการสนับสนุนจากองค์กรหรือหน่วยงานภายนอก ด้านภาระงาน และด้านการประชาสัมพันธ์ สรุปผลการศึกษา จากกระบวนการศึกษาทั้งสองส่วนนี้ เป็นการนำข้อมูลปัญหาในการพัฒนาร้านขายยาให้เป็นไปตามมาตรฐาน GPP และปัจจัยที่มีผลต่อคะแนนตาม GPP โดยใช้แนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน (Theory of Planned Behavior : TPB) มาปรับใช้ ส่งผลให้กระบวนการพัฒนาโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA เกิดประสิทธิผลมากขึ้น หลังเข้าสู่กระบวนการพัฒนา ร้านขายยาแผนปัจจุบันผ่านเกณฑ์ GPP มากขึ้น และเกิดความพึงพอใจต่อกระบวนการพัฒนา ดังนั้นสามารถนำรูปแบบกระบวนการพัฒนาจากการศึกษานี้ไปใช้ในงานด้านอื่นๆ  นอกจากนี้การส่งเสริมให้เภสัชกรเป็นผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเอง และเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานในร้านขายยาด้วย และการมีเภสัชกรอยู่ประจำร้านตั้งแต่ 8 ชั่วโมง/วันขึ้นไป มีผลต่อการการปฏิบัติตามมาตรฐาน GPP และการให้บริการประชาชนตามมาตรฐานวิชาชีพเภสัชกรรม
Description: Master of Pharmacy (M.Pharm.)
เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต (ภ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1866
Appears in Collections:The Faculty of Pharmacy

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
63010783002.pdf2.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.