Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1878
Title: Development of Nutrition Management for Students Sports Program Sarakhampittayakhom School Maha Sarakham Province
การพัฒนาการจัดการด้านโภชนาการในนักเรียนโครงการห้องเรียนกีฬา โรงเรียนสารคามพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม
Authors: Suparat Leebornoi
สุภารัตน์ ลีบ่อน้อย
Vorapoj Promasatayaprot
วรพจน์ พรหมสัตยพรต
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: การจัดการโภชนาการ
โภชนาการกีฬา
ภาวะโภชนาการ
nutrition management
sports nutrition
nutritional status
Issue Date:  14
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This operational research study. It aims to study the development of nutrition management in student sports classroom projects. Sarakham Pittayakom School, Mahasarakham Province The target group is stakeholders and stakeholders in the study of nutrition management development in the sports classroom project students, Sarakham Pittayakom School, Mahasarakham Province, as personnel and students in the sports classroom program, which is obtained by purposive sampling, a total of 159 students divided into 3 groups, namely, 4 executives and chief trainers, 10 faculty members, 10 sports classroom students, 145 students in the sports classroom program, collecting data using consumption questionnaires and physical well-being. Physical fitness tests and qualitative data collection models include group discussion notes and nutrition management exchange meetings. Quantitative data is analyzed by descriptive statistics including frequency, percentage, average, standard deviation, Paired T-Test, and qualitative data is analyzed by content-based analysis. The study found that the nutrition management context in students was at risk of inappropriate consumption behaviors prior to participating in the activity. The average of 2.81 (S.D.=0.27) is quite good. After participating in the training activities, educate and improve physical fitness with sports nutrition. The level of consumption behavior is at an improved level. It has an average of 3.85 (S.D.=0.15). And assess the nutritional status of the students using weight criteria based on height. Most students have nutritional status as a benchmark. lean The results of measuring body composition proportions before and after participating in the event improved. The BMI before the activity averaged 20% and after the activity an average of 20.7 percent, the body fat before the activity was averaged 9.4 percent, and after the activity there was an average of 9.0 percent, and the thickness of subcutaneous fat before the activity was averaged 21 mm, and after the activity there was an average of 20.2 mm, and the circumference of the upper midearm before the activity was 28.3 mm. The average was 8.7 millimetres and the five physical fitness test results were obtained after participating in the participation training activities from the cognitive enhancement activities to modify consumption habits. It was found that the students had improved nutrition and physical fitness. As a result of the success of activities and monitoring of nutrition conditions, which will lead to sustainable development, the development of nutrition management in students will increase participation in order to have good nutrition and physical fitness. The success factors of nutrition management development are: 1) participation, emphasis on development planning and collaboration with stakeholders, 2) formatting activities and implementing joint activity plans. Use the data to make a plan for continuing activities to achieve further development 3) Monitoring and evaluation. Participation and conclusions are taken as steps to implement the activity plan effectively and sustainably.
การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาการจัดการด้านโภชนาการ ในนักเรียนโครงการห้องเรียนกีฬา โรงเรียนสารคามพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้เกี่ยวข้องในการศึกษา โดยเป็นบุคลากรและนักเรียนในโครงการห้องเรียนกีฬา ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) รวมทั้งสิ้น 159 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารและหัวหน้าผู้ฝึกซ้อม จำนวน 4 คน คณะบุคลากรโค้ชผู้ฝึกซ้อมนักเรียนห้องเรียนกีฬา จำนวน 10 คน นักเรียนในโครงการห้องเรียนกีฬาจำนวน 145 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมสองด้าน คือ 1) ด้านการบริโภค และ 2) ด้านสุขภาวะทางกาย แบบประเมินภาวะโภชนาการ โดยการวัดองค์ประกอบร่างกาย แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย และแบบเก็บข้อมูลข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และ  การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการด้านโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired T-Test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า บริบทการจัดการด้านโภชนาการในนักเรียนมีความเสี่ยงพฤติกรรมการบริโภคไม่เหมาะสม ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ระดับพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียน ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.81 (S.D.=0.27) อยู่ในระดับค่อนข้างดี หลังการเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมให้ความรู้พัฒนาสมรรถภาพร่างกายด้วยโภชนาการกีฬา ระดับพฤติกรรมการบริโภคอยู่ในระดับที่ดีขึ้น มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.85 (S.D.=0.15) อยู่ในระดับดี และประเมินภาวะโภชนาการของนักเรียน โดยใช้เกณฑ์น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง พบว่า หลังเข้าร่วมกิจกรรม นักเรียนส่วนใหญ่มีภาวะโภชนาการอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สมส่วน ผลการวัดสัดส่วนองค์ประกอบร่างกายก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ค่าดัชนีมวลกาย(BMI) ก่อนเข้ากิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 20 และหลังเข้าร่วมกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 20.7 เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย ก่อนเข้ากิจกรรมมีค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 9.4 และหลังเข้ากิจกรรมมีค่าเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 9.0 และความหนาของไขมันใต้ผิวหนัง ก่อนเข้ากิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 21 มิลลิเมตร และหลังเข้ากิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 20.2 มิลลิเมตรและเส้นรอบวงของจุดกึ่งกลางแขนท่อนบน ก่อนเข้ากิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 28.3 มิลลิเมตร หลังเข้ากิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 27.9 มิลลิเมตร และ เส้นรอบวงของกล้ามเนื้อที่จุดกึ่งกลางแขนท่อนบน ก่อนเข้ากิจกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.9 มิลลิเมตร หลังเข้ากิจกรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 8.7 มิลลิเมตร และผลการทดสอบสมรรภาพทางกายทั้ง 5 รายการ ภายหลังเข้าร่วมกิจกรรมอบรมการมีส่วนร่วมจากกิจกรรมเพิ่มพูนความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค พบว่า นักเรียนมีภาวะโภชนาการและสมรรถภาพทางกายพัฒนาการที่ดีขึ้น ส่งผลจากความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม และการติดตามภาวะโภชนาการ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ให้การพัฒนาการจัดการด้านโภชนาการในนักเรียนเกิดการมีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้มีภาวะโภชนาการและสมรรถภาพทางกายที่ดี ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการพัฒนาการจัดการด้านโภชนาการ คือ 1) การมีส่วนร่วม ให้ความสำคัญในการวางแผนพัฒนา และการทำงานร่วมกันกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง  2) จัดรูปแบบกิจกรรมและดำเนินงานตามแผนกิจกรรมร่วมกัน นำผลข้อมูลมาประกอบทำแผนกิจกรรมต่อเนื่องให้เกิดผลพัฒนาต่อไป 3) การติดตามประเมินผล การมีส่วนร่วมจนเกิดการร่วมมืออย่างเข้มแข็ง และสรุปผลเป็นขั้นตอนเพื่อนำแผนกิจกรรมมาใช้ให้มีประสิทธิภาพ
Description: Master of Public Health (M.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (ส.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1878
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
61011480009.pdf12.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.