Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1879
Title: The Multicultural Society Competency in the Community College Students of the Three Southern Border Provinces of Thailand 
สมรรถนะทางสังคมพหุวัฒนธรรมของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประเทศไทย
Authors: Nopadol Thongaram
นพดล ทองอร่าม
Sumattana Glangkarn
สุมัทนา กลางคาร
Mahasarakham University. The Faculty of Public Health
Keywords: สังคมพหุวัฒนธรรม
สมรรถนะ
ความมีน้ำใจ
ความรู้ทางวัฒนธรรม
ความหลากหลายในสังคม
Multicultural Society
Competency
Kindness
Cultural Knowledge
Diversity in Society
Issue Date:  25
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aimed to create a guideline for developing multicultural social competences of community college students in the three southern border provinces. The study was divided into 2 phases and phase 1 was survey research. The sample was 575 students. The data was collected by questionnaires, interviews, and group and  was analyzed by context and component analysis of multicultural society competency. It was found that the multicultural social competency consisted of 7 components as follows: Kindness, Multicultural Attitude, Acceptance of diversity in society, Cultural Knowledge, Skills in Coexistence, Cultural Communication, and Social Equality. Phase 2 was the action research of the PAOR Cycle to create guidelines for developing community college student competency. There were 32 participating in the study. It was found that before the implementation, the student’s cognitive competency level was moderate, average 45.81 (SD 7.59). The overall student skill competency level was moderate, average 3.04 (SD 0.41). Therefore, training workshops were organized to enhance multicultural societies by organizing knowledge and enhancing activities during training  and supplemented by activities such as Know me: Know you, My Village style, Faith Way, All around us, We can do it and Join together. After participating in organized activities, the student's competence in knowledge and skills after participating in the activities were on average higher than before participating in the activities. The significantly improved of knowledge were etiquette listening, behavior for coexistence in society, and religious practice.  For multicultural social skills, were kindness, multicultural social attitude, accepting diversity in society and social equality.
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาสมรรถนะทางสังคมพหุวัฒนธรรมของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชน ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง 575 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม นำมาอธิบายบริบทและวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะทางสังคมพหุวัฒนธรรมของนักศึกษาวิทยาลัยชุมชน พบว่า องค์ประกอบสมรรถนะทางสังคมพหุวัฒนธรรม ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ ความมีน้ำใจ เจตคติทางสังคมพหุวัฒนธรรม การยอมรับความหลากหลายในสังคม ความรู้ทางวัฒนธรรม ทักษะการอยู่ร่วมกัน การสื่อสารทางวัฒนธรรม และความเสมอภาคทางสังคม ระยะที่ 2 เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการด้วยวงจร PAOR เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาวิทยาลัยชุมชน มีผู้ร่วมวิจัย 32 คน พบว่า ก่อนการดำเนินการระดับสมรรถนะด้านความรู้ของนักศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 45.81 (SD 7.59) ระดับสมรรถนะด้านทักษะของนักศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 3.04 (SD 0.41) จึงจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางสังคมพหุวัฒนธรรม โดยจัดอบรมด้านความรู้ และเสริมด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ รู้จักฉันรู้จักเธอ วิถีชีวิตบ้านฉัน วิถีศรัทธา รอบตัวเรา ฉันทำได้ เธอทำได้ เราทำได้ และร่วมด้วยช่วยกัน ภายหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นสมรรถนะด้านความรู้และทักษะของนักศึกษาหลังเข้าร่วมกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยมากกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม โดยเฉพาะด้านความรู้เกี่ยวกับมารยาทการฟัง การประพฤติปฏิบัติตนสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคม การปฏิบัติศาสนกิจ และด้านทักษะทางสังคมพหุวัฒนธรรม คือ ความมีน้ำใจ เจตคติทางสังคมพหุวัฒนธรรม การยอมรับความหลากหลายในสังคม การอยู่ร่วมกัน และความเสมอภาคทางสังคม
Description: Doctor of Public Health (Dr.P.H.)
สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ส.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1879
Appears in Collections:The Faculty of Public Health

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62011460002.pdf6.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.