Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1883
Title: Environmental teaching using creativity–based learning (CBL) for undergraduate students, Rajabhat Mahasarakham University
การสอนสิ่งแวดล้อม โดยใช้การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 
Authors: Paweena Phumdandin
ปวีนา  ภูมิแดนดิน
Prayoon Wongchantra
ประยูร วงศ์จันทรา
Mahasarakham University. The Faculty of Environment and Resource Studies
Keywords: การสอนสิ่งแวดล้อม
การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน
ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม
เจตคติต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
การคิดแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
Environmental teaching
creativity-based learning
environmental knowledge
attitudes towards environmental conservation
environmental problem-solving thinking abilities
Issue Date:  15
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: The purposes of this research were to investigate the efficiency of environmental teaching using creativity–based learning (CBL); to compare the environmental knowledge, the attitudes towards environmental conservation and the environmental problem-solving thinking abilities of students before and after using creativity–based learning (CBL); to compare the environmental knowledge, the attitudes towards environmental conservation and the environmental problem-solving thinking abilities of students with different genders after using creativity–based learning (CBL) ; and to compare the environmental knowledge, the attitudes towards environmental conservation and the environmental problem-solving thinking abilities of students from different faculties after using creativity–based learning (CBL). The samples were 52 undergraduate students studying at Rajabhat Maha Sarakham University enrolling in Natural Resources and Environmental Management in Thailand Course. They were selected by a purposive sampling method. The research instruments were 7 lesson plans on the environment based on creativity–based learning (CBL), an environmental knowledge test, an environmental conservation attitude assessment and an environmental problem-solving thinking ability assessment. The statistics used in the data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation. Also, t-test, F-test (One-Way MANOVA, One-Way MANCOVA and Univariate Test) were employed for the hypothesis test.  The study results were as follows. 1. The efficiency of the environmental teaching using creativity–based learning (CBL) was 80.90 /82.28, which was higher than the set criteria of 80/80. 2. The mean scores of the students on the environmental knowledge, the attitudes towards environmental conservation, and the environmental problem-solving thinking abilities after studying was significantly higher than those of before studying at the .05 level.  3. The environmental knowledge, the attitudes towards environmental conservation, and the environmental problem-solving thinking abilities of the students with different genders were not different (p > .05).  4. The environmental knowledge of the students from different faculties was significantly different at the .05 level. However, their attitudes towards environmental conservation and environmental problem-solving thinking abilities were not different  (p > .05).
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพการสอนสิ่งแวดล้อมโดยใช้การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ศึกษาและเปรียบเทียบความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม เจตคติต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการคิดแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยใช้การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ของนักศึกษาก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม เจตคติต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการคิดแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยใช้การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ของนักศึกษาที่มีเพศต่างกัน และเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม เจตคติต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการคิดแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยใช้การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ของนักศึกษาที่สังกัดคณะต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไทย จำนวน 52 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการสอนสิ่งแวดล้อมโดยใช้การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน ประกอบด้วย 7 แผน แบบทดสอบความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม แบบวัดเจตคติต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และแบบวัดการคิดแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t-test, F-test (One–Way MANOVA, One–Way MANCOVA และ Univariate Test) ผลการศึกษาพบว่า 1. การสอนสิ่งแวดล้อมโดยใช้การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.90 /82.28 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2. นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม เจตคติต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การคิดแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม เจตคติต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการคิดแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่แตกต่างกัน (p > .05) 4. นักศึกษาที่สังกัดคณะที่ต่างกัน มีความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเจตคติต่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการคิดแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ไม่แตกต่างกัน (p > .05)
Description: Doctor of Philosophy (Ph.D.)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1883
Appears in Collections:The Faculty of Environment and Resource Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
59011760010.pdf2.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.