Please use this identifier to cite or link to this item: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1898
Title: Development Guidelines and Application of Wisdom on Lac with the Creative Economy Concept in Nong Muang Sub-District Community, Borabue District, Maha Sarakham Province
แนวทางการพัฒนาและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาเกี่ยวกับครั่งตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่ชุมชนตำบลหนองม่วง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
Authors: Stian Dhammaprasert (Akkavanno)
เสถียร ธรรมประเสริฐ (อคฺควณฺโณ)
Chalong Phanchan
ฉลอง พันธ์จันทร์
Mahasarakham University. The Faculty of Humanities and Social Sciences
Keywords: ภูมิปัญญาเกี่ยวกับครั่ง, แนวทางการพัฒนาภูมิปัญญาครั่ง, การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาครั่ง, เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
Wisdom about lac guidelines for developing lac wisdom application of lac wisdom creative economy
Issue Date:  23
Publisher: Mahasarakham University
Abstract: This research aims to study the wisdom about lac of community in nong muang subdistrict, borabue district, Mahasarakham province; and guidelines for the development and application of lac wisdom according to the creative economy concept. It was a qualitative study by studying 100 people in the four villages of lac cultured communities by in-depth interviews; small group discussion; and analyzing the data according to the concept and theory, then, presents the analytical descriptive data. The results showed that the planting lac group in nong muang sub-district community, borabue district, Mahasarakham province cultivated lac for the first time in 1989, which has outstanding wisdom such as breeding lac, wrapping lac, growing lac, lac pest control, etc. Later, the lac breeding group expanded to other villages, including bringing lac species to the provinces in the northeastern region. The planting lac group has also jointly developed the wisdom about lac by jointly developing the lac species development of lac culture together with the development of curriculum and learning centers for the wisdom of lac within the community. As for the application of lac wisdom of nong muang sub-district communities, it was found that nong muang sub-district communities; some of the lac was used to dye clothes and add food coloring, and the community also used lac to treat diseases such as anemia, diarrhea, thirst, etc. by mixing it with heat from fire in order to obtain the desired drug; and also found that lac was used to make amulets and talismans; because it is believed that when it is consecrated, there will be great mercy; foresee safe. In addition, lac from the community is used as a material for making musical instruments such as can, vote, etc. In terms of the economy, the community has joined together to buy-sell 3 forms: general, kinship and family; which causes the community to create employment and increase income within the community, both the lac breeder group, the contractor group and the buyer group.
งานวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาภูมิปัญญาเกี่ยวกับครั่งของชุมชนตำบลหนองม่วง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม และแนวทางการพัฒนาและประยุกต์ภูมิปัญญาเกี่ยวกับครั่งตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยศึกษากลุ่มเป้าหมายในชุมชนที่เพาะเลี้ยงครั่ง 4 หมู่บ้าน จำนวน 100 คน ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มย่อย และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ตามแนวคิด ทฤษฎีแล้วนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเพาะเลี้ยงครั่งในชุมชนตำบลหนองม่วง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ได้เพาะเลี้ยงครั่งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2532 ซึ่งมีภูมิปัญญาที่โดดเด่น เช่น การคัดครั่งพันธุ์ การห่อครั่ง การเพาะเลี้ยงครั่ง การกำจัดแมลงศัตรูครั่ง เป็นต้น ต่อมากลุ่มเพาะเลี้ยงครั่งได้ขยายกลุ่มไปยังหมู่บ้านอื่น ๆ ร่วมทั้งการนำครั่งพันธุ์ไปเพาะเลี้ยงในต่างจังหวัดในเขตภาคอีสาน และกลุ่มเพาะเลี้ยงครั่งยังได้ร่วมกันพัฒนาภูมิปัญญาเกี่ยวกับครั่ง โดยการร่วมกันพัฒนาสายพันธุ์ครั่ง การพัฒนาการเพาะเลี้ยงครั่ง ร่วมถึงการพัฒนาหลักสูตรและศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาครั่งภายในชุมชน สำหรับแนวทางการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาครั่งของชุมชนตำบลหนองม่วง พบว่า ชุมชนตำบลหนองม่วง ได้นำครั่งบางส่วนมาทำการย้อมผ้า ทำสีผสมอาหาร และชุมชนยังมีการนำครั่งไปใช้ในการรักษาโรค เช่น โรคโลหิตจาง โรคท้องล่วง แก้ร้อนในกระหายน้ำ เป็นต้น โดยการหลามครั้งด้วยความร้อนจากไฟ เพื่อให้ได้ตัวยาที่ต้องการ และยังพบว่า มีการใช้ครั่งเพื่อจัดทำเครื่องรางของขลัง เพราะมีความเชื่อว่า เมื่อผ่านการปลุกเสกแล้วจะเกิดเมตตามหานิยม แคล้วคาดปลอดภัย นอกจากนี้ยังมีการนำครั่งจากชุมชนไปใช้เป็นวัสดุส่วนหนึ่งในการทำเครื่องดนตรี เช่น แคน โหวต เป็นต้น ส่วนในทางเศรษฐกิจนั้น ชุมชนมีการร่วมกลุ่มกันเพื่อซื้อ-ขาย 3 รูปแบบ คือ แบบทั่วไป แบบเครือญาติและแบบครอบครัว ซึ่งทำให้ชุมชนเกิดการจ้างงานและมีรายได้เพิ่มขึ้นภายในชุมชนทั่งกลุ่มผู้เพราะเลี้ยงครั่ง กลุ่มรับจ้าง และกลุ่มผู้รับซื้อ
Description: Master of Arts (M.A.)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
URI: http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/1898
Appears in Collections:The Faculty of Humanities and Social Sciences

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
62010154001.pdf6.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.